empty image

โครงการจัดตั้งสถาบันวานิตาเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน (WANITA Economic Empowerment Academy)

เทใจเทใจ

เงินบริจาคของคุณจะให้กับ

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

13 ก.ค. 2558 - 30 ธ.ค. 2558

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สถาบันวานิตาเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน (WANITA Economic Empowerment Academy) เป็นแนวคิดในการสร้างจุดเชื่อมประสานกลางในงานส่งเสริมกลุ่มอาชีพและสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้หญิงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่เรื้อรังมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ใช่สงครามแต่ก็ไม่มีความสงบ (Neither War nor Peace) แม้จะมีความพยายามของภาครัฐและภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือเยียวยาและในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการอุดหนุนงบประมาณกว่า 2 แสนล้านบาทลงไปเพื่อแก้ไขปัญหาหากแต่สถานการณ์ความรุนแรงก็ยังคงปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้งและพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ยังคงติดอันดับจังหวัดที่ประชาชนมีความยากจนมากที่สุด  ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสถานการณ์ดังกล่าวคือผู้หญิงและเด็กจำนวนมากที่สูญเสียผู้นำครอบครัวและต้องเผชิญความยากลำบากในการดำรงชีวิตและต้องดิ้นรนเพื่อหารายได้เลี้ยงดูครอบครัวส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กและเยาวชนและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอันเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ไว้

องค์การอ็อกแฟมตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวและเชื่อมั่นในพลังของผู้หญิงที่จะสามารถเป็นผู้พลิกฟื้นสถานการณ์ในพื้นที่ได้  จึงริเริ่มจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำทางเศรษฐกิจของผู้หญิงโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างทักษะทางธุรกิจที่จำเป็นและส่งเสริมให้ผู้หญิงมีภาวะผู้นำและเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและผู้นำหญิงเหล่านี้จะเป็นผู้ส่งต่อองค์ความรู้และสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและเป็นที่พึ่งของชุมชนในภาวะสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ต่อไปได้ซึ่งกว่า 2 ปีของการดำเนินโครงการมีผู้หญิงกว่า 200 รายที่ได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในพื้นที่และกลุ่มผู้นำหญิงเหล่านี้ได้กลับไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

ทั้งนี้ข้อค้นพบที่สำคัญจากการดำเนินโครงการคือปัจจุบันมีหน่วยงานจำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้หญิงในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการอาชีพหากแต่ยังไม่มีหน่วยงานใดที่มุ่งพัฒนาผู้หญิงในบทบาทของผู้นำทางเศรษฐกิจซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน  และยังพบว่ากลุ่มผู้หญิงขาดพื้นที่กลางในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านการดำเนินธุรกิจและการตลาดที่สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายตามศักยภาพของแต่ละกลุ่มรวมถึงแรงสนับสนุนในการเชื่อมต่อกับภาคธุรกิจและตลาดในเมือง  นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้เองก็ยังขาดจุดเชื่อมประสานที่จะเป็นศูนย์รวมข้อมูลเพื่อให้ทรัพยากรที่มีอยู่มากในพื้นที่ได้เกิดการกระจายและเกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

ประโยชน์ของโครงการ :

เพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยงและขยายผลออกไปในวงกว้างองค์การอ็อกแฟมจึงได้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งสถาบันวานิตาเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน (WANITA Economic Empowerment Academy) ขึ้นโดยมีแนวคิดในการสร้างจุดศูนย์รวมบริการที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มอาชีพผู้หญิงไว้ในที่เดียว (One Stop Service) ประโยชน์ของโครงการมีดังต่อไปนี้

1) กลุ่มอาชีพผู้หญิงและประชาชนทั่วไปในพื้นที่สามจังหวัดชายใต้ มีพื้นที่กลางในการเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและการพัฒนาภาวะผู้นำทางเศรษฐกิจ
2) ผู้หญิง ตลอดจนครอบครัวและชุมชนของกลุ่มผู้หญิงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถบริหารจัดการชีวิตของตนเอง และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ 
3) เป็นศูนย์บริการข้อมูลและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการกลุ่มโดยเชื่อมประสานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นและทำหน้าที่กระจายข้อมูลกลับไปยังพื้นที่ เกิดกลไกการเชื่อมงานระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นที่ทำงานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพสตรีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อพัฒนาช่องทางการกระจายและเข้าถึงทรัพยากรในพื้นที่ของกลุ่มผู้หญิงร่วมกัน 
4)ผู้บริโภคในเมืองเกิดการรับรู้และเข้าใจในสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนใต้ และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มักมองว่ากลุ่มผู้หญิงเป็นเหยื่อที่มีความอ่อนแอ มาเป็นการเล็งเห็นถึงศักยภาพและภาวะผู้นำของผู้หญิงที่ลุกขึ้นมาบริหารจัดการชีวิตตนเองบนสถานการณ์ความขัดแย้งและข้อจำกัดต่าง ๆ และมีภาวะผู้นำโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจที่จะเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวและชุมชนได้อย่างยั่งยืน 
5) เป็นโอกาสให้กับภาคธุรกิจที่มีความสนใจและมีแนวนโยบายองค์กรในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนกลุ่มผู้หญิงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งภาคธุรกิจสามารถร่วมดำเนินงานกับสถาบันได้ในหลายระดับ ตั้งแต่การเป็นผู้สนับสนุนทุนให้กับกลุ่มอาชีพ สนับสนุนองค์ความรู้และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจให้กับกลุ่ม (Mentor) จนถึงระดับการสร้างค่านิยมร่วม (Shared Value) ระหว่างองค์กรและพื้นที่ ซึ่งกลุ่มอาชีพและชุมชนในพื้นที่สามารถเป็นผู้ผลิต(Producer)ให้กับภาคธุรกิจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน
 

 

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

 

1. จัดทำแผนธุรกิจและกิจกรรมบ่มเพาะศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มอาชีพผู้หญิงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

2. พัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพที่มีความพร้อมพัฒนาเป็น SMEs 

3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพผู้หญิงและกระบวนการสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มอาชีพและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

4. สร้างกลไกการเชื่อมงานระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นที่ทำงานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพสตรีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อพัฒนาช่องทางการกระจายและเข้าถึงทรัพยากรในพื้นที่ของกลุ่มผู้หญิงร่วมกัน

สมาชิกภายในทีม :

วีระพงษ์ ประภา
Werapong Prapha
Gendered Enterprise Development and Private Sector Co-ordinator
wprapha@oxfam.org.uk
 
จอมขวัญ ขวัญยืน
Jomkwan Kwanyuen
Gendered Enterprise and Private Sector Development Programme Officer
jkwanyuen@oxfam.org.uk
 
อลิญา หมัดหมาน
Aliya Mudmarn
Project Officer - Women's Economics Empowerment in Deep South
amudmarn@oxfam.org.uk
 
 

ภาคี :

าคีหลัก 
ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ศวชต.) 
 
 
 
 
 
การศึกษา

Cover

วิธีการแก้ปัญหา

    แผนการดำเนินงาน

      แผนการใช้เงิน

      รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
      รวมเป็นเงินทั้งหมด0.00
      ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)0.00
      ยอดระดมทุน
      0.00

      ผู้รับผิดชอบโครงการ

      เทใจ

      เทใจ

      สร้างเพจระดมทุน

      ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

      สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
      icon