empty image

โครงการบรรจุภัณฑ์สีเขียวจากใบตอง : BeGreen Packaging

เทใจเทใจ

เงินบริจาคของคุณจะให้กับ

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

8 ก.พ. 2555 - 30 ธ.ค. 2555

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

BeGreen Packaging หรือโครงการบรรจุภัณฑ์สีเขียวจากใบตอง เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านบรรจุภัณฑ์โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อพัฒนาเทคโนโยลีการผลิตบรรจุภัณฑ์จากใบตองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ มีความคงทน เเละมีระยะเวลาเก็บรักษาได้นานเพื่อตอบโจทย์ตลาดบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งเเวดล้อมที่่ยังคงมีขีดจำกัดสำคัญในด้านต้นทุนการผลิตที่สูงเมื่อเทียบกับวัสดุบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เเละเป็นโครงการนำร่องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมให้ขยายในวงกว้างต่อไป   

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

BeGreen Packaging หรือโครงการบรรจุภัณฑ์สีเขียวจากใบตอง เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านบรรจุภัณฑ์โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อพัฒนาเทคโนโยลีการผลิตบรรจุภัณฑ์จากใบตองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ มีความคงทน เเละมีระยะเวลาเก็บรักษาได้นานเพื่อตอบโจทย์ตลาดบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งเเวดล้อมที่่ยังคงมีขีดจำกัดสำคัญในด้านต้นทุนการผลิตที่สูงเมื่อเทียบกับวัสดุบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เเละเป็นโครงการนำร่องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมให้ขยายในวงกว้างต่อไป

 

ประโยชน์ของโครงการ :

ในขั้นเริ่มต้นครงการ คาดว่าทำให้ชาวบ้านประมาณ 200 คนในชุมชนดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่หันมาปลูกต้นกล้วยเพื่อเพิ่มรายได้ เนื่องจากกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เเละยังจะเป็นต้นเเบบให้กับชุมชนใกล้เคียงเช่นเดียวกัน

ประโยชน์ต่อสังคม
1. เป็นการให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส(ชาวเขา)ด้วยการจ้างงานที่เป็นธรรม
ประโยชน์ต่อชุมชน
1. ช่วยให้ชาวเขาได้ทำงานในพื้นที่ชุมชนของตนไม่ต้องไปหารายได้ในเมือง
2. เป็นการพัฒนาพื้นที่ชุมชนที่สำคัญ เนื่องจาก ต้นกล้วยที่ปลูกช่วยให้ดินชุมชื่นไม่เกิดไฟป่า และยังบำรุงดินให้พืชเกษตรอื่นๆเติบโตดียิ่งขึ้น
3. ลักษณะงานเป็นสิ่งที่ชาวบ้านถนัดและเหมาะสมกับวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ ก่อให้เกิดความยั่งยืนในวิถีธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
1. ลดปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์ในท้องตลาดซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมาก
2. ช่วยพื้นฟูป่าไม้ที่สำคัญของประเทศในแหล่งเขาภาคเหนือให้อุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
 

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

1. สำรวจข้อมูลพื้นที่การปลูกกล้วย และปริมาณการผลิตในชุมชน ที่ชุมชนดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่
2. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การผลิตภาชนะใบตองและการแปรรูปผลผลิตจากกล้วย เพื่อพัฒนาแรงงาน
3. จัดหาแหล่งทุนสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อจัดตั้งกระบวนการผลิตในชุมชนดอยปุย
4. จัดทำตัวอย่างบรรจุภัณฑ์แบบต่างๆเชิงการทดลองเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับตลาด พร้อมกับคำนวนต้นทุนการผลิตเพื่อให้สามารถระบุราคาต่อหน่วยได้ชัดเจน
5. ค้นหาตลาดที่รองรับบรรจุภัณฑ์โดยร่วมกับโครงการถนนปลอดโฟมถนนคนเดินเชียงใหม่ โดยขอความสนับสนุนจากเทศบาลเชียงใหม่
6. การขยายตลาดการใช้บรรจุภัณฑ์ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และการขยายตลาดผลผลิตจากกล้วย
7. การขยายพื้นที่ปลูกกล้วยและผลิตภาชนะใบตองไปยังชุมชนใกล้เคียง

สมาชิกภายในทีม :

น.ส.จันทิมา พิพิธสุนทร เเละนาย จิรัฏฐ์ วิธานวัฒนา

ภาคี :

1. รศ.ดร.งามทิพย์ ภู่วโรดม จาก ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เป็นเจ้าของงานวิจัยภาชนะใบตอง 2. ชุมชนชาวเขาดอยปุย เพื่อช้เป็นพื้นที่แหล่งผลิตใบตอง ซึ่งทำให้ลดต้นทุนค่าวัตถุดิบได้

Cover

วิธีการแก้ปัญหา

    แผนการดำเนินงาน

      แผนการใช้เงิน

      รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
      รวมเป็นเงินทั้งหมด0.00
      ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)0.00
      ยอดระดมทุน
      0.00

      ผู้รับผิดชอบโครงการ

      เทใจ

      เทใจ

      สร้างเพจระดมทุน

      ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

      สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
      icon