cover_1

กองทุนเพื่อวิจัยและสร้างชุดตรวจและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสู้กับโควิด19

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนการวิจัยเพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อไวรัสให้กับคนไข้โรคโควิด-1920,000ชุด

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
5 ก.พ. 2564

อัปเดตโครงการการวิจัย "COVID-19 SCAN" ได้รับการตีพิมพ์

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

5 ก.พ. 2564 - 5 ก.พ. 2564

จากการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 จากฝีมือคนไทย เป็นเวลากว่า 1 ปี

ปัจจุบันงานวิจัยการสร้างชุดตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ถูกตีพิมพ์ โดย American Chemical Society 

อ่านรายละเอียดงานวิจัยได้ที่ :https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acsomega.0c04929

28 ต.ค. 2563

อัปเดตโครงการทดลองชุดตรวจ COVID-19 ในคลินิกทันตกรรม

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

28 ต.ค. 2563 - 28 ต.ค. 2563

การพัฒนาชุดตรวจ COVID-19


ขณะนี้ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 ขึ้นอีกระดับ และปัจจุบันทีมวิจัยกำลังดำเนินการ 3 ส่วน ต่อไปนี้

  • ขอประเมินประสิทธิภาพกับทางกรมควบคุมโรค และคำขอพิจารณาขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์กับทางองค์การอาหารและยา (อ.ย.) 
  • การติดตั้งระบบ microinjection เพื่อบรรจุสารละลายที่ใช้ในชุดตรวจ
  • การพัฒนา software และได้อุปกรณ์ต้นแบบ (prototype) สำหรับอ่านผลตรวจ COVID-19
13 ก.ค. 2563

อัปเดตโครงการความคืบหน้าของชุดตรวจสอบโควิด-19 เดือนมิถุนายน

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

13 ก.ค. 2563 - 13 ก.ค. 2563

ในช่วงที่ผ่านมาทางทีมนักวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาชุดตรวจสอบโควิด-19 ดังนี้

ติดตั้งอุปกรณ์ตู้แช่แข็งจำนวน 2 ตู้ เพื่อเก็บตัวอย่างคนไข้ และชุดตรวจ ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ และหน่วยโรคไต ภาควิชาอายุกรรมศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

• ทำการตรวจสอบ validate ชุดตรวจ กับตัวอย่างคนไข้จำนวน 150 ตัวอย่างจากโรงพยาบาลราชวิถี

• พัฒนาอุปกรณ์เก็บตัวอย่างเชื้อจากน้ำลาย

 

ส่วนที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ

  • การพัฒนา software เพื่ออ่านผล COVID-19
  • การจัดซื้อระบบหุ่นยนต์ เพื่อช่วยในการบรรจุน้ำยาที่ใช้ในการตรวจ
15 เม.ย. 2563

อัปเดตโครงการความคืบหน้าชุดตรวจสอบไวรัสโรคโควิด-19

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

15 เม.ย. 2563 - 15 เม.ย. 2563

การตรวจโควิด-19 นั้นมี 2 ประเภทคือ

การตรวจดูเชื้อ

  • ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Polymerase chain reaction (PCR) ซึ่งเป็นเทคนิคที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง มีความแม่นยำสูง แต่หากว่าอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจนั้นมีราคาค่อนข้างสูง (หลักล้าน) ต้องใช้บุคลากรและห้องปฏิบัติการที่เชี่ยวชาญซึ่งมีน้อยมากในประเทศไทย จึงไม่สามารถตรวจได้ทุกพื้นที่ในประเทศ และนอกจากนั้นยังใช้เวลาตรวจอย่างน้อย 2-3 วันก่อนที่จะรู้ผล

การตรวจภูมิต้านทาน (Antibody)

  • เป็นเทคนิคที่ถูกและรวดเร็ว แต่หากว่าความแม่นยำจะต่ำกว่าแบบแรก เพราะต้องใช้เวลานานเป็นอาทิตย์หลังจากที่ร่างกายรับเชื้อโรค ก่อนที่ร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา

 

ทางทีมวิจัยจึงพยายามหาวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำสูงเทียบเท่ากับเทคนิคPCR แต่มีราคาถูก อุปกรณ์ราคาไม่แพง ไม่ต้องสกัดเชื้อโรคลดขั้นตอนเสี่ยง และใช้ระยะเวลาในการตรวจน้อยกว่า 1 ช่วโมง แต่มีความแม่นยำเทียบเท่า PCR ทีมจึงเลือกใช้เทคนิคที่เรียกว่า CRISPR ซึ่งเป็นเทคนิคที่ต่างประเทศพัฒนาขึ้นมา แต่ทีมนำมาปรับต่อเพื่อประยุคใช้ทำให้เกิดได้จริงในประเทศไทย

การวิจัยตอนนี้ถือว่าก้าวหน้ามาพอสมควร ล่าสุดวันที่ 13 เมษายน 63 ทีมได้ทดสอบวิเคราะห์ตัวอย่างจริงที่ถูก Blind คำตอบ 10 ตัวอย่าง ผลปรากฏว่าเราสามารถตอบถูก 100% ที่สำคัญคือตัวอย่างเหล่านี้เป็น crude samples ไม่ได้สกัด RNA มาก่อน วิธีนี้ช่วยขจัด Bottleneck ของหลายๆสถานที่ โดยเฉพาะรพ.ที่ไม่มีแลปสกัด RNA  

ขั้นตอนการวิจัยต่อไปคือต้องใช้คอมพิวเตอร์ ai ช่วยในการทำ image analysis เพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านค่าตัวอย่างที่มี RNA ของไวรัสอยู่น้อยได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และทำการวิเคราะห์ตัวอย่างให้มากขึ้นเพื่อทดสอบและนำไปสู่การใช้จริง