cover_1

นาแลกป่า - ทางออกที่ยั่งยืนในการฟื้นฟูป่า

สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะฟื้นฟูป่า 100 ไร่ให้กับเกษตรกร100ไร่

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
20 เม.ย. 2561

อัปเดตโครงการได้ป่าคืนแล้ว 12 ไร่

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

20 เม.ย. 2561 - 20 เม.ย. 2561

นาแลกป่า สามารถนำป่ากลับมาได้อย่างไร

โครงการนาแลกป่าจึงสามารถแก้ปัญหาการลดจำนวนของป่าน่านอย่างเป็นระบบ โดยมีกลยุทธ์ในการคืนผืนป่า 3 กลยุทธ์ ตามความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย ได้แก่

1.ขุดนาแลกป่า 

    เพื่อเกษตรกรสามารถปลูกข้าวและทำเกษตรปราณีต โดยมีการสนับสนุนต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ กลไกการตลาดและองค์ความรู้ต่างๆด้วย

2.สร้างแหล่งน้ำแลกป่า 

    เพื่อให้ชาวบ้านสามารถปลูกไม้ผลและทำเกษตร ให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

3.อาชีพทางเลือกแลกป่า 

    เช่น การปลูกถั่วลิสง โดยมีการฝึกทักษะ ให้คำปรึกษาและประสานงานกับบริษัทที่สามารถรับซื้อผลผลิตแน่นอน

 

เมื่อต้นปีทางเทใจได้โอนเงินงวดแรกเพื่อให้โครงการได้เริ่มดำเนินการ กระบวนการขุดสระแลกป่า ในพื้นที่ตำบลเมืองจัง โดยเรามี นายเสนียร อภัยรุณ เกษตรกรที่คืนพื้นที่จำนวน 12 ไร่ เพื่อดำเนินการขุดสระน้ำสำหรับการเกษตร โดยแต่เดิมนายเสนียร อภัยรุณ ครอบครองอยู่ ทั้งสิ้น จำนวน 22 ไร่ และทำการเกษตรซึ่งเป็นพืชเชิงเดียวหรือข้าวโพดนั้น ที่ผ่านมาไม่สามารถทำให้มีรายได้ที่สามารถประครองชีพวิชิตตนและครอบครัวได้

นายเสนียร อภัยรุณ จึงได้เข้าร่วมโครงการนาแลกป่า โดยเลือกดำเนินการในส่วนที่เป็น “กระบวนการขุดสระแลกป่า” โดยเสนอให้คณะทำงานไปลงสำหรับพื้นที่ในการขุดสระ บริเวณใกล้ที่อยู่อาศัย และคืนพื้นที่ทำกินที่เป็นบริเวณป่า จำนวน 12 ไร่ และที่เหลือยังขอเก็บไว้ทำการเกษตรต่อเนื่องจากตนเองมีเพียงแปลงเดียวเท่านั้น

คณะทำงานจึงสำรวจและรางวัดพื้นที่ที่พร้อมจะคืนให้เป็นพื้นที่ป่า จำนวน 12 ไร่ และสำรวจพื้นที่ในการขุดสระ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 3 งาน โดยได้มีการขุดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

ระยะแรกหลังจากการขุดสระแล้ว ส่งผลให้สามารถปรับเปลี่ยนอาชีพได้ ทำการปลูกพืชผักสวนครัวเองได้ ลดรายจ่าย สามารถประกอบการเกษตรได้เป็นระยะเวลาจำนวนเดือนที่นานขึ้น อาทิเช่น เคยทำการเกษตรได้เพียง 4 เดือน/ปี แต่ปัจจุบันสามารถทำการเกษตรได้ 6-7 เดือน/ปี เพิ่มรายได้มากขึ้น มีวิถีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในสระก็ยังสามารถเลี้ยงปลาเพื่อจำหน่ายได้

ส่วนของปี 2561 ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาระดับน้ำในบ่อลดลงเป็นอย่างมาก ตัวเกษตรก็มีความวิตกกังวัลว่าสระที่ดำเนินการขุดมาจะปีนี้จะไม่สามารถกักกับน้ำได้เท่าที่ควร งบประมาณที่ใช้ ค่าจ้างเหมาะในการปรับหน้าดิน และขุดสระน้ำ พร้อมทั้งขนดินออกจากพื้นที่ เป็นจำนวนเงินทั้งสิน 60,000 บาทถ้วน