cover_1

เครื่องมือวิจัยทางการแพทย์ เพื่อการพัฒนายาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ป่วย ผู้พิการ

เงินบริจาคของคุณจะจัดซื้อเครื่องแยกสารชีวโมเลกุลให้บริสุทธิ์ให้กับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย1แห่ง

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

1 มี.ค. 2564 - 30 มิ.ย. 2564

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

โรงพยาบาล/รพสต.
1แห่ง

จัดซื้อเครื่องแยกสารชีวโมเลกุลให้บริสุทธิ์ เครื่องมือสนับสนุนการวิจัยการพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งแบบภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy)

เพื่อช่วยให้การวิจัยและพัฒนายาเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นยิ่งขึ้น และส่งผลในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลข้างเคียงในการรักษาที่น้อยลง

ปัญหาสังคม

ปัจจุบันนี้พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 130,000 รายต่อปี และเสียชีวิตมากกว่า 70,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 ราย และในอนาคตยังมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย นอกจากนี้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน และยังทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำลงอีกด้วย ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศในด้านต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล การขาดงานของผู้ป่วยและผู้ดูแล ค่าเดินทางในการมารับการรักษาพยาบาล รวมเป็นมูลค่าเกือบ 80,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันวิธีการมาตรฐานที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรักษาจำกัด และมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย นอกจากนี้เมื่ออาการของโรคดำเนินเข้าสู่ระยะท้ายหรือระยะแพร่กระจาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานข้างต้น ทำให้ผู้ป่วยหมดทางเลือกในการรักษาและเสียชีวิตในที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบภูมิคุ้มกันบำบัดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง อันเป็นที่ยอมรับและเป็นความหวังใหม่ในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยในการกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างจำเพาะ ได้ผลดีแม้กระทั่งกับโรคมะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือการฉายแสง โดยแทบไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายเหมือนวิธีการรักษาแบบเดิม ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดีขึ้นและมีผลข้างเคียงน้อยลง อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยนวัตกรรมดังกล่าวนั้นมีราคาสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าถึงได้ โดยยาแอนติบอดีรักษามะเร็งมีราคาสูงถึงเข็มละ 200,000 บาท และต้องฉีดต่อเนื่องทุก 2-3 สัปดาห์ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ทำให้มีค่ารักษารวมกว่า 8-10 ล้านบาท ในขณะที่การรักษาด้วยเซลล์บำบัดนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 15 ล้านบาทต่อผู้ป่วยหนึ่งคน ส่วนในการรักษาด้วยวัคซีนเฉพาะบุคคล มีต้นทุนการรักษาที่สูงเมื่อเทียบกับการรักษามาตรฐาน และยังไม่มีการให้บริการอย่างเป็นทางการทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เมื่อมองในภาพรวม ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมากนี้เองจึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดของผู้ป่วยในประเทศไทย

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้มีความตั้งใจที่จะพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบภูมิคุ้มกันบำบัดขึ้นภายในประเทศไทย จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับรักษามะเร็งแบบภูมิคุ้มกันบำบัด ทั้งนี้การพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งรูปแบบนี้ยังขาดความพร้อมของเครื่องมือ ทำให้การวิจัยในด้านนี้ยังมีข้อจำกัดและขาดความต่อเนื่องอยู่มาก ดังนั้นโครงการนี้จึงได้จัดระดมทุนขึ้นเพื่อซื้อเครื่องมือวิจัยทางการแพทย์ที่จำเป็นในการใช้พัฒนาวิธีการรักษามะเร็งแบบภูมิคุ้มกันบำบัด ได้แก่ เครื่องแยกสารชีวโมเลกุลให้บริสุทธิ์ จำนวน 1 เครื่อง ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยให้การวิจัยและพัฒนาเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นยิ่งขึ้น

แผนการดำเนินงาน

  1. มี.ค. - มิ.ย. 2564

    ระดมทุนเพื่อจัดซื้อเครื่องมือวิจัยทางการแพทย์

  2. ก.ค. 2564

    จัดซื้อเครื่องมือวิจัยทางการแพทย์ ได้แก่ เครื่องแยกสารชีวโมเลกุลให้บริสุทธิ์ (Fast Protein Liquid Chromatography; FPLC) ยี่ห้อ AKTA รุ่น Start จำนวน 1 เครื่อง

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
เครื่อง Fast Protein Liquid Chromatography; FPLC ยี่ห้อ AKTA Start

1เครื่อง500,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด500,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)50,000.00
ยอดระดมทุน
550,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon