เงินบริจาคของคุณจะนำไปปลูกไม้มีค่าแบบสวนป่าให้กับชุมชน1แห่ง
ร่วมต่อยอดการเรียนรู้ให้เยาวชนและชุมชนในมิติการบูรณะฟื้นฟูธรรมชาติในพื้นที่ชุมชน จากการปลูกไม้มีค่าแบบสวนป่า ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จังหวัดชัยนาท นอกจากสร้างสำนึกรักธรรมชาติแล้ว ยังเป็นตัวอย่างการสร้างรายได้ระยะยาวให้กับชาวบ้าน ผ่านการปลูกป่ายั่งยืนอีกด้วย
ร่วมต่อยอดการเรียนรู้ให้เยาวชนและชุมชนในมิติการบูรณะฟื้นฟูธรรมชาติในพื้นที่ชุมชน จากการปลูกไม้มีค่าแบบสวนป่า ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนป๋วย อึ๊งภากรณ์ จังหวัดชัยนาท นอกจากสร้างสำนึกรักธรรมชาติแล้ว ยังเป็นตัวอย่างการสร้างรายได้ระยะยาวให้กับชาวบ้าน ผ่านการปลูกป่ายั่งยืนอีกด้วย
ในปัจจุบันศูนย์ป๋วยฯ มีกิจกรรมการฝึกอบรมให้ทั้งเยาวชนและชาวบ้านเรียนรู้วิถีการพัฒนาชนบทอย่างต่อเนื่อง และยังมีพิพิธภัณฑ์ ให้ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ประวัติ แนวคิด และหลักการของ อ. ป๋วย ด้วย เพื่อเป็นการต่อยอดการเรียนรู้ใหม่ๆของชุมชน จึงพัฒนาโครงการสวนป่า อ. ป๋วย ที่จะสร้างพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนป่าที่มีต้นไม้หลากหลาย โดยมีการวางแผนการปลูกไม้มีค่าต่างๆ ที่นอกจากจะลดภาวะโลกร้อน สร้างร่มเงา ฟื้นฟูธรรมชาติแล้ว ยังจะสามารถสร้างรายได้ผ่านการปลูกไม้มีค่าที่สามารถใช้ประโยชน์แบบหมุนเวียน ให้เยาวชนและชาวบ้านสามารถเรียนรู้แนวทางวิธีการได้อีกด้วย
เนื่องจากปัจจุบันมี พรบ. ป่าไม้ฉบับใหม่ อีกทั้งมีกลไกสนับสนุน เช่น โครงการธนาคารต้นไม้ของ ธกส. ซึ่งสามารถนำต้นไม้มีค่าที่ปลูกมาใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันในสินเชื่อพัฒนาอาชีพได้ แต่ในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคกลางยังต้องการพื้นที่ต้นแบบที่จะสอนแนวทางดังกล่าว ให้ชาวบ้าน ชุมชน และเยาวชนมาร่วมเรียนรู้กระบวนการปลูกสวนป่าที่มีไม้มีค่าเพื่อเศรษฐกิจ ทางศูนย์เรียนรู้ชุมชน ป๋วยฯ จึงพัฒนาโครงการสวนป่าอาจารย์ป๋วยขึ้นในพื้นที่ เพื่อสร้างต้นแบบการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน
โดยจะระดมทุนปลูกไม้มีค่าทั้งสิ้น 999 ต้นในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ และมีต้นไม้อื่นๆผสมผสานให้กลายเป็นสวนป่าที่ทั้งสวยงาม ลดโลกร้อน และเป็นตัวอย่างแนวทางการสร้างรายได้ระยะยาวของชนบทได้ ซึ่งย่อมจะเป็นการต่อยอดแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนตามปณิธานของ อ. ป๋วย ให้เข้ากับยุคสมัย และมีประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อไป
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ระดมทุนปลูกไม้มีค่าทั้งสิ้น 999 ต้นในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ และมีต้นไม้อื่นๆผสมผสานให้กลายเป็นสวนป่าที่ทั้งสวยงาม ลดโลกร้อน และเป็นตัวอย่างแนวทางการสร้างรายได้ระยะยาวของชนบทได้
ลงมือปลูกต้นไม้ และดูแลต่อเนื่อง
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่ากล้าไม้และดูแล เฉลี่ยต้นละ 2,000 บาท - ค่ากล้าไม้ที่โตแล้วระดับหนึ่ง - ค่าปรับพื้นที่ให้ปลูกได้ พัฒนาคุณภาพดิน ให้น้ำในหน้าแล้ง และป้องกันน้ำท่วม - ค่าจ้างการดูแลต้นไม้ต่อเนื่อง 3 ปี - ค่าพัฒนากระบวนการเรียนรู้เชิงสวนป่า ไม้มีค่า | 999ต้น | 1,998,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 1,998,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (0%) | 0.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้