เงินบริจาคของคุณจะให้กับ
เด็กปฐมวัยกำลังถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการที่เกินวัยอย่างไม่สมดุลซึ่งจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต เช่น เร่งรัดพัฒนาการด้านวิชาการที่เกินวัยเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนต่อในโรงเรียนชื่อดัง จึงเกิดปรากฎการณ์กวดวิชาตั้งแต่อนุบาลทั้งในช่วงวันหยุดและวันปิดเทอม เร่งเรียนเขียนอ่าน เกินพัฒนาการเด็กซึ่งเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากคาดหวังของผู้ปกครองที่ต้องการให้เด็กอนุบาลอ่านออกบวกลบเลขได้ ทำให้ระบบการเรียนการสอนเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้นมุ่งเน้นการท่องจำความรู้ ซึ่งเป็นการสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้จากหน้าต่างแห่งโอกาส เพราะเด็กในช่วงปฐมวัยสมองจะเปิดรับการเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะทักษะด้านพฤติกรรม เช่น ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางอารมณ์ การพูดและการเคลื่อนไหว แต่เมื่อเด็กถูกพัฒนาทักษะเพียงด้านเดียวส่งผลให้เด็กขาดแรงจูงใจการเรียนรู้ ขาดทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น และขาดทักษะความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นการเสียโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างทักษะทางด้านพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณลักษณะความสำเร็จด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคตของเด็ก
ในระดับการศึกษาก่อนปฐมวัย พบว่าเด็กเป็นจำนวนมากแสดงอาการของความเครียด และเรียนได้ ไม่ดีในโรงเรียนอนุบาลแบบเร่งเรียน และมักได้ยินเรื่องราวที่เด็กเริ่มหมดไฟเมื่อเรียนถึงชั้นประถมสามประถมสี่ พออายุเลย 9 ขวบ เด็กๆจำนวนมากเริ่มรู้สึกว่าไม่อยากเรียนอะไรอีก
รากฐานพัฒนาการเชิงลึกของการคิดเชิงสร้างสรรค์นี้เอง ทำให้เกิดโครงการโรงเรียนทางเลือกแนววอลดอร์ฟเพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษา ที่เอื้อให้เด็กเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ กิจกรรมการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับ แนวคิด ทฤษฎี พัฒนาการเกี่ยวกับเด็ก และผสมผสานการเรียนการสอนเข้ากับแนวคิดวอลดอร์ฟและการเรียนการสอนแบบโครงการเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็กให้เพิ่มมากขึ้น ต้องมีการบ่มเพาะวิธีการคิดเชิงวิเคราะห์ซึ่งเป็นวิธีที่สำคัญมากในปัจจุบัน เวลาที่เสียไปกับการเรียนเชิงวิชาการแบบแห้ง ความกดดันที่เกิดจากสอบแบบมาตรฐาน ถ้าหากเราสามารถช่วยให้จิตใจของเด็กๆเติบโตได้ทั้งสองด้านอย่างมีพลัง เด็กๆก็จะสามารถมีวิธีคิดในรูปแบบใหม่ๆ และการสร้างสภาพแวดล้อม องค์ประกอบด้านกายภาพ ที่นำองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองและส่งเสริมแนวคิดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับพัฒนาการแต่ละช่วงวัยของเด็ก
1.การศึกษาที่ให้ความสำคัญกับเยาวชนที่มีความหลากหลายของประเทศ
2.การศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ด้วยความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั้งยืน
3.ส่งเสริมวิชาชีพครูที่อุทิศตนเพื่อเยาวชน
4.สร้างความงามทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นรากฐานของประเทศ
ทุนจากเทใจจะเป็นส่วนหนึ่งจัดซื้อที่ดินและสร้างอาคารเรียนที่สร้างด้วยวัสดุท้องถิ่น ไม้ไผ่และดิน เป็นวัสดุหลัก
-ฌาฆีภัตฐ์ เพชรคง(แนน)/ ศิลปอุตสาหกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง
ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศิลโปไทย(สอนศิลปะและการออกแบบ) , ฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์
นักอกแบบ/อาจารย์
-ภัสสร์กิตติ์ ไวยานนท์(พลอย) /ศิลปกรรมศาสตร์ ม.ทักษิณ / อาจารย์
-ฐิติรัตน์ คมเกลี้ยง(บี) /สถาปัตยกรรมภายใน ราชมงคลธัญบุรี / สถาปนิก
-สุทธินี ชุมทอง(แนน) /สถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ / สถาปนิก
-ปาริฉัตร แทนบุญ(เฟส) / ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / นักออกแบบ,อาจารย์
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 0.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 0.00 |
เทใจดอทคอม เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆ เพื่อสังคม เทใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีมูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ สถาบัน ChangeFusion ร่วมกันสร้างพื้นที่กลางนี้ขึ้นมา เราอยากให้เทใจเป็นพื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม และให้สมาชิกของเทใจสามารถมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการที่ตนบริจาคได้
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้