เงินบริจาคของคุณจะค่าอาหารเช้าให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี25คน
การดำเนินกิจกรรม
ช่วงเวลาดำเนินการ | กิจกรรม | ผลลัพท์ |
มิถุนายน 2565 | สำรวจจำนวนและสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชน | จำนวนเด็กที่มีสภาวะทุพโภชนาการในชุมชน จำนวน 23 คน เข้าใจสภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชน |
สิงหาคม 2565 |
|
|
กันยายน 2565 | พัฒนาแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ | ได้แนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ โดยการจัดทำอาหารเป็นพิเศษให้กับเด็กๆในกลุ่มเป้าหมาย 23 คน จากโรงครัวรวมของหมู่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน |
ตุลาคม - พฤศจิกายน 2565 กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2566 |
ส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการในชุมชนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงปัจจัยการส่งเสริมดูแลสุขภาพ
|
|
มิถุนายน 2566 | สรุปปิดโครงการ |
|
กิจกรรมที่ 1 สภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
สภาวะทุพโภชนาการของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นสภาวะทุพโภชนาการขาดสารอาหาร ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและไม่ครบถ้วน อีกทั้งได้รับน้อยกว่าต่อความต้องการของร่างกาย เช่น เด็กที่อยู่ในสภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากได้ขาดการบริโภคอย่างมีคุณภาพในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรับประทานอาหารไม่ครบสามมื้อ และแต่ละมื้อได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ จึงส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะผิดปกติ
ผลจากการศึกษา พบว่าเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ โดยมีการเจริญเติบโตไม่สมส่วนทั้งความสูงและน้ำหนักกับอายุ โดยมีลักษณะ คือ ค่อนข้างผอม ค่อนข้างเตี้ย เตี้ย และผอม รวมทั้งหมด 23 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 3 ปีถึง 12 ปี
รายการอาหารที่เด็กรับประทานในแต่ละมื้อ มีทั้งเหมือนและแตกต่างกัน แหล่งที่มาของอาหารที่เด็กบริโภคมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ จากครอบครัวปรุงเอง ซื้ออาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้า และจากโรงเรียน
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการประชุมออกแบบร่วมกับชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักวิชาการด้านโภชนาการเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ
สรุปแนวทางและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสภาวะทางทุพโภชนาการ ในระยะสั้น
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการในชุมชนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงปัจจัยการส่งเสริมดูแลสุขภาพ
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อโครงการ พบว่า ผู้ปกครองสามารถอธิบายการดำเนินกิจกรรมของโครงการได้อย่างครบถ้วนตามลำดับ และมีความพึงพอใจในทุกกิจกรรมของโครงการ ทั้งหมดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของลูก และการมีทะเลและได้ทำการประมงเป็นโอกาสในการสร้างความมั่นคงในอาหาร ซึ่งอย่างน้อยก็ทำให้มีอาหารบริโภคในแต่ละมื้อ
เพื่อสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร คือการดูแลฐานการผลิตให้มีความสมบูรณ์ ซึ่งหมู่บ้านบางตาวาแห่งนี้ พื้นที่ทั้งหมดติดกับทะเล แหล่งทำมาหากินคือทะเล