เงินบริจาคของคุณจะให้กับ
ชาวเขาแต่เดิมเป็นชนเผ่าเร่รอนไม่มีสัญชาติ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ที่อยู่ที่ทำกินในปัจจุบันเป็นของกรมป่าไม้ที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ทำกินได้ สภาพบ้านเรือนจะสร้างด้วยไม้ไผ่ ไม่มีการสร้างแบบถาวรคงทน โดยทั่วไปเรือนไม้ไผ่จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 – 5 ปีในอดีตชาวเขาส่วนใหญ่จะมีลูกมากเฉลี่ยครอบครัวละ 10 คน แต่ในปัจจุบันชาวจะแต่งงานในช่วงอายุประมาณ 15- 20 ปีแต่ละครอบครัวจะมีบุตรประมาณ 3-4 คน สภาพการทำมาหากินของชาวเขาส่วนใหญ่จะปลูกข้าว ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์กินเองในครอบครัว รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนน้อยกว่า 20,000 บาทต่อปีชาวเขาโดยส่วนใหญ่จะไม่สนับสนุนด้านการศึกษาของบุตร บุตรชาวเขาส่วนใหญ่จะศึกษาถึงมากที่สุดเพียงแค่มัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรชาวเขาที่ไม่ได้รับการศึกษามีประมาณ 20 % การศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและปริญญาตรีเรียนต่อมีน้อยมาก ชาวเขาบางส่วนไร้ที่อยู่อาศัย เนื่องสภาพความเป็นอยู่และสภาพรายได้ที่น้อยของชนชาวเขา ประกอบกับความยากลำบาก ชาวเขาจึงต้องการให้ลูกๆ ของตนเองมาช่วยงานที่บ้าน ด้วยเหตุของรายได้ต่อครัวเรือนต่ำ การขาดการศึกษาของเด็กชาวเขาจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น การไม่มีอาชีพ การถูกเอารัดเอาเปรียบจากการไม่รู้หนังสือ ชาวเขาบางส่วนจึงหันมาทำสิ่งที่ผิดกฎหมายต่างๆ เช่น ปลูกฝิ่น ค้ายาบ้า ค้าอาวุธสงคราม รับจ้างขนสิ่งผิดกฎหมาย เป็นต้น
การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน เพราะจะทำให้มีองค์ความคิดที่เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผนในการดำรงชีวิต สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ พัฒนาอาชีพของตนเองและพัฒนาครอบครัวให้ดีขึ้นได้ การศึกษาทำให้มนุษย์ฉลาดและรู้เท่าทันโลกทันเหตุการณ์ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากมิจฉาชีพ ดังนั้นการหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษาจึงเปรียบเสมือนการให้แสงสว่างแห่งชีวิต ชีวิตที่มีทางเลือกที่จะเลือกอาชีพ รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้จักรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ทำสิ่งผิดกฎหมาย และผู้ที่ได้รับการศึกษาอาจจะเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาชุมชนและประเทศชาติให้ดีขึ้นได้
ดังนั้นทางสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสำหรับยาวชนของชาติ จึงจัดทำโครงการค่ายอาสาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ครั้งที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรักความสามัคคีในองค์กรและบำเพ็ญประโยชน์แก่น้องๆ เด็กนักเรียนชาวเขาเผ่าต่างๆ ของไทยและเด็กนักเรียนชาวเขาจากฝั่งพม่า ณ โรงเรียนเวียงผาวิทยา ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวจังหวัด ระยะทางโดยประมาณ 70 กิโลเมตร การเดินทางเข้าถึงตัวโรงเรียนค่อนข้างยากลำบากโดยเฉพาะฤดูฝนที่มีน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม จากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการของน้องๆ และอาจารย์ (จันทร์จีรา ดอนชาไพร) โรงเรียนเวียงผาวิทยา เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557 พบว่าทางโรงเรียนกำลังขาดแคลนเครื่องสาธารณูปโภคและอุปกรณ์การศึกษารายละเอียดอยู่ตามหัวข้อที่ 6 เครื่องสาธารณูปโภคและอุปกรณ์การศึกษาขาดแคลน
1. มหาวิทยาลัยพะเยา
-สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ และส่งเสริมศักยภาพของนิสิตในการประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเหลือชุมชนห่างไกล
-มหาวิทยาลัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนโดยใช้ผลผลิตทางการศึกษา (นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) เข้าไปช่วยพัฒนาชุมชน ซึ่งตรงกับปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า ‘‘ปัญญาเพื่อความเข็มแข็งของชุมชน”
2. อาจารย์และนิสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- ได้เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
- อาจารย์ นิสิตรุ่นพี่ รุ่นน้องได้ทำกิจกรรมเพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีงามซึ่งจะก่อให้เกิดความรัก สมัคสมานสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันภายในองค์กร
3. หน่วยงานรัฐและเอกชน
-ได้มอบโอกาสให้กับเด็กนักเรียนได้มีโอกาสทางการศึกษาและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- ได้สร้างบุญสร้างกุศลให้แก่ตนเองและครอบครัว
4. บุคคลทั่วไป
-ได้มอบโอกาสให้กับเด็กนักเรียนได้มีโอกาสทางการศึกษาและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- ได้สร้างบุญสร้างกุศลให้แก่ตนเองและครอบครัว
1.ด้านอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์
โครงการค่ายอาสาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ครั้งที่ 1 นี้เป็นการใช้เวลาว่างของนิสิตในสาขาวิชาทุกคนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคม โดยให้ความสำคัญกับการรักษาสุขอนามัยของคนในชุมชนด้วยการนำบูรณาการความรู้เรื่องการผลิตน้ำประปาอย่างถูกหลักสุขาภิบาลและการนำเทคโนโลยีด้านการกรองน้ำเข้าไปช่วยทางด้านการใช้น้ำเพื่อนอุปโภคบริโภค
กิจกรรมที่ทำ
-ทำกิจกรรมสร้างเครื่องกรองน้ำโดยใช้วัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่นมาเป็นส่วนช่วยในการกรองเพื่อให้โรงเรียนมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดยิ่งขึ้น
- ทำกิจกรรมสร้างลานคอนกรีต เพื่อใช้เป็นลานกิจกรรมให้แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนเวียงผาวิทยา (อายิโก๊ะ)
- ทำกิจกรรมมอบสิ่งของ ให้แก่นักเรียนโรงเรียนเวียงผาวิทยา เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
2.ด้านนันทนาการ
โครงการค่ายอาสาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ครั้งที่ 1 นี้เป็นกิจกรรมบูรณาการเพื่อสร้างความสามัคคีและเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างชุมชน โรงเรียน และนิสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
กิจกรรมที่ทำ
-นักเรียนโรงเรียนเวียงผาวิทยาและนิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้ทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน
- มอบความรู้เรื่องการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
- แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองกับการแสดงของนิสิต
- สมาชิกและผู้ร่วมโครงการร่วมกันแข่งขันกีฬากับนักเรียนในโรงเรียนและนิสิต
1.อาจารย์ณรงค์ชัย มุ่งแฝงกลาง E-mail: nanfa_blue@yahoo.com (081-7117319)
2.อาจารย์อภิวัฒน์ วิทยารัฐ E-mail: apiwat.wi@up.ac.th (081-6712291)
3. อาจารย์คมกริช มาเที่ยง E-mail: ratiodetector@hotmail.com (084-6421036)
4.นายพสธร วิรัทธิโกวิท E-mail: gaveratools@hotmail.com (087-5468108)
5. นายสรวิศ จิณะมูล E-mail:mean_101@hotmail.com (081-9606895)
6. นายวุฒิพงศ์ บุญมา E-mail:woottipongboonma@gmail.com (085-6520600)
7. นายหริพันธุ์ บุญนิธิพัฒน์ E-mail:h.bunnitiphat@gmail.com (087-8477865)
8. นางสาวมินตรา ศรีตะลา E-mail: pup681@hotmail.com (082-2260822)
และนืสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 0.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 0.00 |
เทใจดอทคอม เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆ เพื่อสังคม เทใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีมูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ สถาบัน ChangeFusion ร่วมกันสร้างพื้นที่กลางนี้ขึ้นมา เราอยากให้เทใจเป็นพื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม และให้สมาชิกของเทใจสามารถมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการที่ตนบริจาคได้
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้