cover_1

FLR349: ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง น้อมนำศาสตร์พระราชา ได้ป่าฟื้นคืน ได้อาชีพยั่งยืน ได้อาหารปลอดภัย

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand)องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand)
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนเกษตรกรเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และสร้างอาชีพยั่งยืนให้กับเกษตรกร100ครัวเรือน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

29 ก.ค. 2563 - 31 ม.ค. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

พื้นที่สวน/ป่า
3ผืน

สนับสนุนเกษตรกรเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และสร้างอาชีพยั่งยืน ด้วยรูปแบบการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

พร้อมดูแล รักษาต้นไม้ที่ปลูกเป็นระยะเวลา 6 ปี เพื่อจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ทำลายป่า สู่การปลูกไม้ป่าถาวร ไม้ผล และพืชผักสมุนไพรนานาชนิดแบบผสมผสาน โดยเชื่อมโยงตลาดรับซื้ออาหารอินทรีย์ และสร้างรายได้ สู่การยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรและชุมชน

ปัญหาสังคม

สถานการณ์การสูญเสียป่าต้นน้ำของไทยอยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะการขยายตัวของการทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ลาดชันซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ป่าต้นน้ำไม่น้อยกว่า 5 ล้านไร่ ที่ถูกเปลี่ยนทำลายเพื่อปลูกช้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เราต้องสูญเสียทรัพยากรป่าไม้อันมีค่า แหล่งกักเก็บน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุของภัยแล้ง ภาวะโลกร้อน ปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการแผ้วถางและเผาตอซัง สารเคมีปนเปื้อนดิน น้ำและอาหารจากการใช้สารเคมีเกษตรอย่างเข้มข้นตลอดการปลูกถึงการเก็บเกี่ยว และการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่าต้นน้ำไม่ได้ทำให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ แต่ยิ่งทำให้พวกเขาติดอยู่ในวงจรหนี้สินและมีสภาพการเป็นอยู่ที่แร้นแค้น เพราะต้นทุนการผลิตที่สูงและราคาขายที่ถูกกดต่ำกว่าท้องตลาด เกษตรกรบนพื้นที่ลาดชันมีรายได้โดยเฉลี่ยจากการปลูกข้าวโพดเพียงประประมาณ 1,500 บาทต่อไร่ต่อปีเท่านั้น ซึ่งยังไม่รวมถึงต้นทุนแฝงหรือภาระด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ถูกคิดคำนวณลงใปในต้นทุนการผลิต กล่าวคืออีกนัยหนึ่งคือ เราเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ต้นน้ำที่เป็นโอกาสในการสร้างระบบนิเวศบริการในราคาเพียง 1,500 บาทต่อไร่ต่อปี!! การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในไร่ข้าวโพดเชิงเดี่ยวในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกษตรกรได้รับสารเคมีผ่านเข้าทางเดินหายใจโดยตรง และหากมีฝนตกลงมา สารเคมีในไร่ข้าวโพดก็จะถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งมีปริมาณน้ำเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของแม่น้ำปิง และเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

วิธีการแก้ปัญหา

  1. โครงการ “FLR349” (Forest Landscape Restoration Fund 349) เป็นโครงการที่น้อมนำศาสตร์พระราชา การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการสร้างห่วงโซ่คุณค่าซึ่งเป็นโมเดลให้กับเกษตรกรในพื้นที่ป่าต้นน้ำ โครงการ FLR349 จะเป็นเสมือนพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการวิธีการทำเกษตรจากการทำพืชเชิงเดี่ยวรุกป่าใช้เคมีสูง สู่การทำเกษตรกรรมแบบบูรณาการในรูปแบบการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างนี้ จะนำมาซึ่งการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการแผ้วถางทำลายหน้าดิน ผ่านการปลูกและดูแลไม้ป่าถาวร ปลูกไม้ผล และพืชผัก สมุนไพรนานาชนิดแบบผสมผสาน เกื้อกูลฟื้นฟูสร้างระบบนิเวศ และเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน น้ำ และเอื้อต่อการผลิตอาหารที่หลากหลายและปลอดภัยต่อการผลิตและบริโภค เป็นการสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชนในการพึ่งพาตัวเอง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการยังชีพและสุขภาวะที่ฟื้นคืนกลับมา ซึ่งจะทำให้สามารถก้าวพ้นจากวงจรหนี้สิน และยังถือได้ว่าเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ Sustainable Development Goals (SDGs)

แผนการดำเนินงาน

  1. สร้างเครือข่ายภายใต้กลุ่ม/วิสาหกิจชุม/สหกรณ์/และอื่นๆ ที่ประสบปัญหาเรื่องการมีพื้นที่ทับซ้อนการใช้ประโยชน์ทำเกษรตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ป่า/พื้นที่ต้นชั้น 1, 2 และมีความสมัครใจที่ปรับเปลี่ยนเป็นการดำเนินการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

  2. สำรวจพื้นที่ พิกัด จำนวนพื้นที่แปลงที่เข้าสู่กระบวนการปลูกป่า การเดินสำรวจภาคสนามรอบขอบเขตแปลง และตรวจสอบข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม โดยการร่วมกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่และเจ้าหน้ากรมป่าไม้

  3. การเตรียมพื้นที่ปลูก โดยการกำจัดวัชพืช ถางแนวปลูกต้นไม้ ปักหลักหมายแนวปลูก ขุดหลุม ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม และการเตรียมปุ๋ยหมักอินทรีย์ในพื้นที่เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์

  4. การขุดแนวคลองใส้ไก่ สร้างบ่อพลวง และจุดกักเก็บน้ำในพื้นที่ โดยใช้เครื่องจักรและการวางแผนการจัดการผังบริเวณการใช้ประโยชน์พื้นที่

  5. เตรียมกล้าไม้ ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ จากกล้าไม้ที่เพาะในโรงเรือนเพาะชำ ขุดแยกกล้วยและตัดแต่งหน่อเพื่อการปลูก และการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ โดยการยกร่องการปลูกพืชสมุนไพร พืชพื้นล่าง

  6. ปลูกป่า ที่มี ไม้ป่า ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ และพืชผลทางเกษตรในรูปแบบอินทรีย์

  7. นำข้อมูลการปลูกลงฐานข้อมูลการติดตามการเจริญเติบโต ผ่านระบบดาวเทียม โดยการอัพเดตผ่าน QR code ที่ติดกับต้นไม้ที่ปลูกซึ่งจะมีการอัพเดตอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

  8. การบำรุงรักษา ดูแลพื้นที่ โดยการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยหมักรอบโคนต้น และตัดแต่งกิ่งเพื่อลดการคายน้ำของกล้าไม้ที่ปลูก

  9. การป้องกันระวังไฟ สร้างแนวกันไฟ รอบพื้นที่แปลงขนาด 4-6 เมตร ในบริเวณจุดเสี่ยงที่เกิดไฟป่า จัดเวรยามระวังไฟ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับดับไฟป่า

  10. สร้างเครือข่ายการจัดการผลผลิตที่เกิดจากพื้นที่ ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ และวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานในพื้นที่ ตามรูปแบบอาหารเพื่อพื้นถิ่น ( Local Food) โดยการขายผลผลิตให้กับโรงเรียน ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ตลาดในชุมชน และตลาดสินค้าเกษตร

  11. การติดตามประเมินผลการทำงาน การเจริญเติบโตของกล้าไม้ อัตรารอดตาย การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ การตลาดในพื้นที่ รายได้และความกินดีอยู่ดีของเกษตรกร

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
.ค่าพันธุ์ไม้ และขนส่ง

กล้วย โกโก้หรือไม้ผลเศรษฐกิจอื่น ไม้ผล ไม้ป่า

100ไร่565,000.00
ค่าเตรียมพื้นที่

100ไร่200,000.00
ค่าจ้างเกษตรกรดูแลป่าต้นน้ำระยะเวลา 6 ปี

100ไร่1,200,000.00
ค่าบริหารจัดการ ติดตาม ประเมินผล

100ไร่600,000.00
เงินสะสมเข้ากองทุน (ค่าปลูกซ่อม จัดทำแนวกันไฟ เวรยามป้องกันระวังไฟ)

100ไร่435,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด3,000,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)300,000.00
ยอดระดมทุน
3,300,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand)

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF Thailand)

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon