empty image

พลังแห่งความดี...พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง...ต้นแบบอาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการในชุมชน

เทใจเทใจ

เงินบริจาคของคุณจะให้กับ

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

12 พ.ค. 2558 - 31 ส.ค. 2558

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

                การร่วมมือกันของเครือข่ายสถาบันการศึกษากับองค์กรของคนพิการเพื่อสร้างต้นแบบการดูแลและช่วยเหลือคนพิการในชุมชนของตนเองที่มีนักเรียน/นักศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อน

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

                ความรู้ที่คู่กับคุณธรรม/จริยธรรมถือเป็นหัวใจในการสร้างเยาวชนที่สามารถเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศเมื่อต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในภายภาคหน้าที่ดูเหมือนว่าจะสวนทางกับภาครัฐที่มุ่งเน้นพัฒนาเยาวชนเพียงมิติของการศึกษาเพียงอย่างเดียวซึ่งจะส่งผลเสียโดยรวมต่อทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตเป็นอย่างมากซึ่งหนึ่งในกระบวนการเติมเต็มให้กับเยาวชนเหล่านี้ก็คือการประยุกต์ใช้แนวคิดจิตอาสาด้วยการสร้างอาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการที่มาจากกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาแกนนำที่สามารถดูแลและช่วยเหลือคนพิการในชุมชนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่ามามูลนิธิพัฒนาศักยภาพคนพิการและเครือข่ายได้ดำเนินโครงการในลักษณะการสร้างอาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการโดยเฉพาะอาสาสมัครที่เป็นนักเรียน/นักศึกษาเกิดอาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการในพื้นที่ที่ดูแลคนพิการได้ตามศักยภาพเป็นช่วงๆ แบบไม่ต่อเนื่อง สามารถสร้างผลกระทบให้กับชุมชนและสังคมได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งภายใต้ความสำเร็จดังกล่าวถือเป็นความสำเร็จที่ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนเท่าที่ควรจึงทำให้ไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืน ยังคงต้องพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐอยู่ตลอดเวลาหากปีใดภาครัฐสนับสนุนโครงการก็เดินต่อได้ คราวใดที่ขาดการสนับสนุนก็ทำให้ทุกอย่างสะดุดหยุดลง จึงเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงการต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน วันนี้หากมูลนิธิพัฒนาศักยภาพคนพิการและเครือข่ายได้รับโอกาสในการเติมเต็มช่องว่างของสังคมนี้แล้วเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้น่าจะมีรูปแบบอาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการจากกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาอย่างแน่นอน

ประโยชน์ของโครงการ :

1. เครือข่ายอาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการจากนักเรียนและนักศึกษาแกนนำสามารถช่วยเหลือคนพิการในชุมชนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นพื้นฐานทางจิตใจที่สำคัญในการสร้างเยาวชนที่ดีได้ในอนาคต

2. สถานการศึกษาเครือข่าย มีรูปแบบหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้แนวคิด “จิตอาสา” อาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการในชุมชน

3. เกิดรูปแบบของตัวอย่างการทำความดีให้กับกลุ่มอื่นๆ ได้ในชุมชน

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

ก้าวแรก ร่วมหล่อหลอมดวงใจให้เป็นหนึ่งโดยการจัดค่ายจิตอาสา อาสาสมัครนักเรียนและนักศึกษาแกนนำช่วยเหลือคนพิการ ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดรวมใจให้เป็นหนึ่งผ่านการเรียนรู้วิถีชุมชน / ระบบงานอาสาสมัคร / การช่วยเหลือคนพิการเบื้องต้นในชุมชนและร่วมรณรงค์พาคนพิการได้ทำกิจกรรมทางสังคมในชุมชน / เรียนรู้และเข้าใจถึงอุปสรรคในการดำเนินชีวิตของคนพิการกับสภาพแวดล้อมในสังคมปัจจุบันประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้

 

                       

กิจกรรมจัดค่ายจิตอาสาที่อ่าวมะนาว กองบิน 5 จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ระยะเวลา 2 คืน 3 วัน ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนและนักศึกษาแกนนำโดยแบ่งฐานการอบรมเป็น 5 ฐานเพื่อให้แกนนำได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกระบวนการจัดการความดีในมิติต่างๆ ดังนี้

                                ฐานที่ 1 แนวคิดจิตอาสา

                                ฐานที่ 2 ความเข้าใจในเรื่องคนพิการและความพิการในมิติต่างๆ

                                ฐานที่ 3 “จากบ้านสู่โรงเรียน”ระบบการดูแลและส่งต่อคนพิการโดยแกนนำ

                                ฐานที่ 4 การให้ความช่วยเหลือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

                                ฐานที่ 5 วิถีชุมชนและการอยู่ร่วมในชุมชนอย่างมีความสุข

 

 มีใครร่วมกระบวนการกับเรา

•      นักเรียนและนักศึกษาแกนนำรวมถึงคณะครู/อาจารย์ของสถาบันการศึกษาเครือข่าย จำนวน 65 คน

•      คณะทำงานมูลนิธิฯ จำนวน 10 คน

•      คนพิการต้นแบบ จำนวน 10 คน

•      อาสาสมัครและผู้ช่วยคนพิการ จำนวน 15 คน

 

ลำดับรายละเอียดการใช้งบประมาณรวม
1ค่าเช่ารถบัส 1 คัน (รวมน้ำมัน) / ใช้ 3 วันๆ ละ 12,000 บาท36,000 บาท
2ค่าเช่ารถตู้3 คัน (ไม่รวมน้ำมัน)  / ใช้ 3 วันๆ ละ 1,800 บาท16,200 บาท
3ค่าน้ำมันรถตู้ 3 คันๆ ละ 5,000 บาท / ไป-ทำงานในพื้นที่-กลับ15,000 บาท
4ค่าน้ำมันรถบัส 1 คัน ไป-ทำงานในพื้นที่-กลับ 9,000 บาท
5ค่าที่พักแบบเหมาต่อหัวๆ ละ 150 บาท / 2 คืน / 100 คน30,000 บาท
6ค่าอาหารแบบเหมาต่อหัวต่อมื้อ 100 บาท / 7 มื้อ / 100 คน70,000 บาท
7ค่าเหมารถสามล้อพ่วงทำกิจกรรมในพื้นที่ 10 คันๆ ละ 500 บาท 5,000 บาท
8ค่าอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม3,000 บาท

                                                            รวมงบประมาณสำหรับก้าวแรก    184,200 บาท

 

ก้าวที่สอง นำความรู้ไปปฏิบัติงานจริงในพื้นที่หลังจากที่ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านการหล่อหลอมในช่วงแรกแล้วด้วยการสร้างความตระหนักและความเข้าใจรวมถึงวิธีคิดที่จะเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคมที่ดี รวมถึงสามารถสร้างกลุ่มจิตอาสา อาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการในแต่ละเครือข่ายได้แล้วแต่ละเครือข่ายก็จะกลับไปทำกิจกรรมที่ชุมชนของตนเอง รายละเอียดตามนี้

•      ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านคนพิการและฝึกการใช้คู่มือดูแลคนพิการในชุมชน

•      ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันหลังจากลงพื้นที่ปฏิบัติจริง

•      ส่งผลการดำเนินงานให้โรงเรียน/วิทยาลัยเทคนิคและท้องถิ่นของตนเอง

 

 

ลำดับรายละเอียดการใช้งบประมาณรวม
1

ค่าลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงของแกนนำนักเรียนและนักศึกษา

จำนวน 10 ครั้งๆ ละ 1,000 บาท / 7 สถานการศึกษาเครือข่าย

70,000 บาท
2ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม 7 สถานการศึกษาเครือข่ายๆ ละ 1,000 บาท 7,000 บาท

                                                                                               รวมงบประมาณสำหรับก้าวที่สอง          77,000 บาท

 

ก้าวที่สาม ก้าวแห่งความยั่งยืนเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทำงานในก้าวที่สองแล้วนักเรียนและนักศึกษาแกนนำจะประชุมหารือกับคณะครู/อาจารย์ในแต่ละเครือข่ายเพื่อเตรียมการสำหรับการนำเอาผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่ได้ดำเนินการมาประชุมร่วมกับตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อหาแนวทางสนับสนุนกิจกรรมนี้ให้ยั่งยืนกับสถานการศึกษานั้นๆ ผ่านแผนงาน / โครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สถานการศึกษาตั้งอยู่

ความคาดหวัง

                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สถานการศึกษาตั้งอยู่ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการนี้ให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืนและสามารถขยายผลออกไปในสถานศึกษาอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการบรรจุเข้าไปในแผนการพัฒนาท้องถิ่นที่มีตัวแทนของสถานศึกษาเป็นส่วนที่สำคัญในการพัฒนาชุมชนของตนเอง

 

                        

สมาชิกภายในทีม :

                1. นางณฐวรรณ  กุลครรชิต                    ผู้จัดการมูลนิธิฯ ผู้รับผิดชอบและประสานงานโครงการ

                เลขที่ 100/291 ซอยแจ้งวัฒนะ 10 (โกสุมนิเวศน์) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง

                เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

               www.fepdthailand.org      E-mail:  fepd_thailand@hotmail.com, nathawan_c@hotmail.com

                โทรศัพท์มือถือ  089-7770566  

                สำนักงาน 02-0236854  Fax 02-0236855

               

                2. นายอนุสรณ์   ศรีบุญสุข                    รองผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง” เป็นที่ปรึกษาโครงการ

   ที่อยู่ 100/751ม.8ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี 11120

                โทรศัพท์มือถือ  085-0488739 

ภาคี :

1. เครือข่ายการศึกษาไร้พรมแดน

           โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง” จังหวัดปทุมธานี               

          โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี               

          โรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์ จังหวัดปทุมธานี              

          โรงเรียนนนทบุรีพิทยาคม จังหวัดนนทบุรี                                  

          โรงเรียนทหารอากาศอนุสรณ์ จังหวัดนครสวรรค์     

           วิทยาลัยเทคนิคมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี                     

           วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี                   

2. มูลนิธิพัฒนาศักยภาพคนพิการ

           เลขที่ 100/291 ซอยแจ้งวัฒนะ 10 (โกสุมนิเวศน์) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง

            เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

           www.fepdthailand.org      E-mail:  fepd_thailand@hotmail.com

3. กลุ่ม/ชมรม/สมาคมคนพิการในพื้นที่ปฏิบัติงาน

การศึกษา

Cover

วิธีการแก้ปัญหา

    แผนการดำเนินงาน

      แผนการใช้เงิน

      รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
      รวมเป็นเงินทั้งหมด0.00
      ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)0.00
      ยอดระดมทุน
      0.00

      ผู้รับผิดชอบโครงการ

      เทใจ

      เทใจ

      สร้างเพจระดมทุน

      ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

      สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
      icon