cover_1

กองทุนฟื้นฟูชุมชนท่องเที่ยว

บริษัทโลเคิล อไลค์ จำกัดบริษัทโลเคิล อไลค์ จำกัด
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะค่าพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยว รวมค่าอบรมพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนต้นแบบ5ชุมชน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

4 ก.ย. 2564 - 30 มิ.ย. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ชุมชน
5แห่ง

สนับสนุนการทำงานของ Local Alike ในการพัฒนาสินค้าและบริการให้การท่องเที่ยวชุมชน สามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ในสถานการณ์โควิด

พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ (New normal) และปรับรูปแบบส่งเสริมการตลาดออนไลน์ในการขายสินค้าและบริการให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ง่ายขึ้น โดยมีชุมชนเป้าหมาย จำนวน 5 ชุมชน

ปัญหาสังคม

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากทั้งชาวไทยและต่างชาติ ด้วยเสน่ห์ของวิถีชุมชนทั้งแหล่งท่องเที่ยว อาหารผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ กิจกรรมทีน่าสนใจ และความเป็นกันเองของชุมชน ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวเติบโตสูงขึ้น จนกระทั่งเกิด “สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19” ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนได้ ส่งผลให้ชุมชนท่องเที่ยวทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องขาดรายได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านขายผลิตภัณฑ์ชุมชน รถรับจ้าง และกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันพบว่านักท่องเที่ยวลดลงเกือบ 100% รายได้ลดลง 95% การซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนลดลงถึง 80%

ชุมชนต้นแบบทั้ง 5 แห่ง ที่พร้อมฟื้นฟูการท่องเที่ยวไปด้วยกัน

1. ชุมชนภูหลวง จ.เลย 

“แนวคิดเชิงสร้างสรรค์จากกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ ต่อยอดการสร้างอาชีพและการพึ่งพาตนเอง”

ชุมชนที่มีภูเขารูปทรงแปลกตา “ภูหอ” หรือ “ฟูจิเมืองเลย” กับตำนานเล่าขานของพ่อพญาช้างและนางผมหอมจากภูเขาแห่งนี้ แถมมีทรัพยากรท้องถิ่นอันอุดมสมบูรณ์ สืบสานวัฒนธรรมผ่านปราชญ์ชาวบ้านสู่กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ กลุ่มเล็ก ๆ แต่มีพลังอันยิ่งใหญ่ที่ต้องการให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยังใส่ใจสภาพแวดล้อมในชุมชนผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

2. ชุมชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี

“วิถีมะพร้าวผ่านคนสูงวัย”

ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองพัทยา แต่ยังคงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านศูนย์เรียนรู้บ้านร้อยเสา และวิถีเกษตรอย่างมะพร้าว โดยการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวผ่านกลุ่มคนสูงวัยในชุมชน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาดูงานยอดฮิต กับกิจกรรมหลากหลายทั้งปั่นจักรยานชมสวนมะพร้าว ชิมกาแฟมะพร้าว แกงไก่กะลา และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะพร้าวจากชุมชน

3. ชุมชนจุฬาภรณ์พัฒนา 9 จ.ยะลา

“เสน่ห์ทรัพยากรธรรมชาติและประวัติศาสตร์”

สภาพโดยรอบหมู่บ้านที่เป็นป่าเขาอันอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ติดกับผืนป่าฮาลาบาลา ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเขื่อนบางลาง ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำแห่งแรกของภาคใต้ ที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามมาก จุดเด่นของบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 อีกอย่างคือ มีเส้นทางเดินป่าติดกับชุมชน น้ำตกฮาลาซะห์ น้ำตกขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นชุมชนที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเรื่องเล่าประวัติศาสตราทางการเมืองที่น่าสนใจ

4. ชุมชนบ้านหนองส่าน จ.สกลนคร

“ผ้าย้อมครามสไตล์บ้านหนองส่าน ต่อยอดวิถีอีสาน”

หมู่บ้านท่ามกลางอ้อมกอดแห่งเทือกเขาภูพาน สัมผัสวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายของชาวบ้าน เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์วัฒนธรรม ผ้าย้อมครามที่ออกแบบจากคนรุ่นใหม่ผ่านฝีมือการทักทอจากคนรุ่นเก่า จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ

5. บ้านแหลมโฮมสเตย์ นครศรีธรรมราช

“แหล่งขุมทรัพย์กลางอ่าวทองคำ”

บ้านแหลม...ที่นี่ ‘ไม่มีอะไร’ มีแต่หัวใจที่มีความสุข ชุมชนมุสลิม ที่มีแค่ป่าชายเลนอันเขียวชอุ่ม แหล่งโคลนบริสุทธิ์กลางอ่าวทองคำ อาหารทะเลสด ๆ กับวิถีประมงพื้นบ้าน งานหัตถกรรม แหล่งเครื่องแกงรสเด็ด ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนแห่งนี้

วิธีการแก้ปัญหา

  1. สิ่งที่ชุมชนท่องเที่ยวได้รับกลับไป ชุมชนยังคงมีรายได้จากการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ เกิดการกระจายรายได้ภายในชุมชน การปรับปรุงสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานที่หน่วยงานท่องเที่ยวต่าง ๆ รองรับ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว

  2. ผลลัพธ์ทางสังคม เกิดอะไรบ้าง ฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชน สร้างอาชีพ แก้ไขปัญหาคนว่างงานที่กลับมาบ้านเกิด ลดภาระโลกร้อน เช่น การจัดการขยะ การลดมลพิษอากาศ

แผนการดำเนินงาน

  1. 1) คัดเลือกชุมชนต้นแบบ มีศักยภาพด้านสินค้า บริการท่องเที่ยว และผู้นำชุมชน มีเป้าหมาย แผนงานชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการขาดรายได้ คนว่างงานในชุมชนจากการท่องเที่ยว มีแนวทางในการพัฒนาต่อยอดสินค้าหรือบริการ

  2. ชุมชนต้นแบบ นำเสนอโครงการที่ต้องการพัฒนาต่อยอด เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชน

  3. หาแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการที่และชุมชนตั้งเป้าหมาย

  4. ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยว รวมค่าอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ (ชุมชนละ 1 ผลิตภัณฑ์ หรือ 1 กิจกรรม)

5ชุมชน500,000.00
ค่าปรับปรุงสถานที่ ภูมิทัศน์ ที่พักโฮมสเตย์ (ชุมชนละ 1 สถานที่)

5ชุมชน500,000.00
ค่า PR & Marketing

5ชุมชน250,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด1,250,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)125,000.00
ยอดระดมทุน
1,375,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

บริษัทโลเคิล อไลค์ จำกัด

บริษัทโลเคิล อไลค์ จำกัด

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon