cover_1
รายเดือน

เปลี่ยนศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในพื้นที่ด้อยโอกาสให้เป็นรูปแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง (ICAP)

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะนำไปปรับปรุงรูปแบบการสอนให้กับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย10แห่ง

ระยะเวลาระดมทุน

21 พ.ย. 2566 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATIONREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สถานศึกษา
10แห่ง
เด็กและเยาวชน
350คน

ปรับปรุงรูปแบบการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย 10 แห่งในภาคเหนือ อีสาน และพื้นที่ชุมชนแออัดในกทม. ให้เป็นแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กอายุ 2-6 ปี จำนวนประมาณ 350 คน

ปัญหาสังคม

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปี 2560 ชี้ให้เห็นว่าพัฒนาการสมวัยเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปีมีแนวโน้มลดลงในแต่ละปีและยังมีอัตราต่ำกว่าสถิติองค์การอนามัยโลกกว่าร้อยละ 15 นอกจากนี้ ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่า เด็กไทยอายุ 2-6 ปีเกือบ 30% มีปัญหาพฤติกรรมที่เป็นความบกพร่องของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ Executive Function (EF) ซึ่งส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรม และมีความเสี่ยงที่เด็กจะตัดสินใจผิดพลาด เช่น ใช้ยาเสพติด หรือ ตั้งครรภ์ในวัยเรียน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การส่งเสริมพัฒนาทักษะสมองให้กับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องวางรากฐานตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยระดับสากลที่ชี้ให้เห็นว่าการส่งเสริมเด็กตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจะส่งผลระยะยาวต่อทั้งตัวเด็กและสังคมโดยรวม

โครงการ ICAP (Integrated Child – Centered Active Learning project ) ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2-6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวทาง HighScope ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้เด็กมีการใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้านผ่านการเล่นที่มีชีวิตชีวาเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต โดยจัดการอบรมแก่คุณครูซึ่งเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองตามหลักสูตรการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงเนื้อหาอื่นๆ  เช่น การพัฒนาเด็กตามหลักพัฒนาการ การใช้วินัยเชิงบวก การจัดสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โภชนาการตามวัย ฯลฯ 

เพื่อวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็ก โครงการ ICAP ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลในการประเมินทักษะ EF ของเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาจังหวัดลพบุรีจำนวน 5 แห่ง และพบว่าเด็กปฐมวัยภายใต้โครงการ ICAP มีคะแนน EF ที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยเด็กในโครงการที่ได้คะแนน EF ต่ำกว่ามาตรฐานนั้น มีจำนวนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ในขณะที่เด็กที่ได้คะแนน EF สูงกว่ามาตรฐาน มีจำนวนมากกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ

ปัจจุบัน โครงการ ICAP มีสถานศึกษาในจังหวัดลพบุรีที่เข้าร่วมโครงการกว่า 120 แห่ง และนอกจังหวัดลพบุรีอีกกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมเด็กปฐมวัยแล้วกว่า 9 พันคน ในการระดมทุนครั้งนี้ โครงการฯ มีแผนในการขยายผลการดำเนินงานไปยังสถานศึกษาเพิ่มเติมอีก 10 แห่ง

เจ้าของโครงการ

นายแพทย์สันติ ลาภเบญจกุล ผู้บริหารโครงการ ICAP, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้ง จ.ลพบุรี, ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (สพบ.) ในฐานะประธานคณะทำงานพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก และเจ้าของรางวัลคนค้นฅน อวอร์ด ครั้งที่ 7 สาขารางวัลผู้สร้างแรงบันดาลใจ ณ โรงพยาบาลลำสนธิ  

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนเพื่อปรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นรูปแบบบูรณาการโดยยึดหลักเด็กเป็นศูนย์กลาง ทำให้เด็กๆ ได้รับการพัฒนาทักษะ EF ส่งผลให้มีความฉลาดทั้งด้านสติปัญญาและอารมณ์ เด็กๆ เติบโตได้อย่างมีคุณภาพและนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

แผนการดำเนินงาน

  1. ทีมงาน ICAP สำรวจศูนย์พัฒนาเด็ก เพื่อเก็บข้อมูลมาออกแบบปรับปรุงห้องเรียนและสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้

  2. ทีมงาน ICAP สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน ของเล่น นิทานและอื่นๆ เพื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้พร้อมเป็นห้องเรียนแบบบูรณาการ

  3. ทีมงาน ICAP ดำเนินการอบรมครูและบุคคลากรในศูนย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการสอนรูปแบบใหม่

  4. ทีมงาน ICAP ให้ครูและบุคคลกรในศูนย์ทดลองสอนจริง โดยทีมงานช่วยเป็นพี่เลี้ยงและแนะนำ

  5. ICAP เปิดช่องทางออนไลน์เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ทุก​ศพด.ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อติดตามการทำงาน

  6. ทีมงานวิเคราะห์และประเมินผลการทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าใช้จ่ายเพื่อปรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นรูปแบบบูรณาการโดยยึดหลักเด็กเป็นศูนย์กลาง

ศูนย์ละ 100,000 บาท 1. ทีมงาน ICAP สัมภาษณ์ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กถึงความพร้อมในการทำงาน  และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์เพื่อมาออกแบบปรับปรุงห้องเรียนและสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้  2. ทีมงาน ICAP ดำเนินการอบรมครูและบุคคลากรในศูนย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการสอนรูปแบบใหม่ 3. ทีมงาน ICAP ให้ครูและบุคคลกรในศูนย์ทดลองสอนจริง โดยทีมงานช่วยเป็นพี่เลี้ยงและแนะนำ 4. ICAP เปิดช่องทางออนไลน์เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ทุก​ศพด.ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อติดตามการทำงาน 5. ทีมงานวิเคราะห์และประเมินผลการทำงาน

10แห่ง1,000,000.00
สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน ของเล่น นิทานและอื่นๆ เพื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้พร้อมเป็นห้องเรียนแบบบูรณาการ

ศูนย์ละ 40,000  บาท

10แห่ง400,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด1,400,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)140,000.00
ยอดระดมทุน
1,540,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิยุวพัฒน์

มูลนิธิยุวพัฒน์

กรุงเทพมหานคร

มูลนิธิยุวพัฒน์เป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 300 ก่อตั้งเมื่อปี 2536 เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนขาดโอกาสด้วยการระดมความร่วมมือ เป็นตัวกลางเชื่อมต่อ ทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนและเครือข่ายขององค์กรที่มีวิสัยทัศน์เดียวกัน เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและร่วมกันสร้างเด็กไทยสู่การเป็น "พลเมืองคุณภาพ" ของประเทศ... จากวันแรกที่มูลนิธิยุวพัฒน์สนับสนุนทุนการศึกษาให้เด็กยากจน 100 คน ได้มีโอกาสเรียนหนังสือต่อ ปัจจุบัน มูลนิธิฯ ขยายภารกิจเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสในมิติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสม ได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตและค้นพบศักยภาพของตนเอง พร้อมการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ผ่านโครงการของมูลนิธิฯ ที่ดำเนินงานโดยตรง และทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย "ร้อยพลังการศึกษา" มีเด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์แล้ว มากกว่า 300,000 คน ทั่วประเทศ

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon