cover_1

ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.นครศรีธรรมราช ปี2563

เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้มูลนิธิชุมชนไทยเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้มูลนิธิชุมชนไทย
ผู้ประสบภัยพิบัติ

เงินบริจาคของคุณจะช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.นครศรีธรรมราช ปี2563ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม1,000ครัวเรือน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

9 ธ.ค. 2563 - 31 มี.ค. 2564

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEING

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้ประสบภัยพิบัติ
2,500คน

ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 1,000 ครัวเรือน ใน ต.หุล่อง, ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ที่มีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง

 เนื่องจากได้รับน้ำจากตำบลใกล้เคียง ก่อนที่น้ำจะไหลลงสู่ทะเล ชาวบ้านยังคงต้องการอาหารและอุปกรณ์จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ถึง มี.ค. 64 ที่คาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

ปัญหาสังคม

นับตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 63 เกิดมรสุมพัดผ่านภาคใต้จึงทำให้ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง กระจายในหลายพื้นที่ของอำเภอปากพนัง ตำบลหูล่องและตำบลเกาะทวดเป็นพื้นที่ลุ่มแอ่งกระทะ ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก จากปริมาณน้ำฝนกับน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอลานสกาและจากอำเภอชะอวด ก่อนน้ำไหลลงสู่ทะเล จึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวน้ำท่วมขังนานในหลายหมู่บ้าน

วิธีการแก้ปัญหา

  1. เบื้องต้นโครงการได้ยืมเรือจากทีมภัยพิบัติจังหวัดพังงา และเรือในพื้นที่ ต.หูล่อง บางส่วนเพื่อนำมาอพยพ และลำเลียงเสบียงอาหาร ขณะนี้ ต.หูล่อง มีครัวกลางทำอาหารกล่องที่ หมู่ที่ 3 แต่ในพื้นที่เทศบาล ต.เกาะทวดยังไม่มีครัวกลาง เพราะยังเข้าพื้นที่ไม่ได้ ส่วนเทศบาล ต.แกะทวด จะเริ่มจัดตั้งครัวกลางที่รพสต.บ้านบางบูชา ทางโครงการยังจำเป็นต้องใช้เรือเพิ่มในพื้นที่อีก 5 ลำ สำหรับเทศบาลตำบลเกาะทวด และอาหารการกินและน้ำดื่ม เพื่อประชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่

แผนการดำเนินงาน

  1. นำของไปลงที่เทสบาลตำบลเกาะทวดคือ สถานีอนามัยบ้านบางบูชา

  2. ทีมงานอาสาภัยพิบัติประจำตำบล ทั้งจังหวัดมี 108 คน ในพื้นที่ตำบลเกาะทวดและตำบลหูล่องมีอาสาตำบลละ 6 คน ลงพื้นที่นำอาหารแห้ง/อาหารพร้อมทานจากครัวกลาง และของใช้ไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้าน ทุกวัน

  3. อัพเดทข้อมูลครัวเรือน กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว ผู้ป่วยติดเตียง ที่ประสบภัยอยู่ในพื้นที่ และข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้

  4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และเครือข่ายใกล้เคียงเพิ่มเติมเพื่อให้ความช่วยเหลือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น วัวไม่อาหาร/หญ้ากิน ต้องประสานปสุสัตว์จังหวัดจัดหาหญ้ามาให้วัวกิน

  5. เมื่อน้ำลด โครงการจะเข้าสำรวจพื้นที่เพื่อเข้าสู่ระยะฟื้นฟู ที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร โรงเรียน ฯลฯ ต่อไป

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
อาหารสำเร็จรูป เช่น ปลากระป๋อง อาหารซอง ข้าวสาร

2,000ชุด100,000.00
ถุงยา ผ้าอ้อมสำเร็จรูป กระดาษชำระสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

50ขุด7,000.00
น้ำดื่ม/ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า และยาสามัญประจำบ้าน

1,000ชุด4,500.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด111,500.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)11,150.00
ยอดระดมทุน
122,650.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้มูลนิธิชุมชนไทย

เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้มูลนิธิชุมชนไทย

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon