cover_1

พัฒนาชุมชนคลองเตยด้วยบริการท่องเที่ยวยั่งยืน

เทใจเทใจ
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำมาจัดกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนให้กับชุมชนคลองเตย1ชุมชน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

16 ต.ค. 2557 - 30 พ.ค. 2558

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ชุมชนคลองเตย เขตคลองเตย จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYDECENT WORK AND ECONOMIC GROWTHREDUCED INEQUALITIESPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ชุมชน/หมู่บ้าน
1แห่ง

ท่องเที่ยวชุมชนคือโอกาสและวิธีการใหม่ ๆ ที่จะเข้าใจวิถีชีวิตของกันและกัน และการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน 

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

“สลัม” “ชุมชนแออัด” ทำให้เรานึกถึงพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความอดอยาก ยาเสพติด ขโมย...

“ชุมชนแออัดคลองเตย” ทำให้เรานึกถึงภาพ ความยากลำบาก การดิ้นรนต่อสู้ต่อความขาดแคลนของกลุ่มคนจนเมืองขนาดใหญ่กลางใจเมืองกรุงเทพมหานคร

แต่จะมีสักกี่คนที่ได้เข้าไปสัมผัสถึงหัวใจของชาวคลองเตยว่าพวกเขาคิดอะไร มีความฝันอะไร โลเคิล อไลค์  (Local Alike) กิจการเพื่อสังคมที่ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ ร่วมกับ มูลนิธิดวงประทีป จึงอยากพาทุกคนเข้าไปดูและเปิดหัวใจคนคลองเตยพร้อมเรียนรู้วิถึชีวิตของกันและกัน

โดยก่อนการทำทริป เราจะลงพื้นที่เพื่อหาตอบคำถาม 2 ข้อ นั่นก็คือ 

  1. เราจะรวมพลคนคลองเตยที่อยากนำเสนอ ... คลองเตย ... ที่แตกต่างออกไป ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวสุดพิเศษที่ออกแบบโดยคนคลองเตย เพื่อคนคลองเตย ในการสื่อสารและสะท้อนความจริงของสังคมในรูปแบบที่แตกต่างออกไป
  2. เราอยากให้การท่องเที่ยวของทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนจะดีขึ้น ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีทางเลือกในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องอาศัยพลังคนคลองเตยในการสร้างเครื่องมือและระบบบริหารจัดการของคนคลองเตย เพื่อทำให้การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ 

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราที่จะทำให้ “คลองเตย” เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนกลางใจกรุงเทพมหานครกับเรา

ประโยชน์ของโครงการ :

*** เงินที่ได้จากการระดมทุนของโครงการ Tourism for Social Change จำนวนทั้งสิ้น 420,000 บาท จะคืนทุนได้ในระยะเวลา 2 ปี 4 เดือน ภายหลังจากการเปิดให้บริการกับนักท่องเที่ยวที่สนใจ
 
ระยะสั้น (3-6 เดือน)

  1. เราจะได้เครือข่ายแกนนำชุมชนที่เข้มแข็งและแกนนำเยาวชนคนรุ่นใหม่อย่างน้อย 20 คน 

  2. เรามีโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชนคลองเตยที่พร้อมนำเสนออย่างน้อย 2 โปรแกรม

  3. นักท่องเที่ยวที่ร่วมทดสอบทริป 10 คน ที่ทุกคนจะเกิดความเข้าใจในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพราะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนคลองเตย
  4. คนในชุมชนมีอาชีพแบบใหม่ มีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าวิถีชีวิตของตนเอง เข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนกับสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว 10 ครอบครัว
ระยะยาว (7-12 เดือน)

  1. กลไกและโมเดลการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสมกับชุมชนคลองเตย

  2. คนอย่างน้อย 1,000 คน ได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยการติดตามโครงการฯ ทาง Facebook หรือบริจาคเงินให้โครงการ Tourism for Social Change หรือใช้บริการเส้นทางท่องเที่ยวที่ชุมชนจัดขึ้น เป็นต้น จนเกิดความเข้าใจในโครงสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนคลองเตยกับสังคม ซึ่งทีมงานเชื่อว่าจะมีคนจำนวนหนึ่งที่เกิดประกายความคิด และนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระยะยาว

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

ระดมทุนโครงการ (15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2558) 

การเตรียมการ (มกราคม 57 ถึง มีนาคม 2558)

  • จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมและศึกษาข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการฯ และ พัฒนาแผนงาน วางแผนการดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิฯ และชุมชน

การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว

  1. ออกแบบและพัฒนาเส้นทาง
  2. เก็บข้อมูลชุมชนและองค์ความรู้ของชุมชม และพัฒนาผู้นำเที่ยว (Local Guide)
  3. จัดอบรมเรื่องการนำเที่ยวและแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และลงพื้นที่ศึกษาดูงานนอกสถานที่
  4. จัดกิจกรรมทดสอบตลาด (Test Trip) ทดลองให้บริการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางและรูปแบบกิจกรรม (พฤษภาคม 2558)
  5. จัดกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Tourism for Social Change) (สิงหาคม 2558) 

ที่ปรึกษาของโครงการฯ

  1. คุณพจนา สวนศรี
    อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน
    ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชน
  2. คุณวีรบูรณ์ วิสารทสกุล
    อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาชุมชน
  3. คุณภัทราพร แย้มละออ
    นักกธุรกิจเพื่อสังคม นักการตลาด ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ป่าสาละ จำกัด
    ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม

คุณจะมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง?

  1. ร่วมติดตามโครงการผ่านทาง Page Facebook โครงการ Tourism for Social Change
  2. ร่วมแบ่งปันและบอกต่อข้อมูลข่าวสารของโครงการฯ
  3. ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนโครงการฯ
  4. ร่วมกิจกรรมของโครงการฯ
  5. ร่วมใช้บริการการท่องเที่ยวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงกับชุมชนคลองเตย :)

ติดตามความเคลื่อนไหวโครงการได้ที่ : https://www.facebook.com/TourismForSocialChange

**เทใจดอทคอมร่วมระดมทุนส่วนหนึ่งของโครงการอื่นๆ

หมายเหตุ

โลเคิล อไลค์  (Local Alike) กิจการเพื่อสังคมที่ใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community Based Tourism : CBT) เป็นเครื่องมือ (Tools) ในการพัฒนาชุมชน จึงอยากเป็นตัวกลางที่จะเชื่อม....คน....ความเข้าใจ....โอกาส พร้อมวิธีการใหม่ในการเข้าใจวิถีชีวิตของกันและกัน ด้วยความเชื่อที่ว่า “การท่องเที่ยวสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้”

วันนี้โลเคิล อไลค์  (Local Alike) ได้ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาความเป็นไปได้

มูลนิธิดวงประทีป มีประสบการณ์การทำงานกับชุมชนคลองเตยมากว่า 30 ปี และค้นพบว่า มีความเป็นไปได้ที่เราสามารถพัฒนาคลองเตยเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนได้อย่างแน่นอน

เพราะองค์ประกอบของชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรบุคคล ประวัติศาสตร์ของชุมชน อาชีพ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนอนุบาลชุมชนที่สอนให้คนหลุดพ้นจากความยากจน  ขออนุญาตเปลี่ยนโดยลบที่ไฮไลท์ออกเป็น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดวงประทีปที่เชื่อมั่นในศักยภาพของเด็กโดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ “ Montessori ” นั้นเข้มแข็งอย่างมากที่จะทำให้พื้นแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของเมืองหลวงเรา เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนใจกลางเมืองหลวงของเรา

สมาชิกภายในทีม :

Local Alike Co., Ltd
โทรศัพท์ 083 076 3593
อีเมล info@localalike.com
เวปไซต์ www.localalike.com

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนเพื่อจัดทำกิจกรรมการท่องเที่ยวสุดพิเศษที่ออกแบบโดยคนคลองเตย เพื่อคนคลองเตย ในการสื่อสารและสะท้อนความจริงของสังคมในรูปแบบที่แตกต่างออกไป

แผนการดำเนินงาน

  1. จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมและศึกษาข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการฯ และ พัฒนาแผนงาน วางแผนการดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิฯ และชุมชน

  2. ออกแบบและพัฒนาเส้นทาง เก็บข้อมูลชุมชนและองค์ความรู้ของชุมชม และพัฒนาผู้นำเที่ยว (Local Guide)

  3. จัดอบรมเรื่องการนำเที่ยวและแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และลงพื้นที่ศึกษาดูงานนอกสถานที่

  4. จัดกิจกรรมทดสอบตลาด (Test Trip) ทดลองให้บริการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางและรูปแบบกิจกรรม

  5. จัดกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Tourism for Social Change)

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าใช้จ่ายเจ้าหน้าที่ในการจัดกิจกรรมและดำเนินโครงการฯ

- ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกับมูลนิธิดวงประทีป     - เตรียมความพร้อมของโครงการ ศึกษาข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการฯ วางแผนการทำงานร่วมกับมูลนิธิและชุมชน - ปฏิบัติการณ์ ออกแบบพัฒนาเส้นทาง พัฒนาผู้นำเที่ยว (Local guide) - ครั้งละ 3,500 บาท x 12 เดือน = 42,000 บาท

4ครั้ง168,000.00
การจัดอบรมเรื่องการนำเที่ยวและแนวคิดการท่องเที่ยวชุมชน

ครั้งละ 6,000 บาท

2ครั้ง12,000.00
การให้ผู้นำเที่ยวชุมชนคลองเตยและอาสาในพื้นที่ได้ไปศึกษาดูงานนอกพื้นที่และทำ workshop ร่วมกัน

2 ครั้ง x 5,000 บาท = 10,000 บาท

15รอบ150,000.00
ทดสอบตลาด (test trip) ทดลองการให้บริการ เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนา

2 ครั้ง x 1,500 บาท = 3,000 บาท

10รอบ30,000.00
ประชาสัมพันธ์

เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศรับรู้ถึงการท่องเที่ยวชุมชนคลองเตย

1ครั้ง20,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด380,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)38,000.00
ยอดระดมทุน
418,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เทใจ

เทใจ

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon