cover_1

ปฏิบัติการช่วยเหลือสัตว์ป่าเขาใหญ่

กลุ่มใบไม้กลุ่มใบไม้
สัตว์
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะจัดกิจกรรมหลายๆ อย่างเพื่อผลักดันมาตรการ 4 ม.ให้กับสัตว์ป่าเขาใหญ่1กลุ่ม

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

30 ก.ค. 2559 - 28 ต.ค. 2559

พื้นที่ดำเนินโครงการ

เขาใหญ่ จ.นครนายก

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สัตว์ป่าที่เขาใหญ่
1กลุ่ม

ปฏิบัติการ 4 ม. "ไม่ให้อาหารสัตว์ป่า ไม่ขับรถเร็ว ไม่ทิ้งขยะ ไม่ส่งเสียงดัง" เยี่ยมบ้านสัตว์ป่า โดยไม่ทำร้ายกัน

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ

เมื่อสถานที่พักผ่อนในวันหยุดของใครหลายๆคนแท้จริงแล้วคือบ้านที่เคยปลอดภัยของสัตว์ป่า อย่าง ช้าง กวาง ลิง เก้ง นกเงือก ฯลฯ ปัจจุบันพบว่าสัตว์ป่าจำนวนไม่น้อยได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่ผิดวิธี บ้างบาดเจ็บ บ้างพิการ บ้างสูญสิ้นชีวิตไปบนท้องถนน ทั้งหมดนั้นล้วนแต่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง

การรณรงค์ของเด็กๆและอาสาสมัครจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลักดันมาตรการ 4 ม.ขอไม่มาก "ไม่ให้อาหารสัตว์ป่า ไม่ขับรถเร็ว ไม่ทิ้งขยะ ไม่ส่งเสียงดัง" 4 ข้อง่ายๆ ที่จะช่วยปกป้องดูแลสัตว์ป่าและบ้านของเขาให้ปลอดภัยได้ตามที่ควรจะเป็น

ทำไมต้องไม่ให้อาหารสัตว์ป่า : พฤติกรรมสัตว์ป่าเริ่มเปลี่ยนไป จากการหากินต้นไม้ใบหญ้าในป่ากลายเป็นมารอหากินอาหารและขนมจากคน โดยไม่รู้ว่ากลิ่นหอมหวานแปลกรสนั้นอันตรายถึงชีวิต การเลิกให้อาหารสัตว์ป่าคือสิ่งเดียวที่จะช่วยลดปัญหาได้

ทำไมต้องไม่ขับรถเร็ว : ลิงและสัตว์ป่าจำนวนไม่น้อยที่จบชีวิตลงบนถนนในอุทยานฯ บางส่วนพิการ บาดเจ็บ และสูญเสียพฤติกรรมตามธรรมชาติ ทั้งๆที่มันคือบ้านของเขาบ้านของสัตว์ป่า การขับรถช้าๆในพื้นที่ธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ

ทำไมต้องไม่ทิ้งขยะ : หลายปีก่อนเราพบกวางตัวใหญ่ล้มตายลงอย่างผิดสังเกต เมื่อสัตวแพทย์ผ่าพิสูจน์กลับพบถุงพลาสติกและขยะจำนวนมากในท้องกวาง คงเป็นภาพที่ชัดเจนพอที่จะอธิบายว่า "อย่าทิ้งขยะในพื้นที่ธรรมชาติ เอาขยับกลับบ้านเถอะครับ"

ทำไมต้องไม่ส่งเสียงดัง : ป่าคือบ้านของสัตว์ป่า การเข้าไปของนักท่องเที่ยวถ้าเสียงดังเกินไปจะรบกวนสัตว์ป่าได้ และยังรบกวนคนรอบข้างที่ต้องการเข้าไปเรียนรู้ธรรมชาติอีกด้วย

เนื้อหาใน 4 ม. ด้านบน คือสิ่งที่เราต้องสื่อสารออกไปให้มากที่สุด โดยใช้ทุกวิถีทางที่จะทำได้

จากการทำงานอย่างต่อเนื่อง อาสาสมัครใช้ทักษะประสบการณ์ที่หลากหลายเข้ามาทำงาน ทั้งการรณรงค์ สิ่งแวดล้อมศึกษา การบรรยาย การให้ข้อมูล ใช้ศิลปะ ใช้วิทยาศาสตร์ บทความ  ใช้ละคร หรือใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ทั้งหมดนั้นก็เป็นไปเพื่อให้สัตว์ป่าได้ใช้ชีวิตอยู่ในป่าได้อย่างปลอดภัย และวันนี้พวกเราพร้อมจะทำงานต่อไปในนามของกลุ่มใบไม้ "ทำในสิ่งที่เราทำได้ ณ จุดที่เราอยู่ ด้วยสิ่งที่เรามี"

บทความ : http://baimai.org/activities/ทำไมกลุ่มใบไม้ต้องรณรง/

ภาพรณรงค์ : https://www.facebook.com/baimaigroup/photos/?tab=album&album_id=714824611952450

ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา : https://www.facebook.com/baimaigroup/photos/?tab=album&album_id=714941238607454

ประโยชน์ของโครงการ

  1. สามารถลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นต่อสัตว์ป่าและธรรมชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม
  2. สัตว์ป่าได้รับการปกป้อง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งพันธุกรรมทางธรรมชาติที่มีคุณค่า
  3. เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งนักท่องเที่ยวและสัตว์ป่าที่เป็นเจ้าของบ้านที่แท้จริง
  4. ช่วยลดภาระของอุทยานแห่งชาติที่มีภาระงานที่มากและหลายส่วน ภายใต้จำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด
  5. ช่วยให้อาสาสมัครที่มีประสบการณ์ในการทำงานรณรงค์เพื่อสัตว์ป่าฯ ได้พัฒนาโครงการและดำเนินการรณรงค์ต่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
  6. นักท่องเที่ยวและสังคม เกิดขึ้นความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ป่าและผลกระทบที่เกิดขึ้น
  7. สร้างสังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อธรรมชาติ โดยอาศัยกลไกการทำงานของอาสาสมัคร เชื่อมร้อยระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน

สมาชิกภายในทีม

  1. นายโชคนิธิ คงชุ่ม Chokniti Khongchum ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มใบไม้ นักกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    • กำลังศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล

    ปัจจุบันเป็นนักกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้กลุ่มใบไม้ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ฯในพื้นที่ป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ พื้นที่ป่าตะวันตก และพื้นที่ทั่วไปที่มีประเด็นปัยหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ อีเมล์ info@baimai.org

  2. นางสาวพิไลวรรณ จันทร์แก้ว Pilaiwan Jankaew  ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มใบไม้ นักกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มใบไม้
  3. นางสาวบัวลูกแก้ว ศักดิ์ชัชวาล Bualookkaew Sukchatchawan อาสาสมัครกลุ่มใบไม้
  4. นางสางภมรวรรณ รักพงษ์ Phamornwan Rakpong อาสาสมัครกลุ่มใบไม้
  5. นายสัจพงษ์ เหรียญโมรา Sujjapong Rhienmora อาสาสมัครกลุ่มใบไม้

ภาคี

  • กลุ่มใบไม้
  • กลุ่มรักษ์เขาใหญ่
  • ชมรมคนรักษ์สัตว์-ป่า
  • กลุ่มเยาวชนต้นกล้า จ.นครนายก
  • เครือข่ายเขาใหญ่ดีจัง
  • อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนจัดกิจกรรมหลายๆ อย่างเพื่อผลักดันมาตรการ 4 ม.ขอไม่มาก "ไม่ให้อาหารสัตว์ป่า ไม่ขับรถเร็ว ไม่ทิ้งขยะ ไม่ส่งเสียงดัง" 4 ข้อง่ายๆ ที่จะช่วยปกป้องดูแลสัตว์ป่าและบ้านของเขาให้ปลอดภัยได้ตามที่ควรจะเป็น

แผนการดำเนินงาน

  1. กิจกรรมรณรงค์ปฏิบัติการณ์ 4 ม. : เป็นการจัดงานรณรงค์โดยใช้อาสาสมัครจากหลายกลุ่มเข้ามาทำงานร่วมกัน ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่หลากหลาย และบูรณาการร่วมกับการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ - เวทีรณรงค์และให้ความรู้ - การสัญจรตามสถานที่สำคัญในอุทยานเพื่อรณรงค์ - แจกเอกสารรณรงค์บริเวณด่าน - ใช้ละครหรือการแสดงของเยาวชนเพื่อการสื่อสาร - การบรรยายให้ความรู้ที่ถูกต้อง - เกมและกิจกรรมเรียนรู้ธรรมชาติ - ลานกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์

  2. การเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวด้านความเข้าใจต่อสัตว์ป่า - ฝึกอาสาสมัครนักวิจัย - เก็บข้อมูลแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและผลกระทบต่างๆ ต่อสัตว์ป่า

  3. กิจกรรมจัดทำสื่อรณรงค์ติดตั้งในอุทยาน - ป้ายรณรงค์ขนาดใหญ่ - ป้ายรณรงค์ขนาดเล็ก - เอกสารรณรงค์

  4. งานเผยแพร่รณรงค์ในระบบสื่อออนไลน์ - รณรงค์ผ่าน facebook - ประสานสื่อมวลชนเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ - การใช้สื่อสมัยใหม่เพื่อการรณรงค์

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
งานรณรงค์ปฏิบัติการ 4 ม.ขอไม่มาก ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

- ค่าอาหารและอาหารว่างสำหรับอาสาสมัคร 40 คน ระยะเวลา 4 วัน (12มื้อ) 28,000   - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ในการทำงาน จำนวน 5 คัน 10,000 บาท  - ค่าอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม 10,000 บาท

1กิจกรรม48,000.00
การเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวด้านความเข้าใจต่อสัตว์ป่า

- ค่าเดินทางอาสาสมัครในการจัดเก็บข้อมูล เดือนตุลาคม-มกราคม : 5,000 บาท  - ค่าอาหารสำหรับอาสาสมัคร 3,000 บาท  - ค่าเอกสารในการเก็บข้อมูล 3,000 บาท  - ค่าตอบแทนในการวิเคราะห์ข้อมูล 1,000 บาท

1กิจกรรม12,000.00
กิจกรรมทำสื่อรณรงค์ติดตั้งในอุทยาน

- ป้าย outdoor/indoor สื่อรณรงค์จำนวน 20 จุด 10,000 บาท  - แผ่นพับประชาสัมพันธ์จำนวน 2,000 ชุด 10,000 บาท

1กิจกรรม20,000.00
งานเผยแพร่รณรงค์ในระยบสื่อออนไลน์

- ค่าจัดทำและออกแบบสื่อรณรงค์ 2,000 บาท  - ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาระบบออนไลน์ 3,000 บาท

1กิจกรรม5,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด85,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)8,500.00
ยอดระดมทุน
93,500.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กลุ่มใบไม้

กลุ่มใบไม้

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon