เงินบริจาคของคุณจะจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลกำแพงเพชร30เตียง
ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาลเกิดแผลกดทับระหว่างรักษาตัว และต้องกลับไปรักษาแผลกดทับนั้นต่อที่บ้าน โครงการนี้จึงเปิดระดมทุนเพื่อปรับเปลี่ยนที่นอนในโรงพยาบาล ให้เป็นที่นอนนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันแผลกดทับ โดยเริ่มต้นจากโรงพยาบาลกำแพงเพชร และเปิดระดมทุนระยะแรกที่ 30 เตียง
ภายในปี 2563 ประเทศไทยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด จนถึงปี 2583 ประมาณการณ์ว่าตัวเลขนี้จะสูงถึงร้อยละ 32.2 ประชากรสูงวัยมีความเสี่ยงสูงที่จะมีโรคต่างๆ หรือเกิดอุบัติเหตุหกล้มที่ทำให้มีโอกาสเป็นผู้ป่วยติดบ้าน-ติดเตียงสูง
ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรสูงวัยหมายถึงค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล การดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงวัยที่ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ไม่มีครอบครัว ประเด็นการดูแลระยะยาว ข้อมูลจากคณะทำงานฯ ระบุถึงตัวเลขประชากรที่ป่วยติดบ้าน-ติดเตียงในประเทศไทย พบว่า ปี 2560 ไทยมีผู้ป่วยติดบ้าน 235,301 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 136,677 ราย และคาดการณ์อนาคตว่า ในปี 2580 ผู้ป่วยติดบ้านจะเพิ่มเป็น 526,228 ราย ผู้ป่วยติดเตียงเป็น 311,256 ราย และในปี 2590 ผู้ป่วยติดบ้านจะเพิ่มเป็น 727,103 ราย ผู้ป่วยติดเตียงเป็น 434,694 ราย (ที่มา) และหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากการเป็นผู้ป่วยติดเตียง คือการเกิดแผลกดทับ
แผลกดทับเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้และทั่วโลกกำลังหาวิธีแก้ไข ภาครัฐต้องสูญเสียเงินงบประมาณจำนวนมากในแต่ละปีเพื่อใช้ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยเหล่านั้น สิ่งที่เกิดผลกระทบกับครอบครัวผู้ป่วย คือ แบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ผู้ป่วยได้รับทุกขเวทนา ที่สำคัญส่งผลให้คุณภาพชีวิตของครอบครัวนั้นลดลงอันเนื่องจากจะต้องอาศัยคนมาดูแลผู้ป่วยอย่างน้อย 1-2 คน บางรายถึงกับต้องลาออกจากงานเพื่อมาดูแลญาติของตนส่งผลทำให้ขาดรายได้ นี่คือผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย
จากข้อมูลสำรวจพบว่าปัญหาแผลกดทับร้อยละ 90 จะเกิดในโรงพยาบาลระดับจังหวัด (ทีมงานเป็นผู้สำรวจเอง โดยเก็บข้อมูลจำนวน 10 โรงพยาบาล ทีมพยาบาลก็ให้ความเห็นตรงกันว่าแผลกดทับเกิดในโรงพยาบาลเนื่องจากที่นอนแข็งและไม่ระบายอากาศ และอีกแหล่งข้อมูลที่เราสำรวจโดยสัมภาษณ์ญาติผู้ป่วยจำนวน 10 ราย พบว่า 9 ราย แผลกดทับเกิดที่โรงพยาบาล 1 รายเกิดที่บ้าน) ผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหวเข้ารักษาตามอาการของโรคในโรงพยาบาลนานเกินกว่า 15 วัน จะเกิดแผลกดทับขึ้นหลังจากถูกส่งตัวกลับบ้านก็จะต้องรักษาแผลกดทับเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งโรค
1. ที่นอนแข็ง หมายถึง ความแข็งของที่นอนจะทำให้เกิดแรงกดต่อกล้ามเนื้อสูง ส่งผลให้หลอดเลือดฝอยตีบเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ทำให้เซลล์ตายและกลายเป็นแผลกดทับ
2. ที่นอนไม่ระบายอากาศ หมายถึง ความร้อนจากภายในร่างกายระบายออกสู่ผิวหนังจะสะสมบริเวณที่ถูกกดทับความร้อนจะกลายเป็นเหงื่อเกิดการอับชื้นและเกิดเป็นแบคทีเรีย แบคทีเรียจะทำให้ผิวหนังอ่อนแอและถลอกได้ง่ายถ้าหากเกิดแผลถลอกแบคทีเรียจะส่งผลให้แผลลุกลามอย่างรวดเร็วและทำให้แผลหายได้ช้าลงหรือไม่สามารถหายได้เลย
วิธีแก้ไขที่ได้ผลดีที่สุดคือ การให้ผู้ป่วยนอนบนที่นอนที่สามารถลดแรงกดต่อกล้ามเนื้อและระบายอากาศได้ตลอดเวลาเท่านั้น โดยทางโครงการตั้งเป้าจะส่งมอบที่นอนนวัตกรรมที่ป้องกันแผลกดทับให้กับทางโรงพยาบาล เพื่อใช้วางเสริมบนเตียงผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับตั้งแต่เริ่มต้นเข้ารับการรักษา
โดยนวัตกรรมที่นอนป้องกันแผลกดทับที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นนวัตกรรมด้านการแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยกับสำนักงบประมาณตามบัญชีนวัตกรรมไทย ฉบับเพิ่มเติม หมวด 0302 เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ลำดับที่ 19 รหัส : 03020014 ชื่อรายการ : ที่นอนลดแผลกดทับ(Anti-bedsore Mattress) แบรนด์ SAWAKY
รายละเอียดของผลิตภัณฑ์
ที่นอน SAWAKY เป็นนวัตกรรมในป้องกันแผลกดทับ ใช้หลักลดแรงกดทับลักษณะเป็นโฟม
ข้อดี
- ราคาถูกเมื่อเทียบกับอายุการใช้งานมากว่า 5 ปี (ที่นอนแบบเดิมอายุการใช้งาน 2 ปี)
- ลักษณะที่นอนเป็นโฟมนุ่มมีรูพรุนระบายอากาศ นุ่มนอนสบาย
- สามารถลดแรงกดทับของผู้ป่วยได้ค่อนข้างดีแม้นำหนักตัวเยอะ 150 กิโลกรัม
- ลดจำนวนครั้งเวลาในการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยได้
- ขณะจัดท่าหัวนอนสูงที่นอน SAWAKY ไม่เลื่อนไถลลงมา ที่นอนเรียบตึงตลอดเวลา
- ที่นอนไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ต้องคอยซ่อมบำรุง
- หมอน SAWAKY เป็นหมอนเสริมลดการกดทับป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่ศีรษะได้
ข้อเสีย
- ต้องถอดที่นอนไปซักด้วยมือ ซึ่งบางครั้งแม่บ้านไม่สะดวกจึงเป็นปัญหาในการทำความสะอาด (ซึ่งจะแนะนำให้โรงพยาบาลจัดหาวัสดุปลอกที่นอนที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วยไม่ให้ซึมเข้าที่นอนโฟมได้ และสามารถเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่สะดวกและรวดเร็วในการนำไปใช้ต่อในรายผู้ป่วยคนต่อไป)
TW : มีรูปจริงของแผลกดทับ
ระดมทุนสนับสนุนเพื่อการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งระยะระดมทุนโครงการออกเป็น 3 ช่วงระดมทุน ดังนี้ • ช่วงที่ 1 จัดระดมทุนจัดซื้อที่นอนนวัตกรรม จำนวน 30 ชุด จำนวนเงิน 300,000 บาท • ช่วงที่ 2 จัดระดมทุนจัดซื้อที่นอนนวัตกรรม จำนวน 70 ชุด จำนวนเงิน 700,000 บาท • ช่วงที่ 3 จัดระดมทุนจัดซื้อที่นอนนวัตกรรม จำนวน 105 ชุด จำนวนเงิน 1,050,000 บาท
โครงการนำร่องดำเนินการกับโรงพยาบาลกำแพงเพชร เปิดระดมทุนระยะแรกที่ 30 เตียง โดยผู้ดำเนินโครงการจะจัดหาอุปกรณ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับนวัตกรรมใช้กับวอร์ดต่างๆ ในโรงพยาบาล เพื่อนำไปเสริมบนเตียงผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เช่น ผู้ป่วยผ่าตัด ผู้ป่วยกระดูก ผู้ป่วยอุบัติเหตุ เป็นต้น และผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีเสี่ยงต่อการเกิดแผล ให้ได้ร้อยละ 50 ของจำนวนเตียง 410 เตียงในโรงพยาบาล
ผลิตที่นอนป้องกันแผลกดทับตามจำนวนความต้องการของโครงการ
ส่งมอบผลิตภัณฑ์
นำที่นอนลดแผลกดทับใช้ตามแผนปฏิบัติงานภายในโรงพยาบาล
จัดเก็บข้อมูล
ประชาสัมพันธ์โครงการให้สังคมรับรู้เรียนแบบ เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าที่นอนป้องกันแผลกดทับ นวัตกรรมไทย | 30ชุด | 300,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 300,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 30,000.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้