cover_1

ปลูกให้เป็นป่า อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะฟื้นฟูพื้นที่ให้กับป่าเสื่อมโทรมให้เป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์21ไร่

project in progress
กำลังดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาระดมทุน

19 ก.ย. 2566 - 31 ต.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

พุทธสถาน สมณคีรี ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 30130

เป้าหมาย SDGs

CLEAN WATER AND SANITATIONLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

พื้นที่สวน/ป่า
21ไร่

ชวนร่วมฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจำนวน 21 ไร่ ในพื้นที่พุทธสถาน สมณคีรี ให้เป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ

ด้วยการดูแลรักษาต้นไม้จำนวน 565 ต้น ตลอด 2 ปี พร้อมบริหารจัดการกักเก็บน้ำในแปลง ปลูกเสริม และจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้กับอาสาและนักเรียนในพื้นที่

ปัญหาสังคม

 “ปลูกให้เป็นป่า” โครงการมุ่งหวังว่าการฟื้นฟูป่าผืนนี้จะเป็นการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับชุมชนโดยรอบ ป้องกันภัยธรรมชาติ ภัยแล้ง น้ำท่วมน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีความลาดชั้นสูงเสี่ยงต่อดินโคลนถล่มในช่วงฤดูผล และหากทำสำเร็จผลที่ได้รับคือ พื้นที่ธรรมชาติที่จะเป็นที่พักพิงทางใจให้กับชุมชนต่อไป

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ได้ดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศ เพิ่มพื้นที่ป่าธรรมชาติให้กับประเทศไทยมากว่า 38 ปี โดยระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมในการปลูก ดูแลรักษาและติดตามผล ร่วมกับชุมชนเจ้าของพื้นที่อย่างเป็นระบบ และเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ เข้าใจ และเห็นคุณค่าของธรรมชาติ

มูลนิธิฯ ได้รับรางวัล หน่วยงานดีเด่นของชาติ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปี 2540

ป่าไม้…คือทางออกของสภาวะโลกร้อน

ปัจจุบันเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนนับวันจะมีแต่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า ฝุ่น PM 2.5 หรือภัยธรรมชาติอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น รุนแรงขึ้น แก้ไขหรือจัดการได้ยากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญของการเกิดขึ้นของสภาวะโลกร้อนนี้ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง

ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ประเทศไทยได้ประกาศว่าจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนโนบายป่าไม้แห่งชาติที่ตั้งเป้าหมายในการมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศไทย

ด้วยความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของไม้ยืนต้น ทำให้ป่าไม้เป็นส่วนสำคัญของกลไกในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและบรรเทาปัญหาที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ที่ 102,212,434.37 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.59 ของพื้นที่ประเทศ (ข้อมูลปีพ.ศ. 2564) และมีแนวโน้มลดลงทุกปี การฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าไม้จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหันมาร่วมมือกัน ลงมือทำ ปลูกต้นไม้ตั้งแต่ในวันนี้ในทุกพื้นที่ที่สามารถปลูกได้ กับทุกกลุ่มคน เพื่อที่จะฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ เป็นแหล่งน้ำสะอาด อากาศบริสุทธิ์ อาหารปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดีกับทุกคน

เป้าหมายของโครงการคือ ต้นไม้ที่ปลูกมีอัตรารอดและการเจริญเติบโตที่ดี รวมทั้งชุมชนในพื้นที่ในความสนใจ มีส่วนร่วม เอาใจใส่ รัก และหวงแหนต้นไม้ 

 

ตารางรายชื่อชนิดและจำนวนกล้าไม้

No.

Thai name Species จำนวนต้น

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

กันเกรา

มะหาด

ตะคร้อ

คอแลน

ชิงชัน

หว้า

กระบก

ขันทองพยาบาท

ประดู่ป่า

ขี้เหล็ก

สะเดาขม

พฤกษ์

กัลปพฤกษ์

อินทนิล

ตะเคียนทอง

ลำดวน 

ตะแบกนา

พะยอม

ยางนา

มะกอกป่า

Fagraea fragrans

Artocarpus lacucha

 Schleichera oleosa

 Nephelium hypoleucum

Dalbergia oliveri

 Syzygium cumini

Irvingia malayana

 Suregada multiflora

Pterocarpus macrocarpus

Senna siamea

Azadirachta indica

 Albizia lebbeck

Cassia bakeriana

Lagerstroemia speciosa

Hopea odorata

Melodorum fruticosum

Lagerstroemia floribunda

Shorea talura

Dipterocarpus alatus

Spondias bipinnata

25

20

35

40

30

35

20

20

30

35

25

25

30

25

25

35

30

35

20

25

    จำนวนรวมทั้งหมด 565

จากประสบการณ์การปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าของมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ และการเก็บข้อมูลติดตามผล จะต้องมีการดูแลรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 ปี ถึงจะมีอัตรารอด 70% มูลนิธิจึงเชิญชวนผู้บริจาคมาร่วมดูแลรักษาต้นไม้

 

ตารางกิจกรรมของโครงการ

ลำดับ

รายการ ระยะเวลา
1 ดูแลต้นไม้ ตัดหญ้าหลังปลูก 6 ครั้ง ตุลาคม 2566-ธันวาคม 2567
2 เก็บข้อมูล ติดตามผล และดูแลรักษากล้าไม้
ร่วมอาสา เด็กและเยาวชน 6 ครั้ง
ตุลาคม 2566-ธันวาคม 2567
3 จัดการน้ำ เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นในแปลง ธันวาคม 2566-เมษายน 2567
4 ปลูกซ่อมเสริมในปีที่ 2 (ประเมินไว้ที่ 50%)
ค่ากล้าไม้ และดำเนินงาน
มิถุนายน 2567

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

1. อัตรารอดของต้นไม้ 70% หลังปลูก 2 ปี

2. ชุมชน อาสา เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมจำนวน 200 คน เข้าใจและเห็นคุณค่าของการฟื้นฟูป่า

3. ระบบนิเวศใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติมากขึ้น (พันธุ์ไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ)

4. สถานที่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ (น้ำหลาก แล้ง) ลดลง

 
 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจำนวน 21 ไร่

  2. บริหารจัดการกักเก็บน้ำในแปลง ปลูกเสริม

  3. จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้กับอาสาและนักเรียนในพื้นที่

แผนการดำเนินงาน

  1. สำรวจพื้นที่และป่าธรรมชาติโดยรอบ

  2. คัดเลือกพันธุ์ไม้ เตรียมกล้า

  3. เตรียมแปลง ขุดหลุม

  4. ปลูกต้นไม้ร่วมกับอาสา นักเรียน และชาวบ้าน

  5. ติดตามผลร่วมกับอาสาและเยาวชน 6 ครั้ง เพื่อประเมินอัตรารอด และการเจริญเติบโตของต้นกล้า

  6. ดูแลรักษาหลังปลูก ตัดหญ้า ใส่ปุ๋ย รดน้ำ จำนวน 6 ครั้ง ในปีที่ 1 และ ปีที่ 2

  7. ปลูกซ่อมเสริมในปีที่ 2 (ประเมินไว้ที่ 50%)

  8. จัดการน้ำ เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นในแปลง

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ดูแลต้นไม้ ตัดหญ้าหลังปลูก 6 ครั้ง ครั้งละ 5,000 บาท

6ครั้ง30,000.00
เก็บข้อมูล ติดตามผล และดูแลรักษากล้าไม้ ร่วมอาสา เด็กและเยาวชน 6 ครั้ง ครั้งละ 5,000 บาท

6ครั้ง30,000.00
จัดการน้ำ เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นในแปลง

1ครั้ง10,000.00
ปลูกซ่อมเสริมในปีที่ 2 (ประเมินไว้ที่ 50%) ค่ากล้าไม้ และดำเนินงาน

1ครั้ง30,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด100,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)10,000.00
ยอดระดมทุน
110,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์

กรุงเทพมหานคร

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon