cover_1

มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะมื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อยให้กับเด็กและเยาวชน100คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
16 พ.ย. 2565

อัปเดตโครงการผลการดำเนินงานใน 2 โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน จ.เพชรบูรณ์

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

16 พ.ย. 2565 - 16 พ.ย. 2565

การดำเนินงานที่ผ่านมาได้เริ่มต้นใน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน ตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

วิธีการดำเนินงาน:

1. รูปแบบการจัดการครัวและจัดการอาหารสด โดยทำการให้องค์ความรู้ในการจัดซื้อ การจัดเก็บและการจัดการเมนูตามหลักโภชนาการ 

วัตถุประสงค์:

  1. เพื่อลดต้นทุนการผลิตทำให้ได้วัตถุดิบมาประกอบอาหารเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการได้รับอาหารมากขึ้น
  2. เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารตามหลักโภชนาการมากขึ้น

ผลลัพธ์:

  1.  จัดเมนู ล่วงหน้า 5 วัน ให้ได้มาตรฐานหลักโภชนาการ
  2.  ปรับเมนูตามวัตถุดิบที่เหลือได้อย่างคุ้มค่า
  3.  ซื้อเตาแก๊สพร้อมถังแก๊ส เพิ่มอีกชุด1 ชุด(เดิม มีแค่ 1 ชุด)

 

2. รูปแบบการผลิตวัตถุดิบการเกษตร โดยการจัดให้มีแปลงเกษตรอินทรีย์ และการจัดทำปุ๋ย/สารไล่แมลง ฯ 

วัตถุประสงค์:

  1.  เพื่อจัดการแปลงเกษตร
  2.  เพื่อลดต้นทุนและให้โรงเรียนมีความยั่งยืนด้วยการผลิตด้วยตนเอง

ผลลัพธ์:

  1. นักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกผักเพื่อเป็นอาหารกลางวัน เช่น ผักบุ้งจีน มะเขือเปราะ ผักกาดขาว
  2. หาพันธุ์ปลา นิล จำนวน 500 ตัว มาเลี้ยง สระหลังโรงเรียน และผลิตอาหารปลาเอง
  3. ปลูกกล้วยน้ำว้า มะละกอ ตะไคร้ กะเพรา รอบสระหลังโรงเรียน
1 ส.ค. 2565

อัปเดตโครงการความคืบหน้าใน 2 โรงเรียนของโครงการมื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 ส.ค. 2565 - 1 ส.ค. 2565

 ปี 2564 สถานการณ์โควิด ทำให้โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ จวบจนปัจจุบันทางคณะทำงานจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ได้เริ่มตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาโดยลงพื้นที่พูดคุยวางแผนรายละเอียดกับทางโรงเรียนทุ่งหินปูนและโรงเรียนบุฉนวน และโรงเรียนทุ่งหินปูน

สถานการณ์โรงเรียนทุ่งหินปูน ปัจจุบันทางโรงเรียนได้ค่าอาหาร 21 ต่อคนนักเรียนมีทั้งหมด 84 คน รวมทั้งสิ้นต่อมื้อคือ 1,764 บาท ซึ่งเงินส่วนนี้โรงเรียนใช้ทั้งซื้อวัตถุดิบอาหาร และค่าแก๊ส ทำให้เด็กไม่ค่อยได้รับประทานผลไม้หรือขนมหวาน เงินที่ได้รับจึงจะนำไปซื้อผลไม้และวัตถุดิบทำขนมหวานเพื่อให้เด็กได้กินหลังเลิกเรียนและนำเงินบางส่วนไปซื้อหัวแก๊สเพิ่มเพื่อให้แม่ครัวทำอาหารได้สะดวกมากขึ้น โดย

ด้านโรงเรียนบ้านบุฉนวน พบว่า โรงเรียนได้มีการวางแผนโภชนาการอาหารกลางวันได้ดีอยู่แล้วเ เด็กไม่ค่อยมีภาวะโภชนาการที่บกพร่อง เงินที่ได้รับมอบให้ไปเพิ่มในส่วนของกับข้าว นม ผลไม้เพิ่มให้เด็ก