cover_1

ลดน้องเหมียวไร้บ้าน ด้วยการทำหมันแมว

เงินบริจาคของคุณจะนำไปสัญจรทำหมันแมวให้กับวัดและชุมชนต่างๆ100ตัว

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

4 ต.ค. 2556 - 8 เม.ย. 2557

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สัตว์
100ตัว

ดูแลน้องแมวไม่มีเจ้าของให้มีสุขภาพดีและมีความสุข ด้วยการสัญจรทำหมันแมวตามวัดและชุมชนต่างๆ 100 ตัว เพื่อรักษาสุขภาพของแม่แมว ลดโรคติดต่อ และลดการเกิดลูกแมวข้างถนนซึ่งมักจะเจออันตรายจนต้องบาดเจ็บสารพัด หมากัด คนทำร้าย อุบัติเหตุ อย่างที่คนรักแมวเห็นๆกันอยู่จนยากที่จะทำใจรับได้

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

แมวเหมียวสัตว์เลี้ยงตัวน้อยที่เปี่ยมไปด้วยความน่ารักน่าหยิก

หลายคนคงหลงรักกับพฤติกรรมที่ชอบเอาตัวมาคลอเคลีย ร้อง “เหมียว เหมียว” และยังทำตาหวานใส่ เพราะเจ้าเหมียว ต้องการบอกว่า ฉันรักคุณและเจ้าของคุณนะ

เจ้าของบางคนถึงขั้นหยิบคลิปวีิดีโอเพื่อโชว์เพื่อน ๆ ว่า “รู้ไหมเวลาฉันนอนนะ เจ้าเหมียวของฉันมันยังเดินนวยนาดมาซุกตัวเวลาหลับ”

บางคนก็โชว์เทคนิคแมวของนักนวดด้วยการเอาเท้าเล็ก ๆ มาเหยียบเบา ๆ 

พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้คนเลี้ยงแมวหลงรักสัตว์เลี้ยงตัวน้อยจนหักปักหัวปำกันเลยทีเดียว 

แมวที่มีเจ้าของถือเป็นความโชคดี! ที่มีคนดูแลเอาใจใส่ พาไปหาหมอ อาบน้ำ กินอิ่ม นอนหลับ

แต่แมวที่ไร้เจ้าของนี่สิ เราจะช่วยเค้าอย่างไรกันได้

คุณทราบหรือไม่ว่า...

แมวหนึ่งตัวมีอายุเฉลี่ย 15 ปี เริ่มมีลูกได้ตั้ง 1 ปี ในแต่ละปีมีลูกได้ 2-3 ครอก ในแต่ละครอกสามารถออกลูกได้ครั้งละ 2-8 ตัว

หากคิดคร่าว ๆ แมวหนึ่งตัวจะมีลูกได้ถึง 100 ตัวทีเดียว

แถมแมวไร้บ้าน ยังต้องเสี่ยงกันอันตรายภายนอก อาทิ ถูกรถชนตายตั้งแต่เล็ก...ถูกสัตว์ที่ใหญ่กว่ากัด...ถูกทำทารุณจากคนทำร้าย....

ดังนั้นมาร่วมกันหยุดวงจรแมวจรจัดที่น่าสงสารกันเถอะด้วยโครงการสัญจรทำหมันให้แมว

แม้บางคนมองว่าการทำหมันสัตว์คือการสร้างความเจ็บปวดแมว แต่ความจริงแล้วคือการช่วยลดวงจรความเจ็บปวดของแมวไร้บ้านต่างหาก 

"ป้ารักษ์" วชิรา ทวีสุขสกุล ที่พบแมวประสบอุบัติเหตุ จึงระดมทุนเงินเพื่อช่วยค่ารักษาให้น้องแมว แต่ก็ไม่สามารถช่วยได้ทัน ทำให้แมวตัวนั้นต้องจบชีวิตลง จากเงินระดมทุนครั้งแรกกลายเป็นเงินทุนในการช่วยเหลือแมวใน “โครงการรักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวจร” ในเวลาต่อมา

“โครงการรักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวจร” นอกจากการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลให้กับน้องแมว การหาบ้านให้กับน้องแมว ที่ทำกันเป็นประจำแล้ว อีกกิจกรรมหนึ่งที่โครงการรักษ์แมวฯ จัดกิจกรรมขึ้นทุกเดือน คือการทำหมันสัญจรตามสถานที่ต่างๆ การลงพื้นที่แต่ละครั้งก็มีจำนวนน้องแมวรอการทำหมันเป็นจำนวนมาก บางครั้งใช้เวลาจนมืดค่ำ หลายๆ ครั้ง อาสาสมัครไม่เพียงพอ "เพื่อนๆ ท่านใดอยากจะลองทำงานอาสาสมัครกับพวกเรา พวกเรายินดีต้อนรับนะคะ อาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ก็สุขใจเวลาที่เห็นน้องแมวมีชีวิตที่ดีขึ้น หรือคุณสามารถมาสมทบทุนในโครงการสัญจรทำหมันให้แมวกับโครงการเทใจดอทคอม พวกเรารอเพื่อนๆ อยู่ค่ะ"

จากกิจกรรมการทำหมันสัญจรที่ผ่านมาจำนวน 31 ครั้ง การทำหมันจึงถือเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและแมวของคุณก็จะมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงขึ้น ลดปัญหาการเพิ่มจำนวนแมวจรจัดเนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ได้ปีละหลายๆ ครั้ง ครั้งละหลายๆ ตัว ตัดปัญหาโรคติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมการผสมพันธุ์กับแมวนอกบ้าน 

ประโยชน์ของโครงการ :

  1. ทำหมันแมวจำนวน 100 ตัว และสามารถลดแมวจรจัดได้ถึง 10,000 ตัว
  2. ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้น้องแมววัด และคนที่ถูกแมวกัด
  3. สร้างความมีน้ำใจแก่สังคม ให้คนกล้าที่จะช่วยเหลือแมวจรมากขึ้น เมื่อท่านใดพบเจอแมวเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุก็สามารถขอให้ทางโครงการรักษ์แมวฯ ช่วยเหลือในเรื่องของค่ารักษาได้

การเตรียมแมวก่อนเข้ารับการทำหมัน

  1. แมวควรมีอายุ 5 เดือนขึ้นไป น้ำหนักตัวประมาณ 2 กิโลกรัมขึ้นไป
  2. แมวของท่านต้องมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ไม่ป่วย
  3. แมวเพศเมียต้องไม่ท้องหรือได้รับการผสมพันธุ์มาภายในเวลา 2 สัปดาห์
  4. แมวต้องอดน้ำและอาหารมาก่อนอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง

ข้อดีในการทำหมันสำหรับแมวตัวผู้

  1. การทำหมันจะช่วยลดความเสี่ยงจากการทำงานบกพร่องของต่อมลูกหมากเมื่อมีอายุมากขึ้น
  2. ลดอาการก้าวร้าวและทำให้ไปกัดกับแมวตัวผู้ตัวอื่นน้อยลง
  3. การทำหมันช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้ออันตรายที่มีน้ำลายเป็นพาหะจากแมวตัวหนึ่งไปสู่แมวอีกตัว
  4. ช่วยลดสัญชาตญาณของเพศผู้ที่จะขับปัสสาวะเพื่อกำหนดอาณาเขต ซึ่งช่วยลดกลิ่นฉุนรุนแรงของปัสสาวะแมวได้

ข้อดีในการทำหมันสำหรับแมวตัวเมีย

  1. หากไม่ได้รับการผสมพันธุ์ ฮอร์โมนเพศจะกระตุ้นให้เกิดอาการมดลูกอักเสบ และเมื่อแมวอายุมากขึ้น อาจป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้
  2. แมวที่ทำหมันจะมีอายุยืนกว่าตัวที่ไม่ได้ทำหมัน
  3. ป้องกันการติดเชื้อหรือมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธุ์และไม่ทำให้ตัวเมียเกิดภาวะเป็นสัดอีกต่อไป

สมาชิกภายในทีม :

คุณวชิรา ทวีกุลสุข ประธานโครงการ
Facebook : catroompantip
Website : www.rakmaw.com

ตารางแสดงจำนวนแมวและสุนัขที่เข้าร่วมโครงการ “ทำหมันแมวกับโครงการรักษ์แมวฯ”

ครั้งที่ สถานที่ จำนวนแมวเพศผู้

จำนวนแมวเพศเมีย

จำนวนสุนัขเพศผู้ จำนวนสุนัขเพศเมีย
1 พระรามเก้า 25 48 - -
2 วัดบริเวณรามคำแหง 51 88 8 17
3 วัดบริเวณรามคำแหง 31 59 - -
4 โรงเรียนแถวบางพลัด 15 45 - -
5 วัดที่จ.นครสวรรค์ 4 18 - -
6 วัดบริเวณรามคำแหง 27 49 - -
7 วัดบริเวณหลักสี่ 36 50 - 3
8 วัดบริเวณบางมด 28 45 3 -
9 ตลาดเก้าห้องจ.สุพรรณบุรี 25 32 3 3
10 วัดที่ จ.ปทุมธานี 20 28 - 2
11 วัดบริเวณจรัญสนิทวงศ์ 19 55 3 -
12 วัดบริเวณบางมด 27 43 - 4
13 วัดบริเวณตลาดพลู 22 44 - 1
14 บ้านครูเชา จ.บุรีรัมย์ 39 30 7 -
15 ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 38 35 - -
16 โรงเรียนบริเวณจรัญสนิทวงศ์ 30 25 - -
17 วัดบริเวณคู้บอน 14 31 3 3
18 วัดบริเวณร่มเกล้า 27 38 - 7
19 วัดบริเวณบางพลัด 26 39 - 2
20 วัดบริเวณหลักสี่ 35 64 - 7
21 วัดบริเวณสี่แยกบ้านแขก 27 47 - 1
22 วัด จ.นนทบุรี 53 73 6 9
23 วัด จ.ลพบุรี 12 34 1 -
24 วัดบริเวณปิ่นเกล้า 64 70 - -
25 หมู่บ้านบริเวณบางพลี 25 43 1 3
26 หมู้บ้าน จ.นนทบุรี 26 64 1 -
27 โรงเรียนบริเวณจรัญสนิทวงศ์ 40 67 - 4
28 ลำลูกกา คลองสี่ 28 42 11 4
29 โรงเรียนบริเวณบางพลัด 34 74 1 10
30 บ้านคลองมะเดื่อ จ.สมุทรสาคร 15 45 - 2
31 วัดบริเวณจรัญสนิทวงศ์ 31 74 - 2
  รวม 818 1,363 40 67

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนเพื่อสัญจรทำหมันแมว ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการเพิ่มจำนวนแมวจรจัดได้อย่างตรงจุด แมวจะมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงขึ้น ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับแมวและคนที่ถูกแมวกัด

แผนการดำเนินงาน

  1. ดำเนินการทำหมันสัญจร ซึ่งเป็นกิจกรรมของโครงการรักษ์แมวฯ ไม่ว่าจะเป็นแมวจรหรือแมวมีเจ้าของก็สามารถพามาทำหมันกับทางโครงการฯได้

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าแพทย์และค่าผู้ช่วย

2คน5,000.00
ค่าเวชภัณฑ์ต่างๆ

1ชุด15,000.00
ค่าวัคซีนพิษสุนัขบ้า

1ชุด2,000.00
อื่นๆ

ทีมแพทย์เสริมและค่าเวชภัณฑ์ที่คุณหมอและนิสิตนักศึกษาปี 5 ปี 6 เตรียมมา

1ชุด8,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด30,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)3,000.00
ยอดระดมทุน
33,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

จากที่เป็นเพียงบัญชีรักษาแมวป่วยของคุณวชิรา จึงกลายเป็นโครงการ “ รักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวจร” ในปี พ.ศ 2549 ซึ่งได้เริ่มกิจกรรมหาบ้านให้แมว โดยเริ่มจากการโพสต์หาบ้านในเวบต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถหาบ้านได้ตามต้องการ จึงมีแนวคิดว่า ถ้าหากว่าผู้ที่สนใจจะรับเลี้ยงได้มีโอกาสเจอน้องแมวหาบ้านโดยตรง โอกาสในการหาบ้านจะมีเพิ่มมากขึ้น โดยในครั้งแรกนั้นคุณวชิรานำทีมพาน้องแมวไปหาบ้านที่ใต้สะพานลอยหน้าตึกเมืองไทยภัทร ในช่วงแรกประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี แมวไปหาบ้าน10 ตัว ได้บ้านทั้งหมด 10 ตัว ซึ่งได้จัดกิจกรรมบ่อยครั้งขึ้น และมีเพื่อน ๆ ที่สนใจจะพาแมวไปหาบ้านร่วมกันมากขึ้น ประกอบกับการหาบ้าน ณ จุดเดิม ซึ่งเป็นออฟฟิศทำงานเป็นส่วนใหญ่ ท้ายสุดก็ถึงทางตันคือพาน้องแมวไปหาบ้านหลายสิบตัว แต่ต้องแมวได้บ้าน 1-2 ตัว หรือบางครั้งไปแล้วไม่ได้บ้านเลย จึงได้ขยับขยายมาที่จตุจักร โดยมีคุณแพทช่วยประสานงานให้ ทำให้ได้พื้นที่หน้าร้านขายเครื่องหนัง และขยับขยายไปถึงบริเวณทางขึ้น-ลง รฟม. สถานีกำแพงเพชร (ประตู 2) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ จุดนี้เป็นน้องแมวหาบ้านได้บ้านหลายร้อยตัว จนกระทั่งท้ายที่สุด พื้นที่บริเวณนั้น ปรับปรุงให้เป็นพื้นที่โล่ง โดยไม่อนุญาตให้จัดกิจกรรมใด ๆ ณ พื้นที่นี้อีกเลย จากโครงการรักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวจรในวันนั้น มาจนถึงปัจจุบันได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิรักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวในปี 2560 วัตถุประสงค์หลัก ๆ ของมูลนิธิ คือ 1. สนับสนุนการรักษาพยาบาลแมวจรจัดที่เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ โดยเฉลี่ยจะมีเคสที่ขอเข้ามา 3-4 เคสต่อวัน เฉลี่ย 100 เคสต่อเดือน ค่ารักษาบางเคสหลายหมื่นบาท 2. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีผู้รับอุปการะแมวจรจัด ซึ่ง ณ ปัจจุบัน การจัดงานแมวหาบ้านยังจัดได้น้อย บางปีจะมีโอกาสให้แมวได้หาบ้าน 2-3 ครั้งต่อปี 3. ส่งเสริมสนับสนุนภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการปกป้องการขยายพันธุ์ของแมวจรจัด กิจกรรมทำหมันสัญจร จะจัดกิจกรรมในวันเสาร์และอาทิตย์ ตามวัด ชุมชน หรือตามแต่ที่ผู้ร้องขอจะจัดหาสถานที่ให้

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon