cover_1
โครงการใหม่

หมู่บ้านปลอดการเผา (Haze Free Reward)

สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปสนับสนุนอุปกรณ์ดับไฟป่าให้กับชุมชนที่สามารถรักษาพื้นที่ของตนให้ ปลอดควันไฟ (Zero Burn)100หมู่บ้าน

ระยะเวลาระดมทุน

8 เม.ย. 2568 - 30 มิ.ย. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLIMATE ACTIONLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ชุมชน/หมู่บ้าน
100แห่ง
พื้นที่สวน/ป่า
350,000ไร่

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้กลายเป็นวิกฤติสำคัญของประเทศ โดยมีสาเหตุมาจากไฟป่าและการเผาวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่โล่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่และภูมิภาคโดยรวม เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาดังกล่าว บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ “หมู่บ้านปลอดการเผา” อย่างต่อเนื่อง เป็นครั้งที่ 3 โดยใช้แนวทาง "Reward-based" ซึ่งเป็นการมอบรางวัลแก่ชุมชนที่สามารถรักษาพื้นที่ของตนให้ ปลอดควันไฟ (Zero Burn) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนร่วมมือกันป้องกันการเผาอย่างจริงจัง ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมด 25 อำเภอ 204 ตำบลและ 2,066 หมู่บ้านโดยในปี 2568 ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ มีหมู่บ้านที่สมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 175 หมู่บ้าน จากพื้นที่ อำเภอดอยสะเก็ด อมก๋อย สันกำแพง แม่อาย กัลยาณิวัฒนา เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือของชุมชนและความตระหนักถึงปัญหาหมอกควัน อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน จึงขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา สร้างสิ่งแวดล้อมและประเทศที่น่าอยู่

*เงื่อนไขในการประเมินหมู่บ้านปลอดการเผา*

  1. พื้นที่ของแต่ละหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการประเมินโดยใช้ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) และพื้นที่เผาไหม้ (Burn scar) จากดาวเทียมระบบ VIIRS
  2. ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 – 30 มิถุนายน 2568 จะต้องไม่พบจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ของหมู่บ้านที่นำเข้าร่วมโครงการ

*เงื่อนไขในการพิจารณาการให้รางวัล*

  1. หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านปลอดการเผา ครั้งที่ 3 ที่ไม่มีจุดความร้อนจากข้อมูลดาวเทียม VIIRS ในพื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านตลอดระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 (ลดจุดความร้อนในพื้นที่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์) จะได้รับรางวัลตามความต้องการที่หมู่บ้านเสนอมา รวมมูลค่า 25,000 บาท โดยอาจเลือกเป็นของรางวัลเพื่อการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพเพื่อลดการพึ่งพาไฟ หรือของรางวัลเพื่อสนับสนุนและต่อยอดโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการไฟ
  2. การให้รางวัลสำหรับหมู่บ้านที่ไม่มีจุดความร้อนตลอดระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ จะพิจารณาจากลำดับในการลงทะเบียนในระบบ โดยจะจัดสรรรางวัลตามลำดับดังกล่าว ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนเงินสนับสนุนจากผู้สนับสนุน (Sponsor) ที่ได้มาในครั้งนี้
  3. ผลการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการโครงการฯ ถือเป็นสิ้นสุด

**การจัดสรรรางวัลดังกล่าว ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินสนับสนุน (บริจาค) ที่ได้รับจาก Sponsor เป็นหลัก

 

ปัญหาสังคม

สถิติข้อมูลจากดาวเทียมบางส่วนระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ PM 2.5 ในประเทศไทยช่วงปี 2541 – 2559 มีค่าความเข้มข้นกระจุกในพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก โดยเฉพาะน่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ในจุดเสี่ยงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานมานานเกือบ 20 ปี

เมื่อย้อนไป วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เว็บไซต์ IQ Air รายงานว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีฝุ่นมลพิษ PM 2.5 เป็นอันดับหนึ่งของโลก และอยู่ในภาวะวิกฤตเรื่อยมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อนซึ่งปัญหาเกิดจาก

  1. การเผาในที่โล่งจำพวกพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตร และกองขยะ
  2. การเผาวัสดุการเกษตร เผาเพื่อเตรียมทำไร่ หาของป่า จับจองพื้นที่ หรือเพื่อจัดการพื้นที่ป่ารกร้าง เช่น แปลงนาข้าวและข้าวโพด เผาไร่อ้อย การเผาป่าเพื่อเก็บเห็ดเผาะและของป่า เป็นต้น
  3. ไฟป่าธรรมชาติ
  4. สภาพอากาศที่ปิด : ในบางกรณีที่มีสภาพอากาศที่อากาศไม่สามารถระบายออกได้ (เช่น อากาศเย็นจัด หรืออากาศนิ่ง

ทั้งนี้ ปัญหาหมอกควัน PM2.5 เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาป่า, การขนส่ง, อุตสาหกรรม และการเกษตรกรรม รวมไปถึงปัจจัยทางธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดหมอกควัน ฝุ่นละออง PM2.5 ปลิวไปในอากาศ ส่งผลให้เกิดมลพิษที่อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. 1. ใช้ดาวเทียมตรวจจับจุดความร้อน (Hotspot) และบันทึกข้อมูลว่าหมู่บ้านใดมีการเผาหรือไม่

  2. 2. การใช้ดาวเทียมช่วยติดตามจุดความร้อนแบบเรียลไทม์ทำให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. 3. หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการจะมีแรงจูงใจในการป้องกันการเผา เพื่อให้ได้รับรางวัล และเมื่อมีรางวัลเป็นแรงจูงใจ ชุมชนจะเฝ้าระวังกันเองเพื่อลดการเผา

  4. 4. หมู่บ้านที่ต้องรักษาสถานะ Zero Burn จะช่วยกันเฝ้าระวังไฟป่า และชุมชนช่วยกันสอดส่องทำให้ดับไฟได้อย่างรวดเร็วก่อนที่ไฟจะลุกลาม

  5. 5. ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมด 25 อำเภอ 204 ตำบลและ 2,066 หมู่บ้าน โดยในปี 2568 มีหมู่บ้านที่สมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 175 หมู่บ้าน จากพื้นที่ อำเภอดอยสะเก็ด อมก๋อย สันกำแพง แม่อาย กัลยาณิวัฒนา เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือของชุมชนและความตระหนักถึงปัญหาหมอกควัน อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสุขภาพประชาชน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่และภูมิภาคโดยรวมที่ดีขึ้น

แผนการดำเนินงาน

  1. ม.ค. - มิ.ย. 2568

    13 มกราคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
รางวัลแก่ชุมชนที่สามารถรักษาพื้นที่ของตนให้ ปลอดควันไฟ (Zero Burn)

ของรางวัลเช่น เครื่องเป่าลมทำแนวกันไฟ เครื่องตัดหญ้า เครื่องบดกิ่งไม้ กล้าไม้สำหรับเพาะปลูก เป็นต้น

25,000100 หมู่บ้าน2,500,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด2,500,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)250,000.00
ยอดระดมทุน
2,750,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

บริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (“CSE”) ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2559 ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ 0505559015704 โดยมีกรรมการ ได้แก่ นายองอาจ กิตติคุณชัย นายชัดชาญ เอกชัยพัฒนกุล และนายอนุชา มีเกียรติชัยกุล เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโดยมุ่งพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และนำผลกำไรทั้งหมดไปลงทุนเพื่อประโยชน์ของสังคมและพัฒนาระบบงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) แก่สังคมโดยส่วนรวม และไม่แบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้น ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้กลายเป็นวิกฤติสำคัญของประเทศ โดยมีสาเหตุมาจากไฟป่าและการเผาวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่โล่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่และภูมิภาคโดยรวม เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาดังกล่าว บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ “หมู่บ้านปลอดการเผา” อย่างต่อเนื่อง เป็นครั้งที่ 3 โดยใช้แนวทาง "Reward-based" ซึ่งเป็นการมอบรางวัลแก่ชุมชนที่สามารถรักษาพื้นที่ของตนให้ ปลอดควันไฟ (Zero Burn) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนร่วมมือกันป้องกันการเผาอย่างจริงจัง ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมด 25 อำเภอ 204 ตำบลและ 2,066 ซึ่งบริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (“CSE”) โดยหมู่บ้านในปีนี้ มีหมู่บ้านที่สมัครเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 175 หมู่บ้าน จากพื้นที่อาธิเช่น อำเภอดอยสะเก็ด อมก๋อย สันกำแพง แม่อาย กัลยาณิวัฒนา เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือของชุมชนและความตระหนักถึงปัญหาหมอกควัน อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่ 13 มกราคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568 **เงื่อนไขการให้รางวัล** 1.หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านปลอดการเผา ครั้งที่ 3 ที่ไม่มีจุดความร้อนจากข้อมูลดาวเทียม VIIRS ในพื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านตลอดระยะเวลาเข้าร่วมโครงการตามระยะเวลาดังกล่าว Zero Burn จะได้รับรางวัลตามความต้องการที่หมู่บ้านเสนอมา รวมมูลค่าหมู่บ้านละ 25,000 บาท 2.การให้รางวัลสำหรับหมู่บ้านตามข้อ 1. จะพิจารณาจากเงินสนับสนุนของ Sponsor หากโครงการนี้สำเร็จจะทำให้เรารักษาผืนป่า อากาศ และสิ่งแวดล้อม ได้มากมาย อีกทั้งทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น **ผู้บริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า**

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon