cover_1

ศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด ในชุมชนคลองเตยระหว่างรอส่งตัว

ผู้ป่วย ผู้พิการ

เงินบริจาคของคุณจะพื้นที่พักคอย ก่อนส่งตัวไปที่โรงพยาบาลให้กับผู้ป่วย100คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
28 ส.ค. 2564

อัปเดตโครงการสรุปกระบวนการทำงานศูนย์พักคอยในชุมชนคลองเตย

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

28 ส.ค. 2564 - 28 ส.ค. 2564

การดำเนินงานของโครงการ ได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบเป็น 3 ส่วน และมีผลการดำเนินการ ดังนี้

  1. การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง ทำงานในส่วนของ 1) ระบบฐานข้อมูล 2) การส่งต่อกรณีเร่งด่วน
  2. "ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) วัดสะพานรับผิดชอบโดยคณะสงฆ์วัดสะพานและคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชน ทำงานในส่วน 1) ระบบการส่งตัวผู้ป่วยจากชุมชนมาที่วัดสะพาน 2) ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อในวัด 3) ระบบการส่งต่อผู้ติดเชื้อจากศูนย์พักคอยไปโรงพยาบาลสนาม
  3. ความช่วยเหลือเรื่องอาหาร รับผิดชอบโดยวัดสะพาน คลองเตยดีจัง และมูลนิธิดวงประทีป โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร ถุงยังชีพ และอื่น ๆ ให้กับชุมชน

 

ตารางแสดงผลการดำเนินการ

 

สัมภาษณ์ความประทับใจจากจิตอาสา และผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ สามารถแบ่งตามบทบาทหน้าที่งานที่รับผิดชอบ 3 ส่วน ดังนี้

1. การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง

1.1 ระบบฐานข้อมูล

1) Case manager คือ ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง มีบทบาทหน้าที่ดังนี้ 1) ดูแลภาพรวมของพื้นที่ รับผิดชอบ โดยการทำความเข้าใจธรรมชาติ เงื่อนไข ข้อจำกัดของชุมชนที่ดูแล และมองให้เห็นภาพรวมความวิกฤตของชุมชนและรายเคสว่าเรื่องไหนควรคุยกับใครในชุมชน 2) ติดตามดูแล ให้ความช่วยเหลือ case worker ในทีม เพื่อให้การทำงานราบรื่น และช่วยประสานความช่วยเหลือเร่งด่วน/ฉุกเฉิน 3) จัดการข้อมูลรายชื่อทั้งหมดในชุมชน และส่งต่อ/อัพเดทข้อมูลความช่วยเหลือมาที่ data center

2) case worker คือ ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงรายคน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1) สร้างความสัมพันธ์ ความช่วยเหลือ และติดตามผลผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงเป็นรายคน เพื่อทำงานเชิงรุก 2) ระบุกลุ่มเสี่ยง ประสานความช่วยเหลือ และจำกัดวงของการแพร่เชื้อ

3) สายด่วนโควิดคลองเตย คือ เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินสำหรับให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเบื้องต้น เช่น ตอบคำถามเรื่องการตรวจคัดกรอง การฉีดวัคซีน การประเมินอาการเจ็บป่วย การหาเตียงโรงพยาบาล รวมถึงความช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น คนในบ้านเจ็บป่วยหายใจไม่ออก

4) Data Center คือ ระบบฐานข้อมูลกลางสถานะและจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1) ติดตามและรับข้อมูลรายชื่อผู้ติดเชื้อจากผลตรวจเชิงรุกจากรถพระราชทาน สายด่วนคลองเตย (Hotline คลองเตย) ระบบติดตามผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง (Case Manager) 2) แยกรายชื่อแต่ละชุมชนเพื่อเช็คกับฐานข้อมูลเดิมว่ามีชื่อซ้ำหรือไม่ และอัปเดตรายชื่อผู้ติดเชื้อขึ้นฐานข้อมูลกลางเพื่อให้ทีมติดตาม (Case Manager) ของแต่ละชุมชนประสานงานต่อไป 3) ติดตามดูแล และให้ความช่วยเหลือ case manager เพื่อให้งานราบรื่น และช่วยประสานความช่วยเหลือเร่งด่วน/ฉุกเฉิน 4) ประสานงานกับทีมกลางและเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือกรณีเร่งด่วน/ฉุกเฉิน

การทำข้อมูลและการติดตามผู้ติดเชื้อรายชุมชน ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2564 รับผิดชอบโดย คลองเตยดีจัง


1.2 การส่งต่อกรณีเร่งด่วน

การส่งต่อกรณีเร่งด่วนเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการหนัก เช่น หายใจ ไม่ออกค่าออกซิเจนต่ำ ฯ ให้ได้รับความช่วยเหลือเร็วที่สุด เช่น การจัดหาเตียงในโรงพยาบาลสนาม ซึ่งตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการส่งต่อความช่วยเหลือเตียงสนามรวม 73 คน ดังนี้

2. ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) วัดสะพาน รับผิดชอบโดย คณะสงฆ์วัดสะพานและคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชน

 ศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด 19 ในชุมชนระหว่างรอส่งตัว มีคณะกรรมการต่อต้านโควิดชุมชนคลองเตยเป็นคณะผู้ดูแลในภาพรวม โดยมีท่านเจ้าอาวาสวัดสะพานพระพิศาลธรรมานุสิฐ (สมบูรณ์ กุลวฑฺฒโน) เป็นประธานและมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชนในชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ ศบส.41 สำนักงานเขต 10 เขต ตัวแทนจาก พม. และหน่วยสนับสนุนจากภายนอก ซึ่งมีตัวแทนของกลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักในการประสานกับหน่วยงานด้านการสาธารณสุขต่างๆ กับทาง สปคม. กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนักอนามัยของ กทม. และอื่น ๆ

โครงสร้างบทบาทหน้าที่ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว

ในส่วนของหน่วยปฏิบัติการมีอยู่สองส่วน คือ 1) ศูนย์ข้อมูลและประสานงานที่มีมูลนิธิดวงประทีปและทีมคลองเตยดีจังเป็นผู้ดำเนินการหลัก และ2) ศูนย์พักคอยในชุมชนมีพระครูพิพิธวรกิจจานุการ (มานิตย์ เขมคุตฺโต) วัดสะพานเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ซึ่งศูนย์พักคอยนี้กำหนดชื่อทางการว่า "ศูนย์พักคอยในชุมชนระหว่างรอส่งตัว" (Community Waiting Area: CWA) เปิดรับผู้ป่วยชุดแรกเข้าพักตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 โดยมีจำนวนผู้เข้ามาใช้ศูนย์พักคอยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2564 รวมทั้งหมด 879 คน ดังนี้

ระบบการทำงานของศูนย์พักคอยฯ

2.1 ระบบการส่งตัวผู้ป่วยจากชุมชนมาที่วัดสะพาน

มีการประสานงานกับผู้นำของชุมชนต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านทางกลุ่มไลน์ hotline คลองเตย และการประสานงานโดยตรง ในกรณีที่พบผู้ติดเชื้อในชุมชนและรถรับส่งของโรงพยาบาลไม่สามารถมารับได้ทันการณ์ ประธานชุมชนหรือผู้ป่วยต้องการจะมาพักที่ศูนย์พักคอยฯ สามารถประสานงานมาที่ท่านเจ้าอาวาสวัดสะพานหรือพระครูพิพิธวรกิจจานุการ (มานิตย์ เขมคุตฺโต) ได้โดยตรงจะมีทีมรถรับส่งของกลุ่มอาสาสมัครในชุมชนคลองเตยหลายทีมที่เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการส่งตัว อาทิ ทีมรถกู้ภัยของทีมกระต่ายคลองเตย ทีมกู้ภัยของชุมชนล็อค 123 และทีมกู้ภัยของมูลนิธิดวงประทีปไปรับตัวมาส่งที่ศูนย์พักคอยฯ โดยในชั้นต้นจะพักรอไม่เกิน 24 ชั่วโมง ยกเว้นในบางกรณีที่ยังไม่สามารถหาโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลที่เหมะสมกับสภาพความเจ็บป่วยได้อาจจะรอนานกว่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถบริหารจัดการรายบุคคลได้ภายใน 3 วัน โดยแยกผู้ติดเชื้อชาย หญิง และดูแลเบื้องต้นเพื่อรอการส่งตัวไปรักษาต่อ ซึ่งมีมาตรการสำคัญเบื้องต้นในการดูแล คือ การแยกผู้ติดเชื้อกับสมาชิกในครอบครัวและชุมชนเพื่อลดการกระจายแพร่เชื้อโควิด-19

2.2 ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอยฯ

อาคารที่พักของผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอยฯ ปรับมาจากอาคารพักเรียนของพระสงฆ์ที่ศึกษาธรรมะของวัดสะพานเพื่อใช้รองรับผู้ติดเชื้อในพื้นที่ โดยมีจำนวนเตียงเตรียมรับจำนวน 150 เตียง มีการเปิดให้บริการแล้วจำนวน 100 เตียง ในช่วงแรกใช้ชั้น 5 7 และชั้น 8 เป็นที่พักคอยรอส่งตัวผู้ป่วย กรณีที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นจะมีการขยายลงมาจนถึงชั้น 3 ในส่วนของผู้ดูแลมีพระคิลานุปัฎฐากซึ่งเป็นพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) ดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกับแกนนำชุมชน และใช้ลิฟท์ควบคุมการขึ้นลงภายในอาคารสำหรับผู้ติดเชื้อ ซึ่งมีการทำความสะอาดทุก 2-3 ชั่วโมง โดยจิตอาสาหรือพระคิลานุปัฏฐาก ส่วนผู้ดูแลอาคารจะใช้บันไดเท่านั้นและมีการควบคุมจำนวนคนเข้าออกภายในอาคารอย่างเคร่งครัด ส่วนด้านการกำจัดขยะมีได้ดำเนินการ 2 ทาง คือ 1) จัดจ้างบริษัทเอกชนซึ่งมีการสวมชุดป้องกันตนเองอย่างรัดกุม และ 2) การบริหารจัดการภายใต้ส่วนราชการ คือ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ของทางสำนักงานเขตคลองเตย ส่วนการลำเลียงขยะรายวันจากอาคารศูนย์พักคอยด้านบนนั้นจะเป็นหน้าที่ของพระคิลานุปัฏฐาก พระคิลานธรรม และจิตอาสาในพื้นที่

2.3 ระบบการส่งต่อผู้ติดเชื้อจากศูนย์พักคอยไปโรงพยาบาลสนาม

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะได้รับการประสานหาเตียงจากโรงพยาบาลที่ไปตรวจหาเชื้อเพื่อส่งต่อไปรับการรักษาตามอาการ บางกรณีผู้ป่วยอาจจะมีการประสานไปทางโรงพยาบาลที่มีเตียงว่างด้วยตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ อีกทางหนึ่งด้วย ในบางช่วงเวลาที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากจะมีรถจากทางกองทัพประสานส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ทางหน่วยงานประสานหาเตียงรอรับการส่งต่อไว้

3. ความช่วยเหลือเรื่องอาหาร รับผิดชอบโดยวัดสะพาน คลองเตยดีจัง และมูลนิธิดวงประทีป

ภาพประกอบโครงการ

เตียงและอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยในศูนย์พักคอย

สายด่วนโควิดคลองเตย

การส่งต่อกรณีเร่งด่วน

การแจกถุงยังชีพให้ชุมชน

การส่งน้ำดื่มให้ชุมชนบ้านมั่นคง

การส่งน้ำดื่มให้ชุมชนล็อค 6

ส่งข้าวกล่องให้ชุมชน

 

 

3 พ.ค. 2564

อัปเดตโครงการโครงการกำลังดำเนินการอยู่ ในขณะที่เคสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

3 พ.ค. 2564 - 3 พ.ค. 2564

เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้โครงการจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โครงการจึงขอขยายงบประมาณจากเดิม และเพื่อความโปร่งใส โครงการจะแจกแจงรายละเอียดการใช้งบประมาณตามมาอีกครั้ง