cover_1

ฟื้นฟูสุขภาพนกล่าเหยื่อ/นกนักล่าเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนค่าอาหารให้กับนกนักล่าที่บาดเจ็บ ลูกนกพลัดหลง เพื่อฟื้นฟูก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ30ตัว

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
12 ก.ค. 2567

อัปเดตโครงการกิจกรรมช่วยเหลือและฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

12 ก.ค. 2567 - 12 ก.ค. 2567

การช่วยเหลือและฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 มีนกเข้ามารับการฟื้นฟูเพิ่ม จำนวน 24 ตัว (KU989 – KU1012) ได้แก่ 

เดือน นกที่ช่วยเหลือ
ตุลาคม นกเค้าโมง 1 ตัว
พฤศจิกายน
  • นกเค้าโมง 1 ตัว
  • นกเค้าหูยาวเล็ก 1 ตัว
ธันวาคม นกเค้ากู่ 2 ตัว
มกราคม
  • เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น 1 ตัว
  • แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย 1 ตัว
  • แร้งดำหิมาลัย 1 ตัว
  • เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ 1 ตัว
กุมภาพันธ์
  • แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย 3 ตัว
  • นกเค้ากู่ 1 ตัว
  • นกแสก 1 ตัว
มีนาคม
  • นกแสก 2 ตัว
  • นกเค้าจุด 2 ตัว
  • นกเค้ากู่ 1 ตัว
เมษายน
  • นกเค้าจุด 2 ตัว
  • นกเค้าโมง 2 ตัว
  • เหยี่ยวแดง 1 ตัว

และมีนกอยู่ในระหว่างฟื้นฟู รวมถึงนกที่ไม่สามารถปล่อยคืนธรรมชาติได้ เฉลี่ยเดือนละ 45 ตัว

ในช่วงเดือนดังกล่าว ได้ทำการปล่อยนกคืนธรรมชาติไปทั้งหมด 8 ตัว ได้แก่ แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย 3 ตัว แร้งดำหิมาลัย 1 ตัว และนกเค้ากู่ 4 ตัว รวมทั้งมีโครงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์นกนักล่า รับนักเรียนและนักศึกษาฝึกงาน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ My personal experience at the Kasetsart Raptor unit was very fulfilling, it surpassed all the good expectations I had even before coming there. The people I was working with were amazing, very kind and patient; always open to answer all my questions. The respect and fascination for the local wildlife were admirable and contagious. Overall, it was an excellent opportunity to gain hands-on experience in one of the many careers that the Animal Care course prepares us for. ”
Ms. Noa Scalcon

 

“ ความรู้สึกหลังจากได้ไปค่าย รู้สึกว่ามันเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง ได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ก่อนไปค่ายก็มีตื่นเต้น ทำตัวไม่ถูก หลังจากไปค่าย สนุกมาก พี่หมอใจดี ได้ประสบการณ์มากมาย มีทำผิดพลาดบ้าง ช่วยๆ กันแก้ไข เป็นประสบกาณ์ที่ดีมาก ”
คุณนพอนันต์ เลิศวุฒิรงค์ 

 

“ ความรู้สึกตอนแรก ตื่นเต้นว่าจะเจอกับสัตว์แบบไหนและจะได้ทำงานอะไรในหน่วยบ้าง หลังจากได้ฝึกงานจริง รู้สึกสนุกมากที่ได้ทำงานแล้วก็ได้รับความรู้จากหมอและผู้ช่วยถึงเรื่องชนิดของนกล่าเหยื่อ วิถีชีวิต รวมถึงการรักษาของนกล่าเหยื่อ ”
 
คุณณัชชา หริ่มช่อชูเชิด

 

“ ความรู้ก่อนจะมาฝึกงานตื้นเต้นแบบสุดๆ เพราะชอบนกมาก อยากจะจับน้องๆ มากๆ ความรู้สึกหลังฝึกงานคือ ว้าวสนุกมากๆ พี่ๆ ใจดีกันมากเลย สนุกและยังได้จับนกล่าเหยื่อด้วย ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากๆ ไม่ว่าจะวิธีการแยกเหยี่ยวกับอินทรี หรือวิธีการจับนก การดูนกป่วย เป็นการฝึกงานที่สนุกมากๆ และได้ความรู้สุดๆ ”
คุณณัชชา หริ่มช่อชูเชิด

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อธิบาย จำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชน
  • เด็กและเยาวชน อายุต่ำกว่า 10 ปี
  • เด็กนักเรียน, นักศึกษา ที่มีความสนใจด้านสัตว์ป่าและนกล่าเหยื่อ
37 คน
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่า โดยเฉพาะนกล่าเหยื่อ และปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์นกนักล่า
  • ได้เข้าร่วมฝึกงานกับหน่วยฟื้นฟูนล่าเหยื่อ ได้สัมผัส และเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ในการฟื้นฟูและการช่วยเหลือนกล่าเหยื่อเบื้องต้น
สัตว์

นกล่าเหยื่อ ในพื้นที่ทั่วประเทศ

  • นกที่ได้รับการช่วยเหลือ 24 ตัว
  • นกที่ได้ปล่อยคืนธรรมชาติ 8 ตัว 
นกล่าเหยื่อที่ได้รับบาดเจ็บได้รับการช่วยเหลือ และมีโอกาสได้กลับมาใช้ชีวิตในธรรมาติอีกครั้ง
ประชาชนทั่วไป ประชาชนทั่วไปที่สนใจงานนกล่าเหยื่อ 30 คน ได้เรียนรู้การทำงานของนกล่าเหยื่อทั้งในไทยและต่างประเทศผ่านการสัมมนาออนไลน์