cover_1

สร้างอาชีพ เพื่อเด็กๆ ขาดโอกาสในชุมชนคลองเตย 40 คน

มูลนิธิร่มไม้มูลนิธิร่มไม้
เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนค่าจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ ขาดโอกาสในชุมชนคลองเตย40คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

15 มี.ค. 2564 - 30 เม.ย. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ชุมชนคลองเตย แขวงคลองเตย เขตคลองเตย จ.กรุงเทพมหานคร 10110

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYQUALITY EDUCATIONDECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
40คน

ฝึกทักษะการทำงานที่จำเป็นและสร้างรายได้ให้แก่เด็กเยาวชนชุมชนคลองเตย 40 คน

เช่น การขายเสื้อผ้ามือสอง และเพนท์เล็บเจล เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตให้เด็กเยาวชนคลองเตย

ปัญหาสังคม

คลองเตย เป็นชุมชนแออัดที่มีขนาดใหญ่ในประเทศไทย มีประชากรมากกว่าหนึ่งแสนคน จากการนำเสนอของสื่อต่างๆ จะเห็นได้ว่าชุมชนคลองเตยมีปัญหาที่ทับซ้อนมากมาย เช่น ปัญหาเรื่องของที่อยู่อาศัย ความรุนแรง ยาเสพติด ปัญหาทางด้านการศึกษา หรือเศรษฐกิจในครัวเรือน เป็นต้น

ชุมชนโรงหมู ชุมชนบ้านมั่นคง ชุมชนแฟลต 23-24-25 และชุมชนริมคลองวัดสะพานนี้ คือ 4 ชุมชนจาก 46 ชุมชนในเขตคลองเตย ที่กลุ่มอาสาสมัครคลองเตยดีจังทำงานมานานกว่า 9 ปี โดยการใช้ดนตรีและศิลปะ พัฒนาเด็กเยาวชน จึงได้เห็นปัญหาต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการศึกษา และฐานะทางครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กัน

  

“วันนี้ให้น้องหยุดเรียน เพราะป้าไม่มีเงินค่าขนมให้น้อง” 

หนึ่งในบทสนทนาของกลุ่มคลองเตยดีจัง กับผู้ปกครองของเด็กชุมชนริมคลองวัดสะพาน จากการลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนในชุมชนคลองเตย 4 ชุมชน มีเด็กเยาวชนในชุมชนจำนวน 1,207 คน จากประชากรทั้งหมด 5,013 คน พบว่า

มีเด็กมากกว่า 40 คนที่ออกจากระบบการศึกษาเรียบร้อยแล้ว และอีก 190 คนที่กำลังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงทางการศึกษา เพราะฐานะทางครอบครัวที่ยากจน

ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพหาเช้ากินค่ำ และอีกหลายคนตกงาน แถมหนี้สิน-รายวันก็มาทุกวัน นี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้การศึกษาถูกมองว่าเป็นเรื่องเสียเวลา การออกจากระบบการศึกษาเพื่อหวังทำงานแบ่งเบาภาระครอบครัวจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ด้วยเศรษฐกิจที่กำลังทรุดหนักแบบนี้ ประกอบกับความรู้และไม่มีทักษะเฉพาะติดตัวมากนัก การหารายได้จึงเป็นไปได้ยาก

คลองเตยดีจัง จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมให้เด็กได้พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร การบริหารเวลา ควบคู่กับ Hard skill ที่เป็นทักษะความรู้ทางวิชาชีพพร้อมกับสร้างรายได้ให้กับเด็กเยาวชนทั้ง 4 ชุมชน โดยได้เริ่มออกแบบกิจกรรมหลักสูตรที่คาดว่าจะเป็นไปได้ ได้แก่ การขายเสื้อผ้ามือสอง และเพนท์เล็บเจล โครงการหวังว่า เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมจะมีโอกาสสร้างรายได้ให้กับตนเอง แบ่งเบาภาระครอบครัวในเบื้องต้นลงได้ และสามารถต่อยอดเป็นอาชีพให้แก่เด็กเยาวชนได้ในอนาคต

 

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

กลุ่ม Music sharing เกิดจากกลุ่มอาสาสมัครนักดนตรีที่รวมตัวกัน โดยเริ่มจากการเปิดขอรับบริจาคเครื่องดนตรีและสอนดนตรีให้กับเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส เช่น เด็กเยาวชนในพื้นที่ชายแดน เด็กชาติพันธุ์ เด็กในพื้นที่สลัมอื่น ๆ

ปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินการหลักอยู่ในชุมชนคลองเตย จึงใช้ชื่อโครงการว่า “คลองเตยดีจัง” โดยใช้กระบวนการทางด้านดนตรีและศิลปะในการพัฒนาเด็กและเยาวชน มาเป็นเวลากว่า 8 ปี ซึ่งทำงานกับเด็กและเยาวชนหลากหลายวัยจะมีการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัยและลักษณะเด็กในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย และการทำงานกับเด็ก เยาวชน 7 ปีที่ผ่านมา มีเด็กในชุมชนที่สามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นครูอาสาสมัตรสอนดนตรีได้ 4-5 คน

ในส่วนเครือข่ายการทำงานจะมีการทำงานร่วมกับกรรมการชุมชน แกนนำตามธรรมชาติในชุมชน เชื่อมประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

วิธีการแก้ปัญหา

  1. จัดกิจกรรมให้เด็กได้พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร การบริหารเวลา ควบคู่กับ Hard skill ที่เป็นทักษะความรู้ทางวิชาชีพพร้อมกับสร้างรายได้ให้กับเด็กเยาวชนทั้ง 4 ชุมชน

  2. ออกแบบกิจกรรมหลักสูตรที่คาดว่าจะเป็นไปได้ ได้แก่ การขายเสื้อผ้ามือสอง และเพนท์เล็บเจล

แผนการดำเนินงาน

  1. วางแผนหลักสูตร

  2. เปิดรับสมัครเด็กเข้าร่วมโครงการ โดยดำเนินการดังนี้ 1) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางโทรศัพท์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย 2) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านเสียงตามสายแต่ละชุมชน 3) ติดต่อแกนนำธรรมชาติ(คนในชุมชนที่เป็นที่เคารพ นับถือ) เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ 4) ติดโปสเตอร์เปิดรับสมัครตามร้านค้าชุมชน 5) แจกใบปลิวประชาสัมพันธ์กิจกรรมตามบ้าน

  3. ประชาสัมพันธ์ผ่านเพจ Facebook เพื่อรับบริจาคเสื้อผ้า และระดมทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับ Workshop

  4. ประชุมและแนะนำแนวทางการศึกษาให้กับเด็กที่เข้าร่วมโครงการ

  5. ทำระบบคัดแยกเสื้อผ้า โดยให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการมาเรียนรู้ และคัดแยกร่วมกัน

  6. จัดกิจกรรม workshop ตามหลักสูตรที่วางไว้ ดังนี้ 1) เรียนและฝึกทักษะการขายเสื้อผ้ามือสอง และการทำเล็บเจล 4 ครั้ง โดยเรียนเรื่องการขายออนไลน์ การวางแผนระบบการเงิน การวิเคราะห์ต้นทุนที่เหมาะสม การทำแผนการตลาด การผลิตสื่อและการหากลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ 2) ลงพื้นที่ตลาดเพื่อทดลองขาย 4 ครั้ง

  7. สรุปผลการดำเนินโครงการ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่า Art work เพื่อประชาสัมพันธ์

1ครั้ง3,000.00
ค่ารถขนของสำหรับ workshop ขายเสื้อผ้ามือสอง วันละ 1,500 บาท

4ครั้ง6,000.00
ค่าอาหารและอาหารว่าง ระหว่างการ workshop ขายของออนไลน์ 8 ครั้ง วันละ 100 บาท

20ครั้ง16,000.00
ค่าเดินทางทีม Staff วัน workshop ขายของออนไลน์ ครั้งละ 500 บาท 5 คน

4ครั้ง10,000.00
ค่าตอบแทนวิทยากรด้านการขาย ครั้งละ 2,000 บาท

4ครั้ง8,000.00
ค่าเดินทางของเยาวชนที่เข้าร่วม workshop ขายของออนไลน์ วันละ 200 บาท จำนวน 20 คน

4ครั้ง16,000.00
ค่าอุปกรณ์การทำเล็บ ชุดละ 1,500 บาท

20ชุด30,000.00
ค่ารถขนอุปกรณ์สำหรับ workshop การทำเล็บเจล วันละ 1,500 บาท

4ครั้ง6,000.00
ค่าตอบแทนวิทยากร workshop การทำเล็บเจล ครั้งละ 2,000 บาท

4ครั้ง8,000.00
ค่าอาหารและอาหารว่าง ระหว่างการ workshop การทำเล็บเจล 8 ครั้ง วันละ 100 บาท

4ครั้ง16,000.00
ค่าเดินทางทีมStaff วัน workshop การทำเล็บเจล ครั้งละ 500 บาท 5 คน

4ครั้ง10,000.00
ค่าเดินทางของเยาวชนที่เข้าร่วม workshop การทำเล็บเจล วันละ 200 บาท จำนวน 20 คน

4ครั้ง16,000.00
ค่าเดินทางของเยาวชนที่เข้าร่วม workshop การขาย ที่ตลาด วันละ 200 บ. จำนวน 40 คน

4ครั้ง32,000.00
ค่าเดินทางStaff workshop การขาย ที่ตลาด วันละ 500 บ. จำนวน 5 คน

4ครั้ง10,000.00
ค่าInternet ครั้งละ 200 บาท จำนวน 20 คน

4ครั้ง16,000.00
บริหารจัดการ การประสานงานของทีมงาน เดือนละ 5,000 บาท

3เดือน15,000.00
ค่าวัสดุ อุปกรณ์

1ชุด10,000.00
ประชุมทีมงาน ครั้งละ 3,000 บาท

4ครั้ง12,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด240,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)24,000.00
ยอดระดมทุน
264,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิร่มไม้

มูลนิธิร่มไม้

ตาก

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon