cover_1

คลองเตยดีจัง ปันกันอิ่มเพื่อน้องๆ ชุมชนคลองเตย ในช่วงการระบาดโควิดระลอกใหม่

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะอาหาร 1 มื้อให้กับชุมชนคลองเตย1ชุมชน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
28 ส.ค. 2564

อัปเดตโครงการ36 ชุมชน ได้รับความช่วยเหลือจากระบบครัวกลาง ในช่วงวิกฤติโควิด19

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

28 ส.ค. 2564 - 28 ส.ค. 2564

การปรับแผนจากคูปองปันกันอิ่ม เป็นถุงยังชีพเด็กและครัวกลาง เนื่องจากชุมชนมีผู้ติดเชื้อรุนแรงและเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ประชากรในชุมชนทั้งหมดเป็นกลุ่มเสี่ยง 100% ดังนั้นทีมงานจึงเห็นว่าความจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบทุกบ้านไม่ใช่แค่บ้านที่ติดโควิด และเนื่องจากตลาดคลองเตยปิดทำให้ร้านค้าหลายร้านไม่สามารถหาซื้อวัตถุดิบได้จึงต้องปิดร้านไปด้วย ดังนั้นแผนการแจกคูปองจึงปรับมาเป็นครัวกลางในบางชุมชนและแจกถุงสำหรับสำหรับเด็กเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

ระบบครัวกลาง

การทำครัวกลางขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละชุมชน ซึ่งจะมีการปรับให้เป็นการแจกคูปองต่อวัน เพื่อทำระบบฐานข้อมูลไปพร้อมกัน โดยจะมีการทำอาหารส่งให้ผู้กักตัว 3 มื้อ เช้า กลางวัน และเย็น

โดยทีมงานของชุมชนจะเป็นคนเดินส่งให้ที่ห้องส่วนกรณีที่ไม่มีผู้ติดเชื้อจะแจกคูปองเพื่อให้คนมารับบริเวณตรงจุดแจกอาหาร

รายชื่อชุมชนที่ให้การสนับสนุนครัวกลาง

รายชื่อชุมชนที่ให้การสนับสนุนครัวกลาง และถุงยังชีพสำหรับเด็ก

 ถุงยังชีพสำหรับเด็กประกอบไปด้วยชุดของเล่นเสริมพัฒนาการ นมและขนมตามช่วงวัย ซึ่งมีเด็กที่ได้รับการสนับสนุนถุงยังชีพรวมทั้งหมด 36 ชุมชน 1,344 คน โดยแบ่งเป็นช่วงอายุ 0-6 ปี 923 คน และช่วงอายุ 7-12 ปี 425 คน ดังนี้

สัมภาษณ์ความประทับใจจากคนในชุมชนที่ได้รับความช่วยเหลือ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

8 มิ.ย. 2564

อัปเดตโครงการการปรับแผนจากคูปองปันกันอิ่ม เป็นถุงยังชีพเด็กและครัวกลาง

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

8 มิ.ย. 2564 - 8 มิ.ย. 2564

จากสถานการณ์เด็กในชุมชน ทำให้โครงการฯ ต้องดำเนินการปรับแผนเป็นถุงยังชีพเด็ก และครัวกลาง จากการช่วยเหลือในชุมชน โครงการฯ ได้ปรับช่วงอายุของการช่วยเหลือ และขยายชุมชนจากเดิม 4 ชุมชน กลายเป็น 9 ชุมชน เนื่องจาก หลายชุมชนที่มีการติดเชื้อรุนแรง และมีจำนวนมาก เช่น ชุมชนพัฒนาใหม่มีการติดเชื้อ 134 คน เป็นต้น ทีมงานจึงเห็นว่า มีความจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

 

ส่วนการแจกคูปอง อันเนื่องจากตลาดคลองเตยปิด ทำให้ร้านค้าหลายร้านไม่สามารถหาซื้อวัตถุดิบได้ จึงต้องปิดร้านไปด้วย ดังนั้นต้องปรับเป็นรูปแบบครัวกลางในบางชุมชน เพื่อช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีในเบื้องต้น และเมื่อสถานการณ์กลับเป็นปกติ อาจให้กลับมาเริ่มใช้ระบบคูปองอีกครั้ง

ระบบครัวกลาง

  • การทำครัวกลางขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละชุมชน ซึ่งจะมีการปรับให้เป็นการแจกคูปองต่อวัน เพื่อทำระบบฐานข้อมูลไปพร้อมกัน
  • จะมีการทำอาหารส่งให้ผู้กักตัว 3 มื้อ เช้า กลางวัน และเย็น โดยทีมงานของชุมชนจะเป็นคนเดินส่งให้ที่ห้อง
  • กรณีที่ไม่มีผู้ติดเชื้อ จะแจกคูปอง เพื่อให้คนที่มารับ

จากปัญหาการระบาดอย่างต่อเนื่องในชุมชน ทำให้ประชาชนลายคนตกงาน เพราะอยู่ในเขตคลองเตย ส่งผลให้พ่อแม่เด็กไม่มีเงินซื้อนม แพมเพิส และของใช้อื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ต้องทานนม เนื่องจากแม่ไม่มีน้ำนม และราคานมค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นทางคลองเตยดีจัง จึงต้องสนับสนุนการช่วยเหลือเด็กอายุ 0-12 ปี และมีรายการขอรับบริจาค ดังนี้

รายการนมเด็กที่ต้องการขอรับการสนับสนุน

  1. นม S26 สูตร 1, 2, 3 จำนวน 10 กล่อง
  2. นมแลคโตเย่น สูตร 1, 2 จำนวน 10 กล่อง
  3. นมผง Hi Q จำนวน 20 กล่อง
  4. เอนฟาแล็ค สูตร 1 2 3 จำนวน 10 กล่อง
  5. ดูแลค สูตร3 1 2 3 จำนวน 10 กล่อง
  6. ดูโกร สูตร3 1 2 3 จำนวน 10 กล่อง
  7. นมไทยเดนมาร์ค จำนวน 300 แพ็ค
  8. นม UHT Hi-Q จำนวน 300 แพ็ค
  9. นมโฟร์โมสต์ โอเมก้า จำนวน 300 แพ็ค

รายการของใช้จำเป็นของเด็ก

  1. แป้งเด็ก จำนวน 1,000 ขวด
  2. สบู่เด็ก จำนวน 1,000 ชิ้น
  3. ผ้าอ้อม สำหรับเด็กเล็ก จำนวน 100 ผืน
  4. แพมเพิส XL, XXL,3XL จำนวน 100 ถุง

รายการของเล่นและสื่อการเรียนการสอน

  1. บล็อกไม้ เลโก้
  2. สมุดวาดรูประบายสี
  3. เครื่องเขียน กล่องดินสอ
  4. ของเล่นเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย
5 พ.ค. 2564

อัปเดตโครงการเพิ่มจำนวนผู้รับคูปองอาหารจาก 1,267 คนเป็น 2,686 คน

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

5 พ.ค. 2564 - 5 พ.ค. 2564

เนื่องจากชุมชนพัฒนาใหม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นกว่า 100 คน 

ทำให้ปัจจุบันนับว่าประชากรในชุมชนทั้งหมดเป็นกลุ่มเสี่ยง 100% คือ จำเป็นต้องช่วยเหลือทุกบ้าน ไม่ใช่แค่บ้านที่ติดโควิด

การช่วยเหลือประกอบด้วย 

1. แจกถุงยังชีพ (ใหญ่ๆ) + เซ็ตป้องกันตัวเอง

2. เอาไปพร้อมกับให้กรอกข้อมูล โดยแจกตามบ้าน

3. แจกคูปอง ตามจำนวนคนที่อยู่ในบ้าน และตามรายชื่อ

4. สำราจร้านค้าในชุมชนเพื่อเข้าโครงการ

5. ทำแผนที่ชุมชน

6. ทำระบบฐานข้อมูล (จ้างอาสา ในชุมชนมาทำงานเก็บข้อมูลและแจกถุงยังชีพ 30 คน ให้วันละ 400 บาท) 


* บ้านไหนโดนกักตัว บ้านข้างๆ จะต้องไปช่วยซื้อข้าวให้

โดยมีจำนวนหลังคาเรือน 454 หลังคาเรือน นับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นได้ 1,469 คน