cover_1

โรงพยาบาลสัตว์น้ำเคลื่อนที่

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สัตว์

เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดตั้งโรงพยาบาลเคลื่อนที่ให้กับกลุ่มสัตว์น้ำหรือสัตว์ทะเล1กลุ่ม

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

4 ม.ค. 2559 - 30 เม.ย. 2560

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

LIFE BELOW WATER

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

กลุ่มสัตว์น้ำหรือสัตว์ทะเล
1กลุ่ม

ในแต่ละปีเราสูญเสียสัตว์น้ำหายากไปมาก ถ้าเรามีหน่วยพยาบาลสัตว์น้ำเคลื่อนที่ที่ดีและรวดเร็วขึ้น สัตว์น้ำเหล่านี้จะอยู่คู่อ่าวไทยของเราได้อีกนาน มาร่วมบริจาครักษาชีวิตสัตว์น้ำกัน

ปัญหาสังคม

ที่มาและความสำคัญโครงการ

สัตว์ป่าก็สามารถได้รับบาดเจ็บ และต้องการความช่วยเหลือจากสัตวแพทย์เช่นกัน ในความเป็นจริงสัตว์ป่าไม่ได้มีแต่บนบกหรือในป่าเท่านั้น แต่ใต้ผืนน้ำก็มีอีกหลายชีวิตหลากสายพันธุ์ที่ต้องการการดูแลช่วยเหลือจากสัตวแพทย์

ยกตัวอย่างเช่นเรื่องราวของโรซี่

โรซี่เป็นปลาโรนินเพศเมียปลาหายากที่บาดเจ็บและถูกช่วยเหลือโดยความร่วมมือของทีมสัตวแพทย์จากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่จังหวัดระยอง หลังจากการรักษาอาการบาดเจ็บเบื้องต้นสุขภาพของโรซี่ดีขึ้นมาก และเข้าสู่ช่วงพักฟื้นรอวันที่จะปล่อยคืนสู่ท้องทะเลเพื่อเป็นแม่ของประชากรปลาโรนินที่เหลืออยู่น้อยมากในท้องทะเลไทย แต่ทว่าสองวันถัดมา ช่วงเช้ามืดของวันแม่ เรากลับต้องสูญเสียโรซี่ไปตลอดกาล ผลจากการชันสูตรพบว่าเธอตายจากอาการช็อค ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำในบ่อพักฟื้น ซึ่งในคืนก่อนวันแม่นั้นมีฝนตกหนักในพื้นที่ บ่อพักฟื้นชั่วคราวที่หาได้ในยามฉุกเฉิน ไม่พร้อมรับมือน้ำฝนที่กระหน่ำลงมาได้และตายไปในที่สุด

ซึ่งโรซี่เองก็ไม่ใช่สัตว์ทะเลหายากตัวแรกที่เราสูญเสียไป แต่ยังมีสัตว์อีกมากมาย อาทิ โลมา เต่าทะเล วาฬ ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์

ทีมสัตว์แพทย์จากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Veterinary Medical Aquatic animal Research Center (VMARC)] เป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญที่ออกลงพื้นที่ในการให้การรักษากู้ชีวิตสัตว์น้ำต่างๆ รวมไปถึงสัตว์ทะเลหายากที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ อย่างเช่น ปลาโรนิน เต่า โลมา วาฬ พะยูน กระเบน เป็นต้น การรักษาพยาบาลสัตว์น้ำนั้นเป็นการรักษานอกสถานที่เกือบทั้งหมด การที่ทีมสัตวแพทย์สามารถติดตั้งศูนย์ปฏิบัติงานภาคสนามเคลื่อนที่ จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทีมสัตวแพทย์สัตว์น้ำ และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของสัตว์น้ำเหล่านี้ เพื่อให้สืบอยู่ในท้องทะเลไทยต่อไป

ประโยชน์ของโครงการ

  • สามารถให้การรักษาสัตว์น้ำต่างๆ ที่ได้รับบาดเจ็บด้วยความรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มอัตราการมีชีวิตรอดและรักษาประชากรสัตว์น้ำหายากต่างๆ ของไทย

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

จัดตั้งโรงพยาบาลเคลื่อนที่สำหรับสัตว์น้ำ ซึ่งจะประกอบด้วยสระที่ถอดประกอบได้, เต็นท์คลุม, ปั๊มอากาศ/ออกซิเจน, ปั๊มน้ำ, เครื่องกรองน้ำ และเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการรักษาพยาบาลสัตว์น้ำในภาคสนามอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถพกพาเพื่อออกทำงานนอกสถานที่ได้โดยสะดวก

เป้าหมายระยะที่ 1 : water filtration /salt pool/water pump/temp reader/ air pump
เป้าหมายระยะที่ 2 : blood gas machine / water monitoring unit / รถเปิดข้าง
 
หน่วยศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ Facebook: VMARC
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ Facebook: Dr. Nantarika Chansue

สมาชิกภายในทีม :

ชื่อ สัตวแพทย์หญิงฐนิดา เหตระกูล Thanida Haetrakul 
สัตวแพทย์ประจำ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬา รักในการทำงานช่วยเหลือสัตว์น้ำ เต่า และสัตว์ทะเล ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย มาเป็นระยะเวลา 10 ปีตั้งแต่เรียนจบการได้สัมผัสกับสัตว์เหล่านี้ ทำให้ได้รู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นชีวิตเล็กๆอย่างปลาหางนกยูง หรือจะใหญ่อย่างโลมาและวาฬ ก็มีคุณค่าเท่ากัน และทำให้หมอมีกำลังใจในการทำงานและดีใจมากทุกครั้งที่สัตว์ทุกตัวหายเป็นปรกติและได้กลับไปดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติได้อีกครั้ง 
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ Facebook: Dr. Nantarika Chansue
 
หน่วยศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ Facebook: VMARC
 

ภาคี :

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทีมสัตวแพทย์จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนจัดตั้งโรงพยาบาลเคลื่อนที่สำหรับสัตว์น้ำที่จำเป็นสำหรับการรักษาพยาบาลสัตว์น้ำในภาคสนามอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถพกพาเพื่อออกทำงานนอกสถานที่ได้โดยสะดวก

แผนการดำเนินงาน

  1. จัดซื้อบ่อน้ำและเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับภาคสนาม

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
บ่อน้ำเคลื่อนที่สำหรับใช้งานรักษาสัตว์น้ำ (Sofpool)

1บ่อ250,000.00
เครื่องปั๊มอากาศ/ปั๊มออกซิเจน

1เครื่อง8,000.00
เครื่องปั๊มน้ำ

1เครื่อง12,000.00
เครื่องกรองน้ำ

1เครื่อง15,000.00
หูฟังตรวจโรคสำหรับใช้งานในน้ำ

1อัน15,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด300,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)30,000.00
ยอดระดมทุน
330,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon