empty image

เสื้อดำ...ธรรมดี พัฒนาโรงเรียนเพื่อน้องในพื้นที่ห่างไกล ครั้งที่ 10

เทใจเทใจ

เงินบริจาคของคุณจะให้กับ

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

19 ม.ค. 2559 - 14 ธ.ค. 2558

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

โครงการ “เสื้อดำ...ธรรมดี” มีความเชื่อว่า ธรรมดี คือ การสร้างคุณค่าด้านคุณธรรมกับมนุษย์ ให้มีจริยธรรมในการส่งเสริมศีลธรรมอย่างถ่องแท้ ในตัวตน ภายใต้หลักธรรมในกรอบศาสนาที่พึ่งควรปฏิบัติ ตามขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ที่สืบทอดกันมา ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านจิตอาสาพัฒนาชุมชน เรียนรู้ที่จะศึกษาและดำเนินชีวิตอยู่กับ ธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน รู้จักที่จะเป็นผู้ให้อย่างเสียสละ และต้องเป็นผู้รับอย่างถ่อมตน

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

โครงการ “เสื้อดำ...ธรรมดี” เกิดขึ้นภายใต้องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็น จิตอาสา เสริมสร้างคุณค่า ความเป็นมนุษย์ จัดตั้งขึ้นมาครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2552 โดยเริ่มจากหมู่บ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ภายใต้กรอบของนิยามที่ว่า ธรรมดี คือ การสร้างคุณค่าด้านคุณธรรมกับมนุษย์ ให้มีจริยธรรมในการส่งเสริมศีลธรรมอย่างถ่องแท้ ในตัวตน ภายใต้หลักธรรมในกรอบศาสนาที่พึ่งควรปฏิบัติ ตามขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ที่สืบทอดกันมา ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านจิตอาสาพัฒนาชุมชน เรียนรู้ที่จะศึกษาและดำเนินชีวิตอยู่กับ ธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน รู้จักที่จะเป็นผู้ให้อย่างเสียสละ และต้องเป็นผู้รับอย่างถ่อมตน
โครงการเสื้อดำ...ธรรมดี พัฒนาโรงเรียนเพื่อน้องในพื้นที่ห่างไกล ครั้งที่ 10 นี้เกิดขึ้นจากที่เราได้ไปลงพื้นที่พัฒนาโรงเรียนทีซวยคีตําบลแม่อุสุอําเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างไกลและไม่สะดวกสบายเป็นอย่างมาก แต่ตลอดการใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียน บทเรียนที่เราได้เรียนรู้นอกจากการเป็นผู้ให้ที่ดีแล้ว เรายังเห็นและเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างกันไประหว่างคนเมืองกับคนนอกเมือง บางครั้งสิ่งที่เรามีและดูเหมือนไม่มีค่าแต่กลับมีคุณค่ามากมายสําหรับน้อง ๆ และชาวบ้านทีซวยคีและเราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณครูที่ดูแลทำให้ทราบว่ายังมีโรงเรียนในกลุ่ม กลุ่มอุสุโพคี อีกกว่า 12 โรงเรียน (กลุ่มโรงเรียนที่สมเด็จย่าท่านก่อตั้งและเคยอุปถัมภ์)ที่ยังมีความขาดแคลนในปัจจัยทั้งโครงสร้างของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องครัว   รวมไปถึงอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนต่างๆ เราเลยตั้งเป้ากันที่จะพยายามเข้าไปพัฒนาโรงเรียนในกลุ่มกลุ่มอุสุโพคี ให้ได้อย่างน้อยปี ละ 2 โรงเรียน จนครบทั้ง 12 โรงเรียนครับ
โดยเราหวังกันว่าหลังจากได้ดำเนินกิจกรรมครั้งนี้แล้ว ในกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการเองเราหวังอยากให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้ เกิดการเรียนรู้วิเคราะห์ เข้าใจวิถีชีวิต เข้าใจธรรมชาติ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ได้เกิดการพัฒนายกระดับจิตใจ เพื่อที่จะเป็นผู้ให้อย่างเสียสละ และต้องเป็นผู้รับอย่างถ่อมตน
ในส่วนของโรงเรียนเองเราคาดหวังอยากให้เด็กๆคุณครูรวมถึงชาวบ้านได้มีห้องสมุดมีห้องน้ำมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมในการใช้งาน ได้เกิดการชุบชูจิตใจว่าถึงแม้เค้าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีความยากลำบากในการเข้าถึง แต่ก็ยังมีคนกลุ่มเล็กๆที่นึกถึงเค้า ทั้งยังเป็นการปลูกฝังจิตสํานึกของคนรุ่นใหม่ให้น้อมนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว ภูมิพลอดุลยเดช มาปรับใช้ในหมู่บ้าน ให้ได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของโครงการ :

1 สร้างคุณธรรมและจริยธรรมที่มาของการจัดโครงการนี้ขึ้นมาลำดับแรกคือ เราต้องการที่จะสร้างกลุ่มคนที่มีใจรัก งานด้านจิตอาสา เป็นคนจิตดี คิดดี รู้จักเรียนรู้ ใจเย็น ซึ่งคนที่มาเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่แต่เดิมก็มี พื้นในด้านที่กล่าวมาแล้ว เราเพียงสร้างกิจกรรมให้สอดคล้องกับความชื่นชอบ ปลูกฝังคุณธรรมและ จริยธรรมด้าน “จิตอาสา” คือ การเรียนรู้ที่จะ “เสียสละ” ทั้งแรงกายพร้อมที่จะทำงานที่เราอาจไม่เคย ได้ทำมาก่อน “จิตใจ” ที่ต้องพร้อมสำหรับการเดินทางไกล กินอยู่หลับนอนไม่ได้สุขสบาย บางครั้งอาจจะ ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้าให้ใช้ “เวลา” เป็นเรื่องสำคัญเพราะการทำแต่ละโครงการเราต้องใช้เวลา 3-5วันขึ้นไป และ “ทุนทรัพย์ ” ที่เรามีอยู่จำกัดพื้นฐานพวกเราไม่ได้เป็นคนมีฐานะร่ำรวย หรือมีธุรกิจส่วนตัว เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำไปคือการเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน หากเราเข้าใจตรงกัน ก็จะทำให้การดำเนิน โครงการเป็นไปอย่างสำเร็จเรียบร้อย

2 สร้างศีลธรรมตามกรอบศาสนาทุกศาสนามีหลักธรรมคำสอนที่มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง แต่มี บางสิ่งที่เราเชื่อว่าทุกศาสนาจะต้องมี นั่นคือ “การเป็นผู้ให้” และ “การช่วยเหลือเกื้อกูล” การดำเนิน โครงการของเสื้อดำ...ธรรมดีนั้น เรามักจะเน้นในด้านการพัฒนาโครงสร้างอาคารเรียน พื้นที่การเกษตร ห้องสมุด รวมไปถึงการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมเชิงสันทนาการกับน้อง ๆ ตามโรงเรียน หรือชาวบ้านในหมู่บ้าน ซึ่ง มองดูแล้วก็เหมือนกับกลุ่มหรือองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามาท า เราไม่ได้วัดกันที่ความเหมือนหรืออะไรที่แตกต่าง แต่เรามองกันที่ความจริงใจที่จะทำ ความพร้อมที่จะให้ และสิ่งดี ๆ เหล่านั้นเราคาดหวังให้นักเรียน โรงเรียน และชาวบ้านนำไปช่วยกันพัฒนาโรงเรียน หมู่บ้านและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องจากการที่พวกเขา เหล่านั้นเป็นผู้รับก็จะกลับเป็นผู้ให้และรู้จักช่วยเหลือกันมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้ ด้วยคนในท้องถิ่นเองอย่างยั่งยืน

3 สร้างจิตสำนึกด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมการลงพื้นที่ในการดำเนินโครงการแต่ละ ครั้ง เราต้องเข้าใจว่าแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มีความ หลากหลายของความเป็นอยู่ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น การบ้านข้อแรกก่อนการเดินทางที่เราจะต้องทำการบ้าน ศึกษาข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน เพื่อที่เข้าไปแล้วจะ ได้ไม่ลงไปทำให้พื้นที่เกิดความเสียหาย หรือใช้สำนวนว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” ข้อมูลใน เชิงประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม เป็นสิ่งสำคัญที่คนในพื้นที่เคารพ และถือปฏิบัติกันมายาวนาน เราถือว่าเป็นคนแปลกหน้า แปลกถิ่นที่เข้าไป เพราะฉะนั้นทำอย่างไรที่จะธำรงรักษาสิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ และสืบทอดต่อไป โดยที่การดำเนินโครงการนั้นจะไม่สาดสีใส่ไข่ เสริมเติมแต่งในสิ่งที่ชาวบ้านเคยยึดถือเสื่อมหายไป

4 สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามวิถีธรรมชาติท้ายที่สุดสำหรับการดำเนินโครงการคือ “การได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ระหว่างสมาชิกที่เข้าร่วมในโครงการ เด็ก ๆ และชาวบ้านในหมู่บ้าน รวมไปถึง หน่วยงาน องค์กร หรือสถาบันที่ให้การสนับสนุน ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจมาจากการสังเกตการณ์ พูดคุยสอบถาม หรือแม้แต่จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ โดยเรื่องราวที่แลกเปลี่ยนกันนั้นช่วยเสริมสร้างสุนทรียะทางการเรียนรู้จากการใช้ชีวิตของชาวบ้านที่อยู่กันด้วยวิถีธรรมชาติ ภูมิปัญญาของการ ดำรงชีวิตที่สืบทอดกันมา และการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในท้องถิ่น สิ่งเรานี้จะช่วยปลูกฝัง ความมีจิตอาสาให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เกิดความใฝ่รู้และอยากที่จะค้นหาและเดินทางต่อ

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

1) ระดมทุนจากผู้ที่สนในจะสนับสนุนเพื่อนำไปปรับปรุงอาคารหอสมุด จำนวน 1 หลัง และจัดสร้างห้องน้ำจำนวน 2 ห้อง

2) การสำรวจพื้นที่ในหมู่บ้าน 24 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมู่บ้าน 87 คน มีนักเรียนในโรงเรียน 14 คน และพูดคุยถึงความต้องการของโรงเรียนตะโขะบี้ ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตากได้ดังนี้

สำหรับโรงเรียน

1.สื่อการเรียนการสอน

2.ป้ายข้อมูลโรงเรียน/ป้ายชื่อโรงเรียน

3.อุปกรณ์การเรียน/เครื่องเขียน

4.ฟิวเจอร์บอร์ด/กระดาษแข็ง/กระดาษโปสเตอร์

5.ชั้นวางหนังสือ

6.หนังสือแบบเรียน/หนังสืออ่านเล่น

7.ธงชาติไทย/เชือก

8.อุปกรณ์กีฬาไม้แบต/ตะกร้อ/ฟุตบอล/วอลเลย์บอล

9.ไม้กวาดทางมะพร้าว/ดอกหญ้า

10.แปรงขัด/ล้างห้องน้ำ

11.มีด/เขียง/กะทะ

ด้านโครงสร้าง

1.ทาสีอาคารหอสมุด/เพ้นท์ลวดลาย

2.มุมเด็กเล็กมีสีสันน่าสนใจ

3.งบประมาณในการสร้างห้องน้ำ

ชาวบ้านในหมู่บ้าน

1.ผ้าห่ม

2.ยาสามัญประจำบ้าน

3.เสื้อผ้าเด็ก/ผู้ใหญ่

4.ถุงเท้ากันหนาวเด็ก/ผู้ใหญ่

5.เมล็ดพันธุ์พืช/ผักสวนครัว/กวางตุ้ง

6.แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แป้ง ยาสระผม

7.ยาฆ่าเหา

8.ผ้าอนามัย

3) กิจกรรมสันทนาการกับน้อง ๆ นักเรียนและคนในหมู่บ้าน รวมทั้งการแสดงละครหุ่นมือ และนิทานไฟฉายที่นำเสนอเรื่องราวหลักธรรมคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

สมาชิกภายในทีม :

สมาชิกหลักประกอบด้วย 

1 นายอาชวิชญ์ กฤษณสุวรรณ (เต้ย) Aachavit Krishnasuvarna (Toey) เบอร์ติดต่อ 08-1615-0034 email: aachavit@gmail.com

เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้อย่างเสียสละและเป็นผู้รับอย่างถ่อมตน คือ สิ่งที่เรียนรู้มาตลอดชีวิตจากการปลูกฝังจากครอบครัว การเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลในโรงเรียนที่อยู่ในกรอบระเบียบที่มีคุณครูดี ทำให้ทั้งชีวิตต่อจากนี้อยากที่จะอุทิศตนทำงานเพื่อสังคมและชุมชน

2 นายนุห์ชาล์ ปาลาเลย์ (ชา) Nucha Palalay (Cha)

ผมนับถือศาสนาอิสลาม เป็นลูกเสี้ยวปากีสถาน แต่ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี ผมเลยเชื่อว่าการที่เราได้นำสิ่งที่เราทำเป็น และได้นำประสบการณ์เหล่านี้ไปช่วยเหลือคนอื่นๆนั้นคือสิ่งที่ผมเลือกแล้วที่จะทำดีครับ

3 นางสาววรัญญา สุนทรแต (จูน) Warunya Soontorntae (June) เบอร์ติดต่อ 08-3018-1351/08-3501-4055 email: warunya.roon@gmail.com

จบปริญญาตรีทางด้านศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เลยอยากใช้สื่อจากศิลปะการละครมาแบ่งปันความสุขให้น้อง ๆ ที่ห่างไกล ทำให้ได้เรียนรู้ชีวิตของคนอื่น หนูชอบบรรยากาศบนดอย ชอบเด็กๆ และอยากแบ่งปันอะไรที่เราพอมีบ้างที่ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง

4 นางสาวกมลภู เต็มทรัพย์อนันต์ วุ้นKamonpoo Temsupanan (Woon) เบอร์ติดต่อ 08-4668-3884 email: w.woonn_@hotmail.co.th

ชอบงานด้านดีไซน์ ชอบวาดรูปขีดเขียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทุกครั้งที่ได้ไปร่วมโครงการ นอกจากนี้ตัวเองชอบอะไรที่ลุย ๆ อยู่แล้ว อยากทำงานอาสา พอมีกิจกรรมนี้ขึ้นได้ทำร่วมกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ก็ยิ่งสบายใจ ถ้าว่างก็อยากจะไปร่วมด้วยทุกครั้ง

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/blackthumdee/

ภาคี :

เครือข่ายจิตอาสาที่ทำงานร่วมกันสม่ำเสมอ BU The Creative Gang

https://www.facebook.com/creativespacecreativejourney/

https://www.facebook.com/buthecreative/?fref=ts

รายการจำนวนราคารวม (บาท)

1.ค่าวัสดุงานโครงสร้าง

- ไม้
- สังกะสี
- ปูน
- อิฐบล็อก
- ตะปู4นิ้ว
- ตะปูสังกะสี
- ประตูห้องน้ำ
- กลอนประตู
- สีทาปูนเก่า
- สีน้ำพลาสติก (ขาว)
- สีน้ำพลาสติก (น้ำเงิน/แดง/เหลือง/ดำ)
- แปรงทาสี
- พู่กัน
- กระดาษทราย
 
 
3,600.- 
2,910.-
2,400.-
1,930.-
200.-
60.-
3,000.-
20.-
1,250.-
1,600.-
1,200.-
500.-
300.-
200.-
19,170
 
2.ค่าขนส่ง (3เที่ยว) 6,000
3.ค่าหนังสือแบบเรียน/หนังสืออ่าน  -
4.ค่าสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์การเรียน 5,000
5.ค่าผ้าห่มกันหนาว 15,000
6.ค่าอาหารกลางวันเลี้ยงน้องๆ นักเรียน 5,000
7. ค่าธรรมเนียมTaejai.com10% 
รวมเป็นเงินทั้งหมด 55,187

 

การศึกษา

Cover

วิธีการแก้ปัญหา

    แผนการดำเนินงาน

      แผนการใช้เงิน

      รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
      รวมเป็นเงินทั้งหมด0.00
      ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)0.00
      ยอดระดมทุน
      0.00

      ผู้รับผิดชอบโครงการ

      เทใจ

      เทใจ

      สร้างเพจระดมทุน

      ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

      สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
      icon