cover_1

แหล่งเรียนรู้เด็กข้ามชาติ จ.นครศรีธรรมราช

มูลนิธิรักษ์ไทยมูลนิธิรักษ์ไทย
เด็กและเยาวชน
คนชายขอบ/คนไร้สัญชาติ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ให้กับกลุ่มเด็กข้ามชาติ1กลุ่ม

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

19 พ.ย. 2562 - 31 มี.ค. 2563

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYGOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONREDUCED INEQUALITIESPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

กลุ่มเด็กข้ามชาติ
1กลุ่ม

ทุนเพียง 400 บาทของคุณ สามารถหนุนการศึกษาเด็กพลัดถิ่นให้เติบโตเป็นคนดีของสังคมได้

ปัญหาสังคม

พื้นที่ในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งอาชีพของชุมชนในพื้นที่และแรงงานต่างชาติมาเป็นชาวประมง และใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมง

ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติหลากหลายสัญชาติเดินทางเข้ามาใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ทั้งที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่ขึ้นทะเบียน ยังไม่นับรวมแรงงานจากเรือประมงจังหวัดอื่น ๆ ที่เดินทางนำเรือมาขึ้นปลาที่แพในอำเภอขนอม

จากการสำรวจมูลนิธิรักษ์ไทย พบว่า แรงงานที่ปักหลักสร้างครอบครัวในพื้นที่อำเภอขนอมอยู่อาศัยเป็นครอบครัว มีลูกๆ ทั้งที่มาจากประเทศต้นทางหรือมาเกิดในประเทศไทย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี ไม่ต่ำกว่า 200 คน

เพื่อให้เด็กๆ เหล่านี้เข้าถึงการศึกษาอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กๆ ได้เติบโตเป็นคนดีมีคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว และประเทศตนเองและประเทศไทย มูลนิธิรักษ์ไทยจึงเห็นความจำเป็นที่จะส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กพลัดถิ่น โดยเริ่มดำเนินการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติตามอัธยาศัยมาในปี 2548 ในปีแรกมีเด็กเข้ารับการศึกษาจำนวน 80 คน แต่ปีต่อๆ มา จำนวนเด็กที่เข้ารับการศึกษากลับลดลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันเหลือเด็กที่อยู่ในความดูแล 25 คน เนื่องจากปัญหาค่าแรงของผู้ปกครองค่อนข้างต่ำ ค่าใช้จ่ายในแต่ล่ะเดือนไม่เพียงพอ จึงไม่มีกำลังส่งลูกหลานเรียนหนังสือต่อได้ เป็นสาเหตุให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา เด็กหลายคนต้องกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเร็วกว่าวัยอันควร ขาดการศึกษาที่จำเป็น และการทำงานในสภาพแวดล้อม เช่น แพปลา ไม่ปลอดภัย สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งเด็กที่อยู่ห้องแถวในแพเพียงลำพังมีโอกาสในถูกละเมิดทางเพศหรือถูกทำร้ายได้

ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติตามอัธยาศัย จึงเป็นหนึ่งในพื้นที่ปลอดภัยที่เด็กได้รวมตัวกันทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เสริมศักยภาพ เพิ่มทักษะชีวิตแก่เด็กๆ ให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมของคนพลัดถิ่น หากเมื่อวันหนึ่งเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาในระบบ ก็จะสามารถปรับตัวและสามารถเรียนต่อได้ หรือหากเติบโตในประเทศไทยก็จะมีทักษะชีวิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างประโยชน์ให้สังคมไทยได้

“ทิ้งฝันตัวเอง สานต่อให้น้องทั้ง 2 คน”

น้องยี่สิบ อดีตนักเรียนศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติตามอัธยาศัย จากโครงการฟ้ามิตร 1 (พ.ศ. 2552) น้องยี่สิบเคยวาดฝันไว้ว่า จะตั้งใจเรียนเพื่อให้การศึกษาเป็นบันไดที่ทำให้เขาหลุดพ้นจากการใช้แรงงาน ไม่ต้องถูกใช้แรงงานเหมือนพ่อกับแม่ แต่สุดท้ายความฝันของน้องยี่สิบก็พังลง เพราะพ่อทิ้งไปมีครอบคัวใหม่และแม่ด่วนจากไป น้องยี่สิบจึงกลายเป็นเสาหลักของครอบครัวในวัย 16 ปี ต้องออกจากระบบการศึกษามาทำงานหาเช้ากินค่ำ ดูแลน้องทั้ง 2 คน (สามสิบและน้ำอ้อย) ความฝันที่จะใช้การศึกษาเพื่อหลุดพ้นจากชีวิตแรงงานต้องยุติลง เขาจึงได้ส่งต่อความฝันนั้นให้น้องอีก 2 คน ด้วยการทำงานหาเงินส่งน้องสามสิบและน้ำอ้อยเรียน น้องทั้งสองได้ได้เข้ามาเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติตามอัธยาศัยตามที่พี่ชายหวังไว้ ปัจจุบันน้ำอ้อยได้เข้าศึกษาโรงเรียนในระบบของรัฐจากการช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและน้ำพักน้ำแรงของยี่สิบ

เป้าหมายของเรา

1. เด็กที่ติดตามครอบครัวแรงงานพลัดถิ่นได้เข้าถึงการศึกษาในศูนย์เรียนรู้ทางเลือกในชุมชนใกล้ที่พักแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้เด็กมีความรู้ความสามารถ มีทักษะชีวิตในการปกป้องตนเองไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ ได้เรียนรู้ถึงการเข้าถึงช่องทางการร้องเรียนและได้รับความช่วยเหลือตามกระบวนการยุติธรรม

2. เด็กมีพื้นที่ปลอดภัย มีศูนย์กลางในการมาพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกันอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 

3. เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเป้าหมาย วิถีชีวิต และบริบทของสังคมของชาวเมียนมาร์ได้อย่างยั่งยืน โดยผู้ปกครองเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดและวางแผนหลักสูตรทางเลือก

4. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ท้องถิ่น นายจ้าง ผู้ประกอบการ โรงเรียนในระบบการศึกษาไทยตระหนักถึงความสำคัญและส่งเสริมการดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติอย่างยั่งยืน ลดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

ไม่ว่าเด็กเหล่านี้จะเป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติหรือเด็กไทย น้องๆ เหล่านี้ควรมีสิทธิได้รับการศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพพวกเขาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคม การสนับสนุนจากท่านด้วยเงินเพียง 400 บาท สามารถสานฝันให้น้องๆ ได้ศึกษาเรียนรู้ได้อย่างมาก

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนเพื่อให้เด็กที่ติดตามครอบครัวแรงงานพลัดถิ่นได้เข้าถึงการศึกษาในศูนย์เรียนรู้ทางเลือกในชุมชนใกล้ที่พักแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้เด็กมีความรู้ความสามารถ มีทักษะชีวิตในการปกป้องตนเองไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ ได้เรียนรู้ถึงการเข้าถึงช่องทางการร้องเรียนและได้รับความช่วยเหลือตามกระบวนการยุติธรรม

แผนการดำเนินงาน

  1. ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ตามระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเป้าหมาย วิถีชีวิต และบริบทของสังคมของชาวเมียนมาร์ได้อย่างยั่งยืน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
เงินเดือนครูพม่า

1 คน เดือนละ 5,500 บาท

12เดือน66,000.00
ค่าเช่าสถานที่

เดือนละ 3,000 บาท

12เดือน36,000.00
ค่าน้ำค่าไฟ

เดือนละประมาณ 500 บาท

12เดือน6,000.00
ค่าน้ำดื่มเด็ก

เดือนละ 500 บาท

12เดือน6,000.00
อุปกรณ์เครื่องเขียน (สมุดดินสอปากกา)

500 บาท

12เดือน6,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด120,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)12,000.00
ยอดระดมทุน
132,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิรักษ์ไทย

มูลนิธิรักษ์ไทย

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon