เงินบริจาคของคุณจะค่าใช้จ่าย ออกแบบ ประกอบ ทดสอบหมวกป้องกันเชื้อ (PAPR)ให้กับบุคลากรทางการแพทย์200ชุด
ด้วยการจัดทำหมวกป้องกันเชื้อ (PAPR: Powered Air Purifying Respirator) พร้อมชุดกรองจ่ายอากาศบริสุทธิ์ เปรียบเสมือนการสร้างอากาศปลอดเชื้อให้บุคลากรทางการแพทย์ โดยมี Air Flow เพียงพอตลอดระยะเวลาทำงาน เพิ่มความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกับชุด PPE ในภาวะที่ต้องเข้าห้องความดันลบเพื่อรักษาคนไข้โควิดทุกกรณี รวมถึงช่วยให้การปฏิบัติภารกิจขนส่งผู้ป่วยมีความสะดวกสบายมากขึ้น เราจึงจัดตั้งโครงการ “ผลิตหมวกป้องกันเชื้อ (PAPR) เพื่อบุคลากรทางการแพทย์” ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิเขื่อนยันฮี ร่วมกับ ผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้บุคลากรทางการแพทย์มีไว้ใช้ส่วนตัว ไม่ต้องใช้ร่วมกัน จำนวน 200 ชุด ซึ่งคาดว่าจะใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดได้กว่า 40,000 คน เราจะทำจนสุดกำลัง
เมื่อสถานการณ์โควิดที่รุนแรงขึ้นในปี 2564 มียอดผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล 29,765 ราย และผู้เสียชีวิต 31 ราย (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2564) ด้านโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ซึ่งเป็นด่านหน้าในการรับมือนี้ ขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน อีกทั้งยังได้รับความไม่สะดวกสบายจากข้อจำกัดของชุด PPE ซึ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงระหว่างปฏิบัติงานได้ เช่น อ่อนล้า เป็นลม เป็นต้น
การรักษาผู้ป่วยในภาวะโควิด ตั้งแต่ปี 2563 มีการขยาย ก่อสร้างห้องความดันลบ ระบบการรองรับผู้ป่วยทางเดินโรคหายใจเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ในการระดมทุนครั้งนี้ จึงเน้นไปที่การเพิ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อผู้ป่วยในภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติงาน อาทิ การใส่ท่อหายใจให้ผู้ป่วยในห้อง ICU, การผ่าตัดผู้ป่วยโควิด, การทำวิสัญญีผู้ป่วย, การปฏิบัติงานทุกภารกิจในห้องความดันลบ เป็นต้น มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มาตรฐานทางการแพทย์ ซึ่งคือ Powered Air Purifying Respirator (PAPR) การเพิ่มขึ้นของห้องความดันลบเพื่อการแยกผู้ป่วยในโรงพยาบาลหลายแห่ง จึงต้องการการใช้งาน PAPR โครงการนี้จึงเข้าไปช่วยสนับสนุนในจุดที่ขาดอุปกรณ์ และสั่งซื้อไม่ได้ทันเวลา เนื่องจากมีภาวะขาดแคลนซึ่งเป็นปัญหาโควิดของทั่วโลก
อีกทั้ง ในภาวะที่การระบาดสามารถเกิดได้กับทุกคน โดยไม่สามารถระบุแหล่งคลัสเตอร์ได้อย่างชัดเจนนั้น บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงเกิดการติดเชื้อ และต้องมีการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงนั้น ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เหลืออยู่ปัจจุบัน อาจต้องทำงานในระยะเวลาที่นานขึ้น เช่น การขนย้ายผู้ป่วยโควิดทั้งในและนอกอาคาร เมื่อแพทย์ที่ต้องใส่ชุด PPE ตลอดระยะเวลาการทำงาน ทำให้อากาศที่หายใจอาจไม่เพียงพอ โครงการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการใช้งาน PAPR สำหรับภารกิจในสถานการณ์ฉุกเฉินขณะนี้ด้วย เพื่อเพิ่มอากาศที่ไม่ติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน
โครงการนี้จึงวางแผนการผลิตและประกอบชุด PAPR ตลอดจนทดสอบตามมาตรฐานก่อนจัดส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ในต้นทุนประมาณการที่ 5,000 บาทต่อชุด โดยค่าใช้จ่าย ออกแบบ ประกอบ ทดสอบ หมวกป้องกันเชื้อ (PAPR) และค่าใช้จ่ายการส่งไปยังโรงพยาบาลตามที่กำหนด สนับสนุนจากภาคีเครือข่าย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
จัดประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเขื่อนยันฮี และภาคีที่เกี่ยวข้อง – จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจ กำหนดและวางแผนกิจกรรมร่วมกับทีมปฏิบัติงานผลิต PAPR
จัดซื้ออุปกรณ์ ประสานงานพันธมิตร – จัดส่งให้กับโรงงานเพื่อการประกอบ PAPR
หน่วยผลิตแยก Line การผลิต - 1) Powered Air System, 2) Face Shield Hood with Breathing Tube, 3) Control Box and Power Charger
หน่วยประกอบ PAPR และทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนด
จัดส่งไปยังโรงพยาบาลที่กำหนด
มีการเฝ้าติดตามผล – รายงานความก้าวหน้าต่อ คณะกรรมการมูลนิธิ และภาคีที่เกี่ยวข้อง
มีการรับ Feedback จากบุคลากรทางการแพทย์ผู้ใช้งาน และประเมินผลการดำเนินกิจกรรม - รายงานสรุปต่อ คณะกรรมการมูลนิธิ และภาคีที่เกี่ยวข้อง
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าใช้จ่าย ออกแบบ ประกอบ ทดสอบหมวกป้องกันเชื้อ (PAPR) และค่าใช้จ่ายในการส่งไปยังโรงพยาบาล (จากภาคีเครือข่าย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) | 200ชุด | 0.00 |
Powered Air System (2,000 บาทต่อชุด) | 200ชุด | 400,000.00 |
Control Box and Power Charger (2,000 บาทต่อชุด) | 200ชุด | 400,000.00 |
Face shield Hood with Breathing Tube (1,000 บาทต่อชุด) | 200ชุด | 200,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 1,000,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 100,000.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้