empty image

KipTRAK อุปกรณ์ป้องกันคนหาย

เทใจเทใจ

เงินบริจาคของคุณจะให้กับ

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

17 ก.พ. 2558 - 24 ก.ค. 2558

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สร้างอุปกรณ์ป้องกันก่อนสูญหายและระบุตำแหน่ง ที่ช่วยติดตาม ค้นหาตัวบุคคลได้อย่างแม่นยำ

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

จากการสำรวจของมูลนิธิกระจกเงาพบว่าในแต่ละวันจะมีคนหายจากบ้าน 3 คนต่อวันและจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ทำให้ผู้ปกครองใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น และไม่สามารถดูแลบุตรหลาน ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้สถานที่ที่มีกรณีเด็กหาย มักเป็นสถานที่ที่พลุกพล่าน และอยู่ในอาคาร
ผู้ปกครองของเด็กหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เกิดความวิตกกังวลถึงความปลอดภัยเมื่อออกจากบ้าน ดังนั้น KIPTrak จึงได้แนวคิดป้องกันก่อนแก้ไข โดยจะช่วยทำการเตือนเมื่อเกิดการสูญหายและสามารถ ติดตามได้ในกรณีหาไม่พบ ทำไมเราถึงต้องรอให้คนหายก่อน ถึงจะทำการตามหา ซึ่งเราสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่มาช่วยเตือนก่อนเหตุจะเกิดได้ (วีดีโอเราจะพยายามทำให้เสร็จภายในเดือนมีนาคมและจะมาอัพเดทครับ)
 
องค์ประกอบของอุปกรณ์
1.อุปกรณ์ภาครับ ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ภาคส่ง โดยใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวกลาง เมื่ออุปกรณ์ภาคส่งได้ออกจากขอบเขตที่กำหนดไว้ จะมีเสียงเตือนผู้ใช้ เมื่อต้องการจะหาตำแหน่งของอุปกรณ์ภาคส่ง เพียงหันอุปกรณ์ภาครับเข้าหาด้านที่มีกำลังสัญญาณแรงที่สุด โดยใช้หลอกไฟเป็นตัวอ่านค่าของสัญญาณโดยคร่าวๆ ปุ่มเปิดปิดเสียงเตือนใช้ในยามที่ผู้ใช้ต้องการจะปิดเสียงเตือนโดยที่หลอดไฟเตือนยังทำงานอยู่
 
2.อุปกรณ์ภาคส่ง ทำฟน้าที่ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ภาครับ เมื่อผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือ สวิตช์ปุ่มฉุกเฉินสามารถทำให้อุปกรณ์ภาครับส่งเสียงร้องเตือนผู้ใช้ได้
 
วิธีใช้งาน
1.เปิดการทำงานของอุปกรณ์ เมื่อสวมใส่อุปกรณ์ภาคส่งจะมีการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์ภาครับ
2.สามารถตรวจสอบตำแหน่งทาง GPS ของอุปกรณ์ภาคส่งได้โดยใช้ระบบ Internet ด้วย smart phone
3.เมื่ออุปกรณ์ภาคส่งได้ออกจากระยะที่กำหนด จะมีการร้องเตือนขึ้นที่ผู้ใช้ KipTRAK ภาครับ (ซึ่งเมื่อเรารู้แล้วว่า ผู้สวมใส่ KipTRAK ภาคส่งออกจากระยะไปแล้ว คุณสามารถปิดสัญญาณเตือนที่ KipTRAK ภาครับได้โดยกดปุ่มปิดเสียงเตือน)
4.ใช้อุปกรณ์ภาครับตรวจสอบระยะทางและทิศทาง(ข้อมูลแสดงขึ้นทางจอ LCD)ด้วยการหันอุปกรณ์เข้าหาด้านที่มีสัญญาณไฟ LED ส่องสว่างมากที่สุด(ด้านที่มีแถบไฟขึ้นมากที่สุด) ส่วนนี้จะเหมาะสำหรับการหาบุคคลภายในอาคารและสถานที่ที่คนพลุกพล่าน โดยถ้าบุคคลที่ใส่KipTRAKภาคส่งอยู่หลุดจากระยะการค้นหา(คือถ้าตัวภาครับไม่มีสัญญาณ LED ขึ้นเลย )จะมีการปรับโหมดไปใช้ GPS ช่วยหาและเมื่อเข้าระยะค้นหา(สัญญาณไฟ LED กลับมา)จะกลับมาใช้ระบบนี้อีกครั้ง
5.เมื่ออยู่ในระยะใกล้มาก เช่น เมื่อผู้ใช้KipTRAK ภาคส่งลองหันหรือหมุนอุปกรณ์แล้วสัญญาณไฟ LED มีความแรงสัญญาณเท่ากัน (แทบไฟทุกช่องเต็มหมดซึ่งแสดงว่าKipTRAK ภาคส่งอยู่ใกล้มาก แต่คุณอาจมองไม่เห็น) เราจึงมีปุ่มเตือนภาคส่ง คือ สั่งให้ KipTRAK ภาคส่งส่งเสียงเตือน ทำให้เราสามารถหาบุคคลได้ง่ายยิ่งขึ้น)
*จอ LCD ใช้รับข้อมูลจาก KipTRAK ภาคส่งเช่นรับข้อมูลว่าสวมใส่อุปกรณ์ภาครับ ถอดอุปกรณ์ภาครับ โดยจะเก็บข้อมูลสถานที่ใส่อุปกรณ์และสถานที่ถอดอุปกรณ์ เป็นประวัติเก็บไว้ และยังแสดงระยะทางและทิศทางด้วย)
 
ความสามารถของอุปกรณ์
-ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ภาคส่งยังอยู่ในขอบเขตการทำงานหรือไม่
-ถ้าอุปกรณ์ภาคส่งออกนอกขอบเขตจำกัด จะส่งการร้องเตือนไปยังอุปกรณ์ภาครับ
-ถ้าอุปกรณ์ภาคส่งออกนอกขอบเขตการทำงาน อุปกรณ์ภาครับจะเปลี่ยนไปใช้เป็นระบบ GPS ช่วยในหาตำแหน่ง
-อุปกรณ์ภาคส่งสามารถส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังอุปกรณ์ภาครับได้
-อุปกรณ์ภาคส่งสามารถตรวจสอบได้ว่า อุปกรณ์ถูกสวมใส่อยู่หรือไม่ และส่งข้อมูลรายงานอุปกรณ์ภาครับ
-อุปกรณ์ภาครับสามารถตรวจหาตำแหน่งอุปกรณ์ภาคส่งภายในอาคารได้ โดยไม่ใช้ระบบ GPS
-ข้อมูลของอุปกรณ์ภาครับจะถูกบันทึกลงบนระบบ Cloud เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลตำแหน่ง
** ในอนาคต KipTRAK ภาคส่งอาจเพิ่มจอแสดงผล LCD เพื่อแสดงเวลาแบบ Digital เพื่อเพิ่มความสวยงาม
หมายเหตุ นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงานในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและฟังชั่นการใช้งานตามความเหมาะสม

ประโยชน์ของโครงการ :

1.ช่วยลดอัตราการเกิดอาชญากรรม (จำนวนคนสูญหายลดลง สิ่งของมีค่าไม่ถูกขโมยไป)

2.ยกระดับสังคมให้มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้นเพื่อคนที่คุณรัก

3.ลดความวิตกกังวลและความเครียดให้กับผู้ปกครองและผู้ดูแล

4.สร้างความตระหนักและให้ความสำคัญกับเยาวชน ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากยิ่งขึ้น

5.สร้างการแข่งขันในตลาดและกระตุ้นการเติมโตของเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เพื่อสังคมและส่วนรวม

 

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

27/01/2015 นำเสนอ concept KipTRAK และ ตัวต้นแบบทดสอบ Concept KipTRAK ณ Kyushu institute of technology (ลุล่วงไปแล้ว)

30/01/2015  นำเสนอ concept KipTRAK และ ตัวต้นแบบทดสอบ Concept KipTRAK ในงาน MOU ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (ลุล่วงไปแล้ว)

06/02/2015  ส่ง proposal เข้าแข่งในขันในโครงการ Kmutt Entrepreneur 2015 (รอประกาศผล)

09/02/2015  เดินทางไปบริษัท Globetech เพื่อพูดคุยเกี่ยว KipTRAK และขอคำแนะนำ (ลุล่วงไปแล้ว)

20/02/2015  ส่ง proposal เข้าแข่งในขันในโครงการ THAI Social Enterprise awards (กำลังดำเนินการ)

06/03/2015  ส่ง proposal เข้าแข่งในขันในโครงการ สมรภูมิไอเดีย (กำลังดำเนินการ)

31/03/2015 - 06/03/2015 KipTRAK อยู่ระหว่างการพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งชึ้นและแก้ข้อเสียที่เกิดขึ้นจากตัวต้นแบบที่1และทดสอบ(กำลังดำเนินการ)

07/03/2015  นำเสนอ concept KipTRAK และ นำเสนอตัวพัฒนาต้นแบบ KipTRAK ในฐานะแขกพิเศษ ในการแข่งขัน PBL ระดับภูมิภาคคิวชู ณ ประเทศญี่ปุ่น(รอดำเนินการ)

16/03/2015  Demo KipTRAK แก่มูลนิธิกระจกเงาและพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน(เก็บข้อมูลไปขยายผลและพัฒนาอุปกรณ์) (รอดำเนินการ)

23/03/2015  Demo KipTRAK เวอร์ชั้นที่ 2 แก่ บริษัท Globetech เพื่อพูดคุยและการพัฒนาอุปกรณ์รวมทั้งความร่อมมือในอนาคต  (รอดำเนินการ)

09/03/2015 - 22/03/2015 ดำเดินการแก้ไขจุดบกพร่องและพัฒนาสู่ขั้นถัดไปและเริ่มทำซอฟแวร์สำหรับผลิตภัณฑ์ (รอดำเนินการ)

31/03/2015   ส่ง proposal เข้าแข่งในขันในโครงการ Samartsia and nstda

30/04/2015   นำเสนอ KipTRAK ให้กับที่ปรึกษาและทดสอบอุปกรณ์หาจุดบกพร่องและแนงทางแก้ไขและพัฒนาต่อไป (รอดำเนินการ)

31/05/2015  ส่ง proposal เข้าแข่งในขันในโครงการ Icreate (รอดำเนินการ)

01/04/2015 - 30/05/2015  พัฒนาซอฟแวร์และ KipTRAK ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำไปลองลงพื้นที่สำรวจตลาดและให้บุคคลทั่วไปลองใช้และติชมตัวต้นแบบ(รอดำเนินการ)

หลังจาก 31/05/2015 เมื่ออุปกรณ์ถูกพัฒนาออกมาตามที่ตลาดและประชาชนทั่วไปต้องการตามขั้นตอนที่แล้ว จะลงสำรวจตลาดอีกครั้งเพื่อให้บุคคลทั่วไปลองใช้และติชมอีกรอบ เพื่อมองหาแนวทางการและจุดบกพร่องที่ยังเหลืออยู่และนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจนเป็นที่พอใจ รวมทั้งมองหาบริษัทร่วมทุนเพื่อสร้าง KipTRAK เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถออกวางขายสู่ตลาด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนในการดำเนินการ (รอดำเนินการ)
ภายในสิ้นปี 2015 นี้ ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า KipTRAK จะมีส่วนช่วยทำให้จำนวนคนสูญหายในประเทศน้อยลง
*ระเบียบการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
 
ภาพโมเดลตัวส่งสัญญาณ
 
ภาพโมเดลตัวรับสัญญาณ

สมาชิกภายในทีม :

นายเจนกิจ  โชติโก (Mr.Jankit Chotigo) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เบอร์โทร 0942170124 Email : petronasd_n@hotmail.com Line : nunkmutt07

นายแทนเทพ คำอ่อน  (Mr. Tantep Khum-on) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เบอร์โทร 0817695388 Email : rockyou2012@hotmail.com Line: -

นายสิทธิชัย หวังวิวัฒนา (Mr. Sitichai Wangwiwattana) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เบอร์โทร 0817695388 Email : -  Line: mercurry2004

รศ.ดร.ราชวดี ศิลาพันธ์ หัวหน้าภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

E-mail: rardchawedee.sil@kmutt.ac.th Phone: 02-470-9062

ภาคี :

มหาวิทยาลัยเทคโนโลนีพระจอมเกล้าธนบุรี (http://ene.kmutt.ac.th/index.php/th/)

 

รายการราคา(บาท)

1.ค่าอุปกรณ์ในการพัฒนา

  • Xbee Series 1              
  • GPS GT-723 GP                   
  • Arduino Pro Micro       
  • XBEE WIFI                               
  • XBee Pro 63mW RPSMA - Series 2B (ZigBee Mesh)    
  • SparkFun XBee Explorer Regulated           
  • SparkFun GPS Breakout      
  • 3.7V 1200mAh lithium Battery Rechargeable Polymer LiPo  
  • Mini USB Battery Charger Board      
  • DC-to-DC Step Up Module 3A (LM2577)   
  • Buzzer driver module                      
22,000
2.ค่าอุปกรณ์อื่นๆ4,000
3.ค่าขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ4,000
4.ค่าออกแบบวงจร20,000
5.ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด20,000
6.ค่าทำโมเดล20,000
7.ค่าดำเนินการเทใจดอทคอม 10%10,000
ราคารวม100,000

 

เทคโนโลยี

Cover

วิธีการแก้ปัญหา

    แผนการดำเนินงาน

      แผนการใช้เงิน

      รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
      รวมเป็นเงินทั้งหมด0.00
      ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)0.00
      ยอดระดมทุน
      0.00

      ผู้รับผิดชอบโครงการ

      เทใจ

      เทใจ

      สร้างเพจระดมทุน

      ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

      สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
      icon