cover_1
ใกล้เวลาปิด

อ่าน อาน อ๊าน - ส่งหนังสือช่วยอ่านให้เด็กชายขอบ

มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะซื้อหนังสือฝึกอ่านตามระดับพัฒนาการทางภาษาให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนท้องถิ่นทุรกันดาร จำนวน312ชุด

ระยะเวลาระดมทุน

2 ก.ค. 2567 - 30 ก.ย. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส จ.ตาก

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATION

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
5,520คน

ภาษาไทย ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้พูดภาษาไทยด้วยแล้วยิ่งยากขึ้นไปอีก ครูจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม ที่สำคัญต้องมีความสนุก ถูกใจเด็ก

เราจึงชวน ส่งหนังสือฝึกอ่านตามระดับพัฒนาการทางภาษา ชุด อ่าน อาน อ๊านไปให้โรงเรียน ตชด. พื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และจังหวัดตาก ครบทุกห้องเรียนเพื่อให้น้องๆ เหล่านี้ได้ฝึกอ่านภาษาไทยกัน

ปัญหาสังคม

 

ส่วนที่หนึ่ง

ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เป็นปัญหาใหญ่ที่นับวันจะใหญ่โตขึ้นทุกวัน สาเหตุหลักๆ มีหลายประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1) แบบเรียนวิชาภาษาไทยยากเกินไป ไม่ส่งเสริมการเรียนการอ่านเป็นลำดับขั้น
2) ระบบการจัดสรรครูภายในโรงเรียนที่ไม่อาจเลือกครูประจำวิชา จึงมีครูจบไม่ตรงวิชาต้องมาสอนการอ่าน
3) ภาระงานเอกสารของครูมีมากเกินกว่าจะมีเวลาช่วยเหลือเด็กเฉพาะคน       

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ ธนาคารโลก (World Bank) ทำการสำรวจ “ทักษะทุนชีวิต” (Foundational Skills) ของเยาวชนและแรงงานไทยเป็นครั้งแรก โดยทำการสำรวจ 3 ทักษะที่สำคัญ ได้แก่

1.ทักษะการรู้หนังสือการอ่าน 
2.ทักษะด้านทุนดิจิทุล
3.ทักษะทางด้านอารมณ์และการเข้าสังคม 

ผลสำรวจประชากร ช่วงอายุ 15 - 64 ปี จำนวน 7,300 คนจากทั่วประเทศทุกภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติทักษะทุนชีวิต “ต่ำกว่าเกณฑ์” กล่าวคือพวกเขาไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ ได้ ไม่สามารถใช้งานเครื่องมือดิจิทัลแบบง่ายๆ ได้ 

เกือบ 2 ใน 3 ของเยาวชนและผู้ใหญ่ในประเทศไทย หรือ 64.7% มีทักษะด้านการรู้หนังสือต่ำกว่าเกณฑ์ แปลว่าพวกเขาไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ เช่น การอ่านและทำตามฉลากยา เป็นต้น

เห็นได้ว่า การอ่านเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต เมื่อเยาวชนและผู้ใหญ่ในกลุ่มสำรวจ อายุ 15-64 ปี ไม่สามารถอ่านได้ แสดงให้เห็นว่า ในวัยเด็กก็อ่านไม่ได้เช่นเดียวกัน 

ส่วนที่สอง

หนังสือฝึกอ่านตามระดับพัฒนาการทางภาษา ออกแบบโดยการศึกษาจากหนังสือ Levels Book ของ Oxford Reading Tree ประเทศอังกฤษ ที่เคยประสบปัญหาเรื่องการอ่านไม่ออกมาก่อน สำหรับหนังสือฝึกอ่านตามระดับ (ภาษาไทย) ยังออกแบบโดยอ้างอิงจากหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทย หลักสูตรปี 2521 ชุด มานะ มานี ปิติ ชูใจ ซึ่งใช้ระบบการเรียนการอ่านอย่างเป็นลำดับขั้น กล่าวคือ เริ่มจาก อ่านภาพ อ่านสระเสียงยาว สระเสียงสั้น ระบบพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดจากง่ายไปยาก

ลักษณะพิเศษอีกประการของหนังสือฝึกอ่าน คือ "มีความท้าทาย" คือการอ่านคำยาก แต่กลับมี "ตัวช่วย" เพื่อให้เด็กอ่านได้ เรียกว่า เป็นหนังสือที่มีความพอดี ในการฝึกให้เด็กอยากอ่าน และอ่านออก ขณะเดียวกันมีภาพที่บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดมาช่วยทำให้การอ่านเป็นเรื่อง "สนุก" พร้อมกับมีคู่มือครู ให้ครูดาวน์โหลดไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนภาษาไทยในห้องเรียน ซึ่งจะช่วยให้การสอนวิชาภาษาไทยสำหรับครูที่จบไม่ตรงเอก สามารถสอนเด็กให้อ่านง่ายขึ้น และเด็กเองก็เรียนการอ่านภาษาไทยอย่างสนุก มีความสุข และได้ผลมากขึ้น

มูลนิธิร่วมกับองค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทยได้ทดลองใช้หนังสือฝึกอ่านตามระดับ (ชุดที่ 1) ในโรงเรียนชายขอบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ระดับอนุบาล ที่ยังไม่ได้เรียนการอ่าน) พบความเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เด็ก ๆ สามารถอ่านภาพหนังสือนิทานได้จนจบเรื่อง สามารถจำตัวละครในนิทานได้ สามารถเล่าได้ถูกต้อง สามารถอ่านหนังสือจากภาพได้ และจำชื่อเรื่อง และพูดตามประโยคในหนังสือนิทานได้อย่างคล่องแคล่ว

ขณะที่คุณครูในศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน พื้นที่ กทม. เล่าว่า

"หลังจากอ่านหนังสือเรื่อง เละเทะ (ชูดที่ 1) ให้เด็กฟัง แล้วทำกิจกรรมปั้นบัวลอย เด็กๆ ทำแป้งหกใส่เสื้อผ้า เขาพูดว่า แบบนี้เรียกว่า "เละเทะ" ใช่ไหม คุณครู นี่แสดงว่า เด็กเขาไม่ได้ฟังอย่างเดียว แต่เก็บคำศัพท์มาใช้งานด้วย ครูภูมิใจมาก แบบนี้ EF มาแล้ว"

ตัวอย่างองค์กรปกครองท้องถิ่น เทศบาลนครเชียงใหม่ โดย ผอ.สำนักการศึกษาเทศบาล มีโรงเรียนในสังกัด 11 โรงเรียน ได้ใช้หนังสือฝึกอ่าน (ชุดที่ 1) ในหนึ่งภาคเรียน พบว่าผลคะแนน Reading Test ในเด็กชั้นประถมปีที่ 1 เพิ่มเป็นร้อยละ 69.02 จากเดิมที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ และมี 4 โรงเรียนในสังกัดที่มีคะแนนเกินร้อยละ 80

สำหรับผู้บริจาคจำนวน 1,000 บาท 100 คนแรก จะได้รับชุดหนังสือฝึกอ่านนี้ คนละ 1 ชุด

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ค้นหาพื้นที่ที่มีปัญหาและต้องการ โดยพบกว่ามี 25 โรงเรียน  312 ห้องเรียน ที่ต้องการหนังสือชุดดังกล่าวประกอบด้วย    1.1 โรงเรียนท้องถิ่นทุรกันดารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 12 โรงเรียน มีนักเรียนชั้นอนุบาล - ป.6 รวม 1,340 คน    1.2 โรงเรียนท้องถิ่นทุรกันดารที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ในพื้นที่จังหวัดตาก จำนวน 23 โรงเรียน มีนักเรียนชั้นอนุบาล - ป.6 (มัธยม 2 แห่ง) รวม 4,180 คน

  2. ประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวในการจัดพิมพ์หนังสือชุดฝึกอ่านตามระดับ โดย Mappa Learning ร่วมกับ เพจ อ่าน อาน อ๊าน และเครือข่าย และระดมทุน ทั้งนี้เงินที่ระดมทุนผ่านเทใจ มูลนิธิภายใต้การสนับสนุนของ สสส. จะสมทบหนังสือเท่าจำนวนที่ระดมได้ เก็บเข้าธนาคารหนังสือเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

แผนการดำเนินงาน

  1. หลังจากปิดการระดมทุน มูลนิธิฯ นำเงินไปซื้อหนังสือ จำนวน 312 ชุด มอบให้โรงเรียน ส่งหนังสือแก่ผู้บริจาค 1,000 บาท 100 คนแรก พร้อมกับซื้อหนังสือ 312 ชุด เข้าธนาคารหนังสือ จัดส่งดังนี้ 1. จัดส่งหนังสือจำนวน 108 ชุด แก่หน่วยงานต้นสังกัดเพื่อส่งต่อยังโรงเรียนเป้าหมาย 2. จัดส่งหนังสือจำนวน 204 ชุด แก่หน่วยงานต้นสังกัดเพื่อส่งต่อยังโรงเรียนเป้าหมาย

  2. สื่อสารสู่สาธารณะ ขอบคุณผู้บริจาค และรายงานสรุปการดำเนินงานระดมทุนผ่าน "เทใจ" โดย Mappa Learning ร่วมกับ เพจ อ่าน อาน อ๊าน และเครือข่าย

  3. จัดการอบรมครูทั้ง 2 พื้นที่ หัวข้อ "การใช้หนังสือฝึกอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านในเด็ก"

  4. นักวิจัยออกแบบการติดตามประเมินผล เพื่อติดตามความก้าวหน้าของเด็กจากใช้หนังสือชุดฝึกอ่านฯ  ประมวลผลความก้าวหน้าในการอ่านของเด็ก เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ ผ่านเพจ อ่าน อาน อ๊าน และเครือข่าย

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าหนังสือนิทานชุดละ 950 บาท

312ชุด296,400.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด296,400.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)29,640.00
ยอดระดมทุน
326,040.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon