empty image

กล้องจุลทรรศน์จิ๋วสำหรับนักเรียนโรงเรียนชายแดนภาคใต้

เทใจเทใจ

เงินบริจาคของคุณจะให้กับ

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

16 ก.พ. 2559 - 31 มี.ค. 2559

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

อุปกรณ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ จากผลสำรวจเด็ก 13 ล้านคนทั่วประเทศ 13158763 คน เป็นโรงเรียนเอกชน 3,797,442 คน  รัฐบาล 9,361,321 คน  เปอร์เซ็นการใช้กล้องจุลทรรศน์ 1 เครื่อง ต่อ 60 คนhttps://www.youtube.com/watch?v=NWsI7rAzvQU&feature=youtu.be

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) เป็นกล้องสำหรับมองและ/หรือวิเคราะห์วัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จากอดีตจนถึงปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถใช้ในการมองวัตถุที่มีขนาดอยู่ในระดับไมครอน (Micron) หรือเล็กกว่าไมครอนได้ ดังนั้นกล้องจุลทรรศน์จึงถูกนำไปใช้ในทุกอุตสาหกรรมกันอย่างกว้างขวาง กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์ จึงได้บรรจุเนื้อหาของการใช้กล้องจุลทรรศน์ลงในหลักสูตรตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆจากการใช้กล้องจุลทรรศน์ สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพภายในห้องปฏิบัติการ แต่การนำไปใช้งานในภาคสนามหรือเพิ่มความหลากหลาย/ยืดหยุ่นต่อการใช้งานนั้นมีข้อจำกัดหลายประการด้วยกัน กล่าวคือราคาของกล้องสูงเกินกว่าที่นักเรียน/นักศึกษาสามารถถือครองหรือยืมจากสถาบันการศึกษาได้ (กล้องจุลทรรศน์จัดอยู่ในหมวดครุภัณฑ์ทางการศึกษา) การใช้ประโยชน์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพราะนักเรียน/นักศึกษาและ/หรือครูอาจารย์กังวลในการนำเอากล้องไปใช้งาน นอกจากนั้นการใช้ในงานภาคสนามอันเป็นกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับนักเรียน/นักศึกษาไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดยกลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม พัฒนาและปรับปรุงกล้องจุลทรรศน์ให้ดูน่าใช้ และมีรูปทรงที่น่าสนใจจากงานของ

ผู้วิจัย (รศ.ดร.วัฒนพงษ์ เกิดทองมี) ได้ผลิตกล้องจุลทรรศน์เพื่อการเรียนการสอนชนิดพพกพา   ประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้พลาสสติกเป็นวัตถุดิบ จึงมีความทนทานต่อการใช้งานภาคคสนาม ตัวกล้องจุลทรรศน์เป็นแบบเลนส์เดี่ยวคือประกอบด้วยเลนส์วัตถุเท่านั้น โครงสร้างของกล้องจุลทรรศน์ประกอบด้วยชิ้นส่วนพลาสติกยึดแผ่นสไลด์จำนวน 2 ชิ้นวางตัวในแนวตั้งฉากระหว่างกันสามารถเลื่อนขยับเข้าหาหรือห่างออกจากเลนส์เพื่อปรับระยะระหว่างเลนส์วัตถุที่ต้องการสังเกตให้ตรงกับตำแหน่งของเลนส์วัตถุหรือเป็นการปรับโฟกัสของการขยาย กล้องจุลทรรศน์เพื่อการเรียนการสอนชนิดพกพามีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก สามารถใช้งานได้กับแผ่นสไลด์มาตรฐาน รองรับต่อการปรับตำแหน่งและการปรับโฟกัสเพิ่มเติมเพื่อให้ภาพวัตถุมีความคมชัดมากขึ้น สามารถใช้ในการขยายวัตถุขนาดเล็กด้วยกำลังขยา

ประโยชน์ของโครงการ :

1. สามารถขยายวัตถุขนาดเล็กระดับไมครอนได้

2. ดูแลรักษาง่าย ต้นทุนการดูแลรักษาต่ำ ลดค่าใช้จ่ายในการล้างเลนส์กล้องจุลทรรศน์ที่มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งสูง 

3. ใช้งานง่าย สะดวก น้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพาออกไปศึกษานอกสถานที่ 

4. เป็นโปรเจ็คเตอร์ฉายภาพเซลล์ได้

 

ผลิตภัณฑ์กล้องจุลทรรศน์จิ๋ว“EASYMAG” ใช้งานง่าย สะดวกในการพกพา ช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนชนบทที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงกล้องจุลทรรศน์ของโรงเรียนที่มีราคาสูง

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

เมื่อได้ทุนจากเทใจ.คอม ทางกลุ่มสาขาออกแบบอุตสาหกรรม ออกแบบและพัฒนาและผลิต เพื่อให้นักศึกษาสาขาออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ประกอบและแจกจ่ายกับโรงเรียนในเขตชายแดนภาคใต้ จำนวน 15 โรงเรียน จำนวนโรงเรียนละ 10 ตัว 

สมาชิกภายในทีม :

นายชโลทร ปะทะโม สอบถาม 0900651448   LINE : chalotorn_design

นายกฤษดา หนูเล็ก นักศึกษา

นายจักรพันธุ์ เบญวิญญู   นักศึกษา

ภาคี :

ทีมออกแบบ Knack spot

สาขาออกแบบอุตสาหกรรม สำนักสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

การศึกษา

Cover

วิธีการแก้ปัญหา

    แผนการดำเนินงาน

      แผนการใช้เงิน

      รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
      รวมเป็นเงินทั้งหมด0.00
      ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)0.00
      ยอดระดมทุน
      0.00

      ผู้รับผิดชอบโครงการ

      เทใจ

      เทใจ

      สร้างเพจระดมทุน

      ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

      สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
      icon