cover_1
โครงการใหม่

ธนาคารเต้านมเทียมเพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดทำเต้านมเทียมให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการตัดเต้านมออก2,000ชุด

ระยะเวลาระดมทุน

6 ก.พ. 2568 - 15 พ.ค. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้ป่วย
2,000คน

โครงการธนาคารเต้านมเทียม เกิดขึ้นจากความเข้าใจถึงความเจ็บปวดและความต้องการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่สูญเสียเต้านมไปจากการรักษา โรคมะเร็งเต้านมไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย แต่ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก การสูญเสียอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายทำให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจในตนเองและรู้สึกแตกต่างจากคนอื่น ๆ
เต้านมเทียม จึงเป็นสิ่งที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ทางใจและช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกครั้ง แต่เต้านมเทียมมีราคาค่อนข้างสูง ผู้ป่วยที่มีฐานะยากจนจึงไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษาและฟื้นฟู
จากความต้องการที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยากไร้ ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทยจึงมีการริเริ่มโครงการธนาคารเต้านมเทียมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ
•    จัดหาเต้านมเทียมให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยากไร้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสได้กลับมามีชีวิตที่เป็นปกติ
•    สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และความสำคัญของการดูแลสุขภาพ
•    ส่งเสริมการให้ และการทำความดีในสังคม โดยเปิดโอกาสให้ จิตอาสาเข้าร่วมเย็บเต้านมเทียม

ปัญหาสังคม

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ตัดเต้านมทิ้งอาจเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้:

1. ด้านร่างกาย:

  • การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง: การสูญเสียเต้านมอาจส่งผลต่อรูปร่างและสรีระ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง

2. ด้านจิตใจ:

  • ความไม่มั่นใจในตนเอง: การเปลี่ยนแปลงรูปร่างอาจส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสัมพันธ์และการมีเพศสัมพันธ์

3. ด้านสังคม:

  • การปรับตัวเข้ากับชีวิตประจำวัน: ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวเข้ากับชีวิตประจำวันหลังจากผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการข้างเคียง
  • ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง: ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกับคนใกล้ชิดในครอบครัว

วิธีการแก้ปัญหา

  1. สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ขาดแคลน ย่อมอยากกลับมาใช้ชีวิตประจำได้อย่างปกติ การที่มีเต้านมเทียมเสริมแทนเต้านมข้างที่ตัดทิ้งไปแล้ว จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้นและสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วยเหล่านั้นเป็นอย่างมาก

แผนการดำเนินงาน

  1. ก.พ. - พ.ค. 2568

    เปิดระดมทุนเพื่อจัดทำเต้านมเทียมจำนวน 2,000 ชุด

  2. มี.ค. - เม.ย. 2568

    เปิดลงทะเบียนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ขาดแคลน และรพสต.รวมถึงเครือข่ายผู้ป่วยที่ต้องการรับการสนับสนุน - คัดเลือกผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ผ่านเกณฑ์ - พิจารณาเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหรือรพสต.ที่ลงทะเบียนขอรับเต้านมมา

  3. เม.ย. - พ.ค. 2568

    ดำเนินการผลิตเต้านมเทียมและจัดส่งภายในสิ้นเดือน พ.ค.2568

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลืองสำหรับจัดทำเต้านมเทียม

- ผ้าเจอร์ซี่อย่างหนาสีเนื้อ หรือผ้ามันตานี - ใยสังเคราะห์แบบแผ่น - ผ้าโปร่งตาข่ายอย่างถี่สำหรับทำถุงใส่ลูกปัด - ลูกปัดเม็ดทราย - ใบสังเคราะห์แบบตีฟู - เข็ม ด้าย กรรไกร

2,000ชุด300,000.00
ค่าตอบแทนจิตอาสา (อดีตหรือผู้ป่วยมะเร็งเต้านม) ในการเย็บเต้านมเทียม

- ค่าเย็บชุดละ 40 บาท

2,000ชุด80,000.00
ค่าจัดส่ง

- กล่องกระดาษ - ค่าจัดส่งพัสดุ

2,000ชุด70,000.00
ค่าตอบแทนคณะทำงานชมรม TBCC ระยะเวลา 3 เดือน

- รับสมัครผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ขาดแคลน - คัดกรองและคัดเลือกผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ในการขอรับเต้านมเทียม

3เดือน45,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด495,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)49,500.00
ยอดระดมทุน
544,500.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย (Thailand Breast Cancer Community: TBCC) เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้รอดชีวิต ญาติ และผู้มีจิตอาสา ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจากโรงพยาบาลต่างๆ ในการร่วมมือกันทำงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2557 และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ให้เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 วัตถุประสงค์หลักของชมรม: • สร้างความร่วมมือ: เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั่วประเทศ • พัฒนาศักยภาพ: ส่งเสริมการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย • เผยแพร่ความรู้: ให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ • แลกเปลี่ยนประสบการณ์: สร้างพื้นที่สำหรับการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้อง ทำไมชมรมนี้จึงสำคัญ? • กำลังใจ: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากผู้ที่เผชิญกับสถานการณ์เดียวกัน • ความรู้: เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและการรักษา แนวคิดการใช้ชีวิตต่างๆ และความรู้การอัพเดทแนวทางการรักษา • สร้างเครือข่าย: สร้างความสัมพันธ์กับผู้คนที่มีความสนใจร่วมกัน กิจกรรมของชมรม: • จัดอบรม: จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมให้กับประชาชนทั่วไป ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล • กิจกรรมทางสังคม: จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและองค์กรหรือประชาชนทั่วไปที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองมะเร็งเต้านม • ธนาคารเต้านมเทียม: จัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อจัดทำเต้านมเทียมเพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ขาดแคลนเพื่อเป็นการยกระดับชีวิตที่ดีขึ้นของกลุ่มผู้ป่วย รวมถึงเป็นศูนย์กลางการรับบริจาคเพื่อส่งต่อเต้านมเทียมต่อไป

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon