cover_1

คืนอาชีพไกด์ดำน้ำให้คนไทย

สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปเป็นค่าน้ำมันและค่าคนขับเรือให้กับนักศึกษา10คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
11 พ.ค. 2559

อัปเดตโครงการเราได้นักดำน้ำมืออาชีพระดับ Dive master ของไทย

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

11 พ.ค. 2559 - 11 พ.ค. 2559
ในวันที่ 6 เมษายน 2559 ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จัดอบรมให้กับนักศึกษาในโครงการ 10 คน ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่ออาชีพไกด์ดำน้ำ ทั้งการอนุรักษ์ทะเล การเกิดปะการังฟอกขาว ตลอดจนการสำรวจปะการัง เพื่อช่วยกันดูแลทระพยากรทางทะเลได้อย่างยั่งยืน
 
ในวันที่ 7 เมษายน 2559 นักศึกษาทั้ง 10 คนได้ลงพื้นที่ปฏิบัติการดำน้ำสำรวจปะการัง (Reef Watch) ที่จุดดำน้ำหินราบและหินสามสาว เกาะช้าง จังหวัดตราด โดยแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ในช่วงเช้าและช่วงบ่าย เมื่อดำน้ำเสร็จแล้วก็นนำข้อมูลมาทุผลสรุปพบว่าแนวปะการังที่เกาะช้างยังคงมีความอุดมสมบูรณ์มากถึงร้อยละ 90 หมายถึงมีปะการังฟอกขาวน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
 
 
นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมอบรมกับโครงการในครั้งนี้ได้รับใบรับรองที่แตกต่างกันออกไป
 
 
 
 
 
ความประทับใจจากนักศึกษา
 
 
 
อุปสรรคในการทำโครงการ
  1. นักศึกษาจาก มศว.มีเวลาที่จำกัดในการฝึกอบรม จึงไม่เพียงพอต่อการสอน
  2. นักศึกษายังมีทักษาะในการว่ายน้ำยังไม่แข็งแรง เพราะการฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำต้องมีความอดทนทางร่างในระดับหนึ่ง
  3. งบประมาณในการทำโครงการไม่เพียงพอ เนื่องจากการระดมทุนจากเว็บไซต์เทใจดอทคอม 21,465 บาท และลูกค้า 12,000 บาท รวมงบประมาณในการทำโครงการ 33,465 บาท เป็นจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อการออกเรือและการจ้างครูสอนดำน้ำเพิ่ม ทางโครงการจึงแก้ปัญหาโดยให้นักศึกษาออกทริปดำน้ำร่วมกับลูกค้า แต่ในปีนี้ลูกค้ามีจำนวนลดน้อยลงจึงทำให้ทริปดำน้ำลดลงตามไปด้วย และในการสอนดำน้ำทางโครงการมีคุณครูสอนดำน้ำ 1 คน ที่จะสอนดำน้ำให้กับนักศึกษาฟรี จึงต้องทำการจัดตารางของครูผู้สอนด้วย
 
นายชาช่า อูลเมอร์ ผู้ก่อตั้งโครงการอุตสาหกรรมดำน้ำ คนไทยทำได้
11 เม.ย. 2559

อัปเดตโครงการนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก เตรียมตัวเรียนหลักสูตร Advanced open water diver

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

11 เม.ย. 2559 - 11 เม.ย. 2559
นักศึกษาทั้ง 5 คน จากมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ที่ผ่านการเป็นนักดำน้ำOpen water diver เรียบร้อยแล้ว 
หลักสูตรต่อไปที่พวกเขาต้องเรียนคือ Advanced open water diver เพื่อทักษะการดำนำที่มีเพิ่มมากขึ้น
 
และเมื่อวันที่ 6-7 เมษายน พ.ศ.2559 “กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง” ร่วมกับ “โรงเรียนสอนดำน้ำ Dolphin Divers” จัดอบรมนักศึกษาฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำจากโครงการ "อุตสาหกรรมดำน้ำ คนไทยทำได้"  ให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ทะเลและสำรวจแนวปะการัง ในหัวข้อ “อาชีพไกด์ดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทยแห่งอาเซียน” (ภายใต้โครงการกรีนฟินส์) ณ โรงแรม The Emerald Cove เกาะช้าง จ.ตราด 
 
นายณัฐวัชร์  คำเสน  นักวิชาการเผยแพร่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ได้กล่าวว่า “สำหรับการอบรมครั้งนี้คือเราต้องการเครือข่ายนักดำน้ำและผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อช่วยในการดูแลทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทยเรา เนื่องจากจำนวนเจ้าหน้าที่เราไม่สามารถดูแลทะเลได้ทั่วถึง กลุ่มผู้ประกอบการมีโอกาสได้ลงไปพบเห็นทรัพยากรทางทะเลทุกวันมากกว่าเจ้าหน้าที่ด้วยซ้ำไปในบางที เพราะฉะนั้นความถี่ที่จะเห็นทรัพยากรมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เราได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้นซึ่งมีประโยชน์ในการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมทรัพฯมากยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ได้จากนักดำน้ำไม่ว่าจะเป็นการสำรวจแนวปะการังหรือการพบเห็นการทำร้ายแนวปะการังหรือการพบปะการังฟอกขาว ข้อมูลเหล่านี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็จะนำมาบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเพื่อนำไปสู่การทำเป็นพื้นที่คุ้มครองหรือออกมาตรการในการตรวจหรือเข้มค้นในการดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อไม่ให้มันถูกทำลายไปมากกว่านี้และจะดูแลให้ได้อย่างยั่งยืนเพื่อให้ลูกหลานเราได้เห็นต่อไปครับ”
 
นายซาช่า  อูลเมอร์ ผู้ริเริ่มโครงการอุตสาหกรรมดำน้ำ คนไทยทำได้ เครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำ เสริมว่า “มันสำคัญมากที่นักศึกษาฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำจะต้องได้รับการอบรมความรู้จากกรมทรัพฯ เพราะพวกเขาคืออนาคตของประเทศ ดังนั้นพวกเขาต้องมีความรู้เกี่ยวกับปะการังในประเทศไทย ต้องปกป้องทะเล และเป็นเพราะพวกเขานี่แหละที่เราจะสามารถช่วยกันทำให้ทะเลและปะการังดีขึ้น เพราะว่าเขาสามารถนำความรู้จากการอบรมครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ ไม่ใช่แค่ไปดำน้ำสนุกๆ เพราะเมื่อไปดำน้ำคุณต้องระวังปะการังและทุกอย่างใต้ทะเล คุณต้องให้ความเคารพกับทะเลและปะการัง มันเป็นความรับผิดชอบของไกด์ดำน้ำที่จะต้องดูแลทะเล เพราะสุดท้ายแล้วอาชีพของเราคือการลงไปในทะเล ออฟฟิศของเราคือทะเล ถ้าเราพานักท่องเที่ยวไปดำน้ำและเห็นทะเลที่แย่มาก เราก็ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นมันเป็นความรับผิดชอบของเราที่จะต้องดูแลทะเลให้ดูดี และเป็นความรับผิดชอบของพวกเราที่จะต้องสอนผู้คนและนักท่องเที่ยวให้เคารพทะเล”
 
นายสุรศักดิ์ ชาติรักวงศ์  นิสิตสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตัวแทนผู้เข้ารับการอบรม กล่าวว่า  “ความรู้จากที่ได้ฟังอบรม Reef Watch เป็นเหมือนเครื่องมือที่ใช้งานได้จริงๆ ต่างจากทฤษฏีในห้องเรียนบางอย่าง ซึ่งความรู้ที่ได้ครั้งนี้ทำให้เราเป็นเหมือนกับ หนึ่งแรงน้อยๆ ที่เป็นกำลังสำคัญในการที่จะเป็นผู้สอดส่องและดูแลทรัพยากรปะการังในอนาคตต่อๆ ไป ความยากที่แตกต่างกันนั้นแทบจะไม่มีเลย เพราะตอนที่ดำน้ำลงไปสำรวจก็มีความรู้สึกว่าได้ลงไปดำน้ำท่องเที่ยวเหมือนกัน  บางทีการที่ลงไปดำน้ำสำรวจปะการังยังได้เห็นอะไรได้มากกว่าการดำน้ำท่องเที่ยวครั้งก่อนๆ ซะอีก เพราะก่อนหน้านั้นที่ลงและยังไม่รู้จักการทำ Reef watch ก็แค่ดำน้ำผ่านๆ ไม่ได้เข้าไปใกล้ปะการังมาก พอมาทำ Reef watch เราต้องคอยสังเกต และพิจารณาแนวปะการังไปรอบๆ ได้รู้จักปะการังมากขึ้นกว่าเดิมอีก”
 
อาชีพไกด์ดำน้ำ หรือ Dive Leader เกี่ยวเนื่องกับมูลค่าการท่องเที่ยวและการรักษาทรัพยากรในท้องทะเล หากเราต้องการมีมรดกธรรมชาติทางทะเลที่สามารถสร้างรายได้ในระยะยาว การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจึงเป็นทางออกที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดังที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า การพัฒนาศักยภาพบัณฑิตให้สามารถเข้าสู่งานบริการธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลด้วยระบบการศึกษา พร้อมปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ จะเป็นการวางรากฐานเพื่อทำให้อาเซียนสามารถเป็นศูนย์การด้านการท่องเที่ยวทางทะเลได้อย่างมีทิศทางและยั่งยืน
 
หากสนใจเข้าร่วมการอบรมในโครงการอุตสาหกรรมดำน้ำ คนไทยทำได้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 086-101-4783 หรือ www.facebook.com/seaeventsBangkok และสามารถดาวน์โหลดเอกสารการดำน้ำอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการสำรวจแนวปะการังด้วยตัวเอง (Reef Watch) ได้ที่ www.greenfins-thailand.org 
3 มี.ค. 2559

อัปเดตโครงการความประทับใจจากการฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำรอบแรก

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

3 มี.ค. 2559 - 3 มี.ค. 2559

จบไปแล้วสำหรับการฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำสำหรับนักศึกษารอบแรก และต่อการฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำสำหรับนักศึกษารอบที่2 ในเดือนมีนาคม

 

นอกจากการเรียนรู้การฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำแล้ว ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาที่จำเป็นต่ออาชีพด้วย

 

ความประทับใจจากผู้ฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำในรอบที่1 

น.ส.พิมพ์มาดา อัจจิกุล (บุ๊ค)

จากการเข้าร่วมโครงการ ทำให้เราได้เรียนรู้กระบวน การทำงานของธุรกิจการดำน้ำ และทำให้เราได้เรียนรู้ การใช้ชีวิตในการทำงานจริงๆ อีกด้วย อีกทั้งยังทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจที่จะอยากศึกษาต่อให้จบจนสามารถเป็นไกด์ดำน้ำได้ เพื่อเป็นอาชีพของเราในอนาคตและเป็นอีกส่วนหนึ่งที่คอยดูแลทรัพยากรทางท้องทะเล”

 

น.ส. นภัสนันท์ วิเชียรกิตติสกุล (เน๊ต)
“การเข้าร่วมโครงการท้าให้พวกเราได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต ก็คือ การดำน้ำลึกและเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับอาชีพไกด์ดำน้ำ ส่วนในด้านการทำงานขาย ทำให้เรารู้สึกสนุก ท้าทายที่ได้พูดคุยกับลูกค้าต่างชาติ หลังจากการเข้าร่วมโครงการทำให้คิดว่าอยากเดินทางไปดำน้ำหลายๆ ที่ในประเทศไทย รวมถึงต่างประเทศและต้องการบอกต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติว่าทะเลไทยสวยงาม”
 

น.ส. ปาณัสม์ สงเจริญ (เอิง)

“โครงการได้ให้โอกาสและอะไรหลายๆ อย่างกับตัวดิฉันเอง ท้าให้ได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนอีกทั้งยังได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ การทำงานอยู่กับทะเลในทุกๆ วัน ทำให้ดิฉันหลงรักท้องทะเลไปโดยไม่รู้ตัว มีความสุขทุกครั้ง เมื่อได้ดำน้ำลงไปใต้น้ำ ได้พบกับหมู่ปลาและปะการังต่างๆ มากมาย ดิฉันเองจึงเกิดความคิดและแรงบันดาลใจที่จะปกป้อง และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทยให้คงอยู่กับคนไทยสืบไป”

 

นายณิชช์พัชญ์ พียาพรรณกุล (ภีม)

“เรียนถึงหลักสูตร rescue diver สิ่งที่ได้คือได้รับความรู้ ด้านการด้าน้า รวมถึงความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดำน้ำได้ด้วย ตระหนักถึงความส้าคัญของสิ่งมีชีวิตและระบบใต้ทะเล อยากประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมดำน้ำ และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ใต้ท้องทะเลไว้ให้นาน”

 

น.ส.ชลพินทุ์ ตันสกุล (เกดชล)

“สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการคือ ทักษะต่างๆ ในการดำน้ำลึก รวมไปถึงหลักการว่ายน้ำในระบบปิด(สระว่ายน้ำ)ด้วย และไม่ใช่แค่ทักษะเหล่านี้ เรายังได้ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษ และการจัดการทริปในแต่ละวัน  แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นอย่างแรกเลยคือ ทำให้เราได้ใกล้ชิดทะเลและรักทะเลมากขึ้น อยากจะรักษาพวกทรัพยากรต่างๆ ไว้ให้อยู่กับเราไปนานๆ รวมถึงการสร้างอาชีพที่เน้นให้คนไทยอยู่คู่กับทรัพยากรไทยอีกด้วย”

23 ก.พ. 2559

อัปเดตโครงการความคืบหน้าโครงการคืนอาชีพไกด์ดำน้ำให้คนไทย

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

23 ก.พ. 2559 - 23 ก.พ. 2559
ในเดือนกุมภาพันธ์ โครงการคืนอาชีพไกด์ดำน้ำให้คนไทย ทางทีมงานได้รับการตอบรับความร่วมมือจากกรมทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง ที่จะมาให้ความรู้เรื่องอาชีพไกด์ดำน้ำกับการอนุรักษ์ รวมถึงการทำสำรวจแนวปะการังด้วยตัวเอง (Reef watch) เพื่อให้นักศึกษาในโครงการฯ สามารถเป็นอาสาสมัครทำงานร่วมกับกรมฯ และสำรวจแนวปะการังประเทศไทยได้ โดยการอบรมครั้งแรกจะจะเกิดขึ้นในต้นเมษายนนี้  
 
นอกจากนั้นทางรายการนักข่าวพลเมือง ช่อง ThaiPBS เมื่อคืนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้ออกอากาศเรื่องอาชีพไกด์ดำน้ำกับการอนุรักษ์ที่เชื่อมโยงกับระบบการศึกษาและอาเซียน ทั้งนี้ได้นำเสนอข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งโครงการฯ รวมถึงนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ด้วย
 
และรายการห้องข่าวเยาวชน ช่อง TNN24 ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

 
คุณเจนจิฬา  โชติประทุม
ทีมงานโครงการคืนอาชีพไกด์ดำน้ำให้คนไทย
29 ม.ค. 2559

อัปเดตโครงการฝึกอาชีพไกด์ดำน้ำรอบที่1 เดือนมกราคม

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

29 ม.ค. 2559 - 29 ม.ค. 2559
โครงการคืนอาชีพไกด์ดำน้ำให้คนไทยได้ดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้ว จำนวน 13 คน ทั้งนี้เจ้าของโครงการได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบ จึงได้คัดเลือกนักศึกษาจากคณะสังคมศาสตร์ สาขาท่องเที่ยวและโรงแรม จำนวน 9 คน และ อีก 4 คนเปิดรับสมัครจากนักศึกษาทั่วไป 
 
 
โดยในการฝึกอบรมได้แบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มคือ 
กลุ่มแรก รับการฝึกบอรมในวันที่ 11 มกราคม- 5 มีนาคม 2559
กลุ่มที่ 2 รับการฝึกอบรมในวันที่ 6 มีนาคม- 29 เมษายน 2559
 
 
ตารางการฝึกอบรมในแต่วัน
 
แล้วพบกันใหม่ในเดือนหน้าค่ะ : )
20 พ.ย. 2558

อัปเดตโครงการโครงการคืนอาชีพไกด์ดำน้ำให้คนไทย สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กไทยรุ่นใหม่ในรายการศึกษาทัศน์

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

20 พ.ย. 2558 - 20 พ.ย. 2558
วันที่ 28 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล รายการศึกษาทัศน์ สารคดีเพื่อการศึกษา พร้อมนักเรียน มาถ่ายทำเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้การดำเนินการของหลักสูตร รวมถึงวิธีการสอนของโรงเรียนสอนดำน้ำ Dolphin Divers ออกอากาศทุกวัน ทางช่อง สศทท.1-15 และทุกวันอาทิตย์เวลา 08.30 น. – 09.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT 
 
บรรยากาศการถ่ายทำรายการเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และความอยากรู้ อยากเห็นของนักเรียนจากโรงเรียนวังไกลกังวล 8 คน ระดับชั้นม.4 และ ม.5 พร้อมด้วยครูพละศึกษา 3 ท่าน ทุกคนไม่เคยเรียนดำน้ำมาก่อน การถ่ายทำรายการครั้งนี้จึงถือเป็นการเรียนดำน้ำครั้งแรก !!
 
ระหว่างการถ่ายทำ มีนักเรียนคนหนึ่งตั้งคำถามว่า ทำไมต้องตั้งชื่อว่า “อุตสาหกรรมดำน้ำ คนไทยทำได้”  
ตอบ: ครูซาช่าเป็นผู้คิดชื่อโครงการ ภาษาอังกฤษว่า Diving industry THAIS can do it เพราะเขาต้องการเชียร์บอกคนไทยว่าอาชีพในอุตสาหกรรมดำน้ำนั่น “คนไทยทำได้” อาชีพในธุรกิจดำน้ำไม่ใช่แค่ “ไปดำน้ำ” แต่หมายรวมถึงงานทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ การดำน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปกรณ์ดำน้ำ การเป็นครูสอนดำน้ำ การขายคอร์สดำน้ำ  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ  “ทุกอย่างที่อยู่ในอุตสาหกรรมดำน้ำ พวกเราคนไทยสามารถทำได้”
 
ติดตามรายการศึกษาทัศน์ ตอน อุตสาหกรรมดำน้ำ คนไทยทำได้ เร็ว ๆ นี้
 
ท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจกับคนไทยรุ่นใหม่ ได้มองเห็นถึงโอกาสการประกอบอาชีพในธุรกิจดำน้ำ ผ่านเว็บไซด์เทใจได้ที่ โครงการคืนอาชีพไกด์น้ำให้คนไทย