cover_1

โครงการสืบสานพิทักษ์รักษ์วิถีชุมชน ม่อนจอง

เทใจเทใจ
เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะจัดทำหุ่นสายให้กับชุมชนม่อนจอง1แห่ง

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

7 เม.ย. 2559 - 29 เม.ย. 2559

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ชุมชนม่อนจอง ต.ม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ 50310

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYQUALITY EDUCATIONREDUCED INEQUALITIESLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ชุมชน/หมู่บ้าน
1แห่ง

เด็กและเยาวชนจำนวนมาก ปรารถนาสร้างสังคมที่ดี ด้วยสื่อดี แต่ขาดโอกาสทางศิลปะ จึงต้องมีการสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม เพื่อให้เกิดสื่อดี สื่อศิลปะเพื่อสังคม

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

โรงเรียนบ้านห้วยปูลิง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 ที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สูงและทุรกันดาร โดย กลุ่มชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่นี้ประกอบด้วยกะเหรี่ยง (ปะกาเกอะญอ) และ มูเซอ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สภาพสังคมของกลุ่มชุมชนดังที่กล่าวมา ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในหลายประการ ทั้งจากการไหลบ่าของวัฒนธรรมเมืองที่ทำให้อัตลักษณ์ ท้องถิ่นมีการแปรสภาพ ทั้งจากสถานการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น อันมีที่มาจากผลกระทบของมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย ไปจนถึงระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ

ปัญหาการแปรสภาพที่ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ได้กำลังสั่งสมและได้สร้างปัญหาต่อชุมชน ทั้งในเรื่องของสภาวะวิถีวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม

ทางมูลนิธิหุ่นสายเสมาศิลปะเพื่อสังคม จึงได้ใช้แนวทางการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นดังกล่าว โดยใช้แนวทางการพัฒนาสื่อศิลปะหุ่นสาย ให้เกิดอัตลักษณ์ที่ชัดเจนในลักษณะสื่อศิลปะประจำท้องถิ่น ที่สะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี ของชนเผ่า

แนวทางการนำหุ่น มาตอบรับต่อการสร้างเนื้อหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารของคนในท้องถิ่นในเรื่องของสภาวะวิถีวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม

ประโยชน์ของโครงการ :

  1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านความสำคัญของวัฒนธรรมต้นน้ำโดยการมีส่วนร่วม ระหว่าง โรงเรียน ชุมชน เพื่อสร้างผลการดำเนินการร่วมกัน
  2. เพื่อสร้างชุดเครื่องมือ สื่อในการเผยแพร่แนวคิด อันจะก่อเกิดการสร้างจิตสำนึกที่ดี
  3. เพื่อสร้างทัศนคติในการเกิดความรักษ์ถิ่นฐานผ่านการสร้างรากฐานด้านการเผยแพร่ องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เด็กเยาวชน และชุมชน
  4. เพื่อการสร้างเป้าหมายการพัฒนาระบบและแนวคิดการจัดการขยะ อนามัย สาธารณสุขมูลฐาน ด้วยแผนการดำเนินการที่มีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์

ประโยชน์ของเยาวชนที่ได้รับต่อกิจกรรมครั้งนี้

  1. พวกเขาสามารถนำสื่อหุ่นสายไปเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการรณรงค์การลดขยะในชุมชน 
  2. โดยนำมาสร้างเป็นเรื่องราวและจัดแสดงเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ผู้ใหญ่ในชุมชน
  3. มองเห็นถึงปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในชุมชน และสามารถต่อยอดกลายเป็นวิชาชีพได้ต่อไป

ตัวอย่างคณะหุ่นเยาวชนที่นำสื่อหุ่นสายไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน และยังเสริมสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชนอีกด้วย

โรงเรียนวัดเขายี่สาร จ.สมุทรสงคราม

โรงเรียนนารีนุกูล จ.อุบลราชธานี

โรงเรียนบ้านหนองโสน จ.บุรีรัมย์

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

สอนการสร้างสื่อหุ่นสาย รวมทั้งวิธีการเขียนบท พากย์เสียง การทำโปรดักชั่น เพื่อให้เกิดเป็นสื่อศิลปะหุ่นสายเพื่อใช้ในการรณรงค์แก้ไขปัญหาในชุมชนต่อไป

ตัวอย่างการอบรมหุ่นสายให้เยาวชน

เยาวชนนำไปต่อยอดพัฒนาได้ด้วยตนเอง https://youtu.be/3YhMzI29pRA

สมาชิกภายในทีม :

นิมิตร พิพิธกุล (Nimit Pipithkul) ศิลปินศิลปาธรสาขาศิลปะการแสดง ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะหุ่นผิวน้ำ
เฉลิมญาติ (Piewnam Chalermyart) วิทยากรด้านการเขียนบท และนักเชิดหุ่นสาย 
เชิดชัย ขะบูญรัมย์ (Cherdchai Khaboonrum) วิทยากรด้านการสร้างหุ่น และนักเชิดหุ่นสาย
บัณฑิต ม่วงพัฒน์ (Bundit Muangpat) วิทยากรด้านการออกแบบและสร้างหุ่น และนักเชิดหุ่นสาย

ภาคี :

ชมรมดนตรีสากลคนพญาไท

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนเพื่อสร้างหุ่นสาย ชุดเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นสื่อศิลปะหุ่นสายเพื่อใช้ในการรณรงค์แก้ไขปัญหาในชุมชนต่อไป

แผนการดำเนินงาน

  1. สอนการสร้างสื่อหุ่นสาย รวมทั้งวิธีการเขียนบท พากย์เสียง การทำโปรดักชั่น

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าวัสดุและอุปกรณ์ทำหุ่นสาย

1ชุมชน100,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด100,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)10,000.00
ยอดระดมทุน
110,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เทใจ

เทใจ

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon