cover_1

จิตวิทยาบำบัดและกิจกรรมบำบัด เพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว

เด็กและเยาวชน
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะช่วยเหลือเด็กได้รับการบำบัดด้วยนักจิตวิทยาและกิจกรรมบำบัดให้กับเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรง45คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
3 ก.พ. 2566

อัปเดตโครงการกิจกรรมบำบัดเพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดือน พ.ย.- ธ.ค. 65

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

3 ก.พ. 2566 - 3 ก.พ. 2566

กิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มูลนิธิมูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล จัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก

1. ทุกๆ วันเสาร์ เวลา 09.00 -16.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 4-6 คนต่ออาทิตย์ ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก) หลังจากนักจิตวิทยาได้พูดคุยกับเด็ก จะนำข้อมูลของเด็กๆ ทุกคนมาพูดคุย ปรึกษากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยงข้องกับเด็ก สร้างความเข้าใจในด้านต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อหาทางช่วยเด็กๆ

2. วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก และ 25 ธันวาคม 2565 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ได้ออกไปช่วยเหลือชุมชนโดยการจัดบูธเฟรนช์ฟรายส์ทอด เพื่อเสริมสร้างให้เด็กเข้าใจสังคม มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเห็นคุณค่าของการให้

3. วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565 และวันเสาร์ที่3 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 22 คน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก (ธรรมชาติบำบัด)

 

ความประทับใจของเยาวชนที่ร่วมกิจกรรม


เจี๊ยะ 
“ส่วนตัวของผม ผมมีความสุขครับที่ได้ไปใช้เวลากับธรรมชาติ และได้ทำในสิ่งที่ชอบ มันทำให้ผมรู้สึกผ่อนคลาย ได้ใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อนๆ นอกจากนี้ทำให้ลืมกับที่เครียดมาทั้งวันได้”


หึ 
“การได้ไปกีฬาสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก ทำให้ผมได้สร้างความสัมพันธ์ ทำความรู้จักผู้อื่น และรู้สึกประทับใจที่เราเป็นกันเองไม่แบ่งแยกกัน และก็สนุก และได้ช่วยคุมดูแลน้องๆด้วยครับ”


ไหมเล่า
“รู้สึกประทับใจที่นักจิตวิทยารับฟังหนู ไม่ตัดสินหนูในทางที่ผิด และมันทำให้หนูได้เรียนรู้จักการไม่ตัดสินอะไรก่อนด้วย”

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ จำนวน ความเปลี่ยนแปลง
เด็กและเยาวชนในโครงการที่อาศัยในพื้นที่หางดงจังหวัดเชียงใหม่ เด็กอายุ 12-21 ปี  22 คน
  • เด็กๆ 60 % มีความกระตือรือร้นในการตื่นนอน และมีความสดใส ยิ้มมากกว่าก่อน
  • หลังจากเด็กเข้าพบนักจิตวิทยา เด็กๆ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางคนที่ไม่เคยเข้าหาพี่เลี้ยง เริ่มเข้าหาพี่เลี้ยง เริ่มเปิดใจกับพี่เลี้ยง พูดคุยกับพี่เลี้ยง และเริ่มไว้ใจผู้อื่น
  • เด็กๆ บางคนที่ไม่ชอบการออกกำลังกาย เริ่มหันมาออกกำลังกาย และมีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพสำหรับปี 2023
  • เด็กๆ มีวินัยในการใช้โทรศัพท์มากขึ้น มีการควบคุมตัวเองในการใช้สื่อออนไลน์ คืนโทรศัพท์ตรงเวลา ไม่แอบเล่นโทรศัพท์ในเวลาห้ามเล่น

 

2 พ.ย. 2565

อัปเดตโครงการกิจกรรมบำบัดเพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดือน พ.ค.- ต.ค. 65

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

2 พ.ย. 2565 - 2 พ.ย. 2565

โครงการได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม 2565 กิจกรรมที่จัดให้กลุ่มเด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก

1. ทุกวันเสาร์อาทิตย์แรกและอาทิตย์ของเดือน เวลา 09.00 -11.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 22 คน กิจกรรม Big cleaning day ให้งานบ้านเยียวยาจิตใจ (จิตวิทยาของการเก็บกวาดและตกแต่งบ้าน)

2. ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ ช่วงเวลา 16.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านกิจกรรม ONE ON ONE เป็นกิจกรรมที่ให้คำปรึกษากับเด็ก ผ่านทางการสำรวจ 5 ด้านหลักๆ คือ ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ความสัมพันธ์ ด้านสังคม (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก)

 โดยกิจกรรมนี้จะมีการแบ่งเด็กออกเป็นสามกลุ่มตามจำนวนนักจิตวิทยา ซึ่งแต่ละคนจะมีการนัดเพื่อพูดคุยกับเด็กตามตาราง การพูดคุยจะมีแบบฟอร์มให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงใน 5 ด้าน หากทำการพูดคุยเรียบร้อยนักจิตวิทยาจะมาพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเด็กและหาทางช่วยเด็กในด้านที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ

3. วันจันทร์ที่ 4 และ 10 ตุลาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 22 คน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก (ธรรมชาติบำบัด)

ความประทับใจจากเด็กที่ร่วมกิจกรรม

นายไกรวิชญ์  “ได้ปรึกษาในสิ่งที่เรานั้นมีปัญหาและการเรียนต่างๆ และได้รับคำตอบที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้อย่างดี และได้ประทับใจคำถามแต่ละคำถาม และที่สำคัญคือได้ระบายความในใจให้กับพี่เลี้ยงได้รู้ในปัญหาของชีวิตเราครับ”

นายสมยศ “ผมได้รู้จักความอดทนเพื่อไปสู่เป้าหมายและรู้จักช่วยเหลือคนอื่น และได้เห็นถึงความมีนํ้าใจของเพื่อน ประทับใจที่มีผู้หญิงไปถึงด้วย ถึงจะน้อยเเต่ก็เห็นความพยายามที่เขาตั้งใจเดินทางจุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง ได้รับอากาศที่ดีลมเย็นสบาย การไม่ทิ้งให้คนใดคนหนึ่งเดินคนเดียวทุกคนต่างรอกันเเเละกันจัดการอาหารน้ำให้พอดีเพื่อว่าจะไม่หมดก่อนที่จะถึงเป้าหมาย”

น.ส.พัชราพร “ทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น มีความถูกต้องในการทำงานมากขึ้น ได้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี ทำให้มีระเบียบวินัยมากขึ้นและเห็นถึงข้อเสียของความไม่เป็นระเบียบในบริเวณมูลนิธิ และการเป็นผู้นำที่ดีและผู้ตามที่ดีในการทำความสะอาด รับฟังความคิดเห็นของพี่เลี้ยงและปรับปรุงในการทำBig cleaning day”

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (นับแบบสะสมตั้งแต่เริ่มทำโครงการ)

3 พ.ค. 2565

อัปเดตโครงการเริ่มแล้ว!! กิจกรรมบำบัด เพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัว

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

3 พ.ค. 2565 - 3 พ.ค. 2565

เริ่มดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 จัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก

  1. ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-17.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 21 คน กิจกรรมศิลปะบำบัด ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ การเข้าสังคม และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก
  2. ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 5 ขวบ – 21 ปี จำนวน 45 คน ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงกับนักจิตวิทยาเด็กคนละ 1 ชั่วโมง โดยนักจิตวิทยาและผู้จัดการโครงการทำการบันทึกทัศนคติ อารมณ์ และจิตใจเด็ก พร้อมประเมินความเสี่ยงขอสภาวะซึมเศร้า (หากบันทึกสมบูรณ์และรวมส่งการเปลี่ยนแปลงของเด็กในโครงการอีกครั้ง)
  3. วันจันทร์ที่ 4 – 8 เมษายน 2565 ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 21 คน เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ สอดแทรกความสามัคคี การปรับตัวเข้าหาผู้อื่น และการเรียนรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เด็กได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้จักคุณค่าของตนเอง ความสามารถของตนเอง ผ่านกิจกรรมย่อย อาทิ การแข่งขันทำอาหาร การแข่งขัน COVER DANCE การแข่งกีฬาสามัญ (กีฬาบำบัด)

สัมภาษณ์น้องๆที่ได้ร่วมกิจกรรม

น.ส.ดี้ เข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะบำบัด
“หนูวาดภาพเก่งขึ้นเพราะการเริ่มทำศิลปะบำบัด หนูชอบตัวเองที่ได้วาดรูป รู้สึกอะไรก็วาดเข้าไป เหมือนได้ระบายอารมณ์ และได้ส่งผลงานขอบคุณคนที่เขาสนับสนุนหนูด้วย ”

นายไพโรจน์  เข้าร่วมกิจกรรมด้านจิตวิทยาบำบัดรายบุคคล
“ผมว่าเด็กสมัยนี้ติดโซเชียล เพื่อน มากกว่าเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรา เวลามีอะไรหนักใจก็ไประบายกับเพื่อน ปรึกษาคนข้างนอก ถ้าเพื่อนดีก็ดีไป ถ้าไม่ดีก็พากันไปเสีย ผมว่าการมีพี่เขาที่ให้เวลาเราได้คุย เขาให้คำปรึกษาที่ดี และปลอดภัยสำหรับผมและน้องๆ”

นายปัญญาดี เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสี 
“ผมชอบมากครับ 2 ปีแล้วที่โควิดทำให้ไม่ได้ทำอะไรที่อยากทำ อยากออกไปไหนก็ไม่ได้ กีฬาสีทำให้เด็กในบ้านมีความสุขอีกครั้ง ผมชอบเล่นกีฬามากครับ”