cover_1
โครงการใหม่

ดนตรีพลังบวก (วงปล่อยแก่, วงเด็กภูมิดี)

เด็กและเยาวชน
ผู้สูงอายุ

เงินบริจาคของคุณจะนำกิจกรรมดนตรีเพื่อสร้างการพัฒนาศักยภาพ สุขภาพ และสุนทรียภาพให้กับผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน1,000คน

ระยะเวลาระดมทุน

26 ส.ค. 2567 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATION

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้สูงอายุ
480คน
เด็กและเยาวชน
480คน

มูลนิธิอาจารย์ เจริญสุข เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่างทางสังคม โดยการนำกิจกรรมดนตรีให้เข้าถึง กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ขาดโอกาสเพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมทางดนตรีซึ่งจะสามารถสร้างการพัฒนาศักยภาพ สุขภาพ และสุนทรียภาพ เราเชื่อว่าโครงการนี้จะทำให้เด็กและผู้สูงวัยได้ประโยชน์ดังนี้

  1. สร้างการเรียนรู้ดนตรีขั้นพื้นฐาน (ดนตรีสากล, ดนตรีไทย) เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาดนตรีอย่างถูกต้อง
  2. สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงสร้างทัศนคติที่ดีต่อดนตรี (ดนตรีสากล, ดนตรีไทย) เพิ่มเเรงจูงใจในการเรียนรู้ 
  3. สร้างวินัย ความอดทน และการเข้าร่วมสังคมในปัจจุบัน โดยอาศัยดนตรีเป็นสื่อ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ 

นอกจากนี้ยังสร้างผลลัพท์ด้านต่างๆ อาทิ ด้านสุขภาพ: มีสุขภาพกายและใจดี  ,ด้านสังคม: มีสังคมที่น่าอยู่, ด้านเศรษฐกิจ: มีเศรษฐกิจในครัวเรือนดีขึ้น และ ด้านสิ่งแวดล้อม: มีสิ่งแวดล้อมในชุมชนดี มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้ดนตรีช่วยสร้างสรรค์สังคมกันเถอะ

ปัญหาสังคม

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ดนตรีช่วยผู้สูงอายุอย่างไร 

  1. ดนตรีทำให้ผู้สูงอายุมีเพื่อน มีสังคม ลดความเหงา เห็นคุณค่าของตนเอง
  2. ดนตรีลดภาระการดูแลของครอบครัว เพลงจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีเพื่อน บทเพลงจะช่วยให้รักษาความจำ รักษาโรคเหงา รักษาโรคหลง หรือโรคซึมเศร้า
  3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นกลุ่มตัวอย่างให้กับผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ในเรื่องของคุณค่าของผู้สูงอายุ แก่แล้ว ไม่แก่เลย สามารถทำประโยชน์ให้กับลูกหลาน และสังคมได้

ดนตรีช่วยพัฒนาสมองเด็ก อย่างไร

  1. ดนตรีเป็นเรื่องของเสียง เสียงเป็นพลังงาน เมื่อเสียงดนตรีเข้าไปในร่างกายเด็กผ่านการเล่นดนตรีหรือการร้องเพลง ทำให้เด็กเกิดความเคลื่อนไหว เมื่อพลังงานเสียงเคลื่อนไหวความเคลื่อนไหวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการพัฒนา ทั้งร่างกาย จิตใจ สมอง อารมณ์ และสังคม การพัฒนาด้านต่าง ๆ ของเด็กทำให้เกิดการเรียนรู้และเกิดความเจริญขึ้น หากมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดความเจริญอย่างต่อเนื่องขึ้นในตัวเด็ก เสียงดนตรีจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ สมอง อารมณ์ และสังคมของเด็กได้  
  2. ดนตรีช่วยให้เด็กสนุกสนานร่าเริงอย่างเด็ก ดนตรีจะช่วยให้เด็กด้อยโอกาสเข้าถึงความสนุกสนาน ร่าเริงอย่างที่เด็กควรจะเป็น เมื่อเด็กได้เล่นดนตรีเสียงดนตรี ทำนองเพลง จังหวะของดนตรี จะทำให้เด็กมีความสนุกสนาน มีความเพลิดเพลิน และมีโอกาสสร้างความร่าเริงให้กับเด็ก เด็กมีโอกาสที่จะพัฒนาพฤติกรรมได้อย่างเด็ก ความสนุกสนาน ความร่าเริง เป็นขนมของชีวิตเด็ก เด็กต้องมีโอกาสได้ความสนุกสนานและร่าเริง
  3. ดนตรีพัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศ การเรียนดนตรีและเล่นดนตรี เป็นการเปิดโอกาสและสร้างโอกาสให้เด็กได้ค้นหาความสามารถของตัวเอง ดนตรีจะช่วยให้เด็กด้อยโอกาสได้พัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศด้านดนตรี เมื่อเด็กได้เรียนรู้ดนตรี ได้ฝึกซ้อมดนตรี ได้เล่นเครื่องดนตรี ซึ่งดนตรีสามารถที่จะเรียนรู้ สามารถฝึกซ้อมเพื่อใช้ดนตรีเป็นอาชีพได้ ศักยภาพความเป็นเลิศทางดนตรีสามารถจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กด้อยโอกาสให้มีโอกาสได้หรืออย่างน้อย 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. 1. โดยการจัดเวทีให้แสดงที่หลากหลาย สร้างความมั่นใจ สร้างการรับรู้ให้กับชุมชนในพื้นที่มากขึ้นว่า ผู้เข้าร่วมสามารถสร้างสังคมที่มีคุณภาพได้และช่วยสังคมได้ในหลายรูปแบบต่อไป สร้างความตระหนักรู้ (impact) ในสังคมอย่างต่อเนื่อง

  2. 2. โดยการสร้างชุมชนต้นแบบ และโรงเรียนต้นเเบ เพื่อเป็นการศึกษาในวงกล้างเกี่ยวกับวิธีการจัดการปัญหาต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรม และการดำเนินงานที่เกิดขึ้น ให้เป็นรูปธรรม

  3. 3. โดยการสร้างบุคลากร และผู้มีความสามารถ ในการถ่ายทอด และการบริหารจัดการวงปล่อยแก่ และวงเด็กภูมิดี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แผนการดำเนินงาน

  1. ดำเนินแผนบูรณาการสร้างความเข้าใจ โดยจัดประชุมในพื้นที่ ดำเนินการสอน ในที่นี้เป็นการประชุมร่วมระหว่าง ผู้เรียน (เด็ก/ ผู้สูงอายุ) ผู้ดูแลพื้นที่ (ครู/เจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชน) ครูผู้สอน (วิทยากรโดยมูลนิธิ) -การติดตามผลการพัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ

  2. ดำเนินทำแผนบูรณาการจัดทำเครื่องมือสอนให้สอดคล้องกับพื้นที่ ตามอัตลักษณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่ ครอบคลุม จัดทำโน้ตเพลง จัดหาพื้นที่และอุปกรณ์การสอนและ เรียบเรียงเนื้อหาการสอน

  3. ดำเนินการจัดการแสดงในพื้นที่ต่าง ๆ /ถอดบทเรียน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
โครงการวงปล่อยแก่

จำนวน 10 พื้นที่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. บ้านคา จังหวัดราชบุรี 2. จังหวัดเชียงใหม่ 3. บ้านเกาะลอย จังหวัดราชบุรี 4. จังหวัดยะลา 5. จังหวัดบุรีรัมย์ 6. จังหวัดนครสวรรค์ 7. จังหวัดเชียงราย 8. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 9. จังหวัดนครราชสีมา 10.จังหวัดภูเก็ต

480คน2,390,000.00
โครงการวงเด็กภูมิดี

จำนวน 12พื้นที่ ดังนี้ 1. จังหวัดนครปฐม 2. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 5. จังหวัดเชียงราย 6. จังหวัดเชียงราย 7. จังหวัดยะลา 8. จังหวัดราชบุรี 9. จังหวัดราชบุรี 10.จังหวัดมุกดาหาร 11.จังหวัดเชียงราย 12. จังหวัดราชบุรี

480คน2,390,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด4,780,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)478,000.00
ยอดระดมทุน
5,258,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เป้าหมายสำคัญสูงสุดของโครงการคือ การช่วยแก้ปัญหาด้านสังคมที่เน้นไปที่ การสร้างมิติใหม่ของสังคมผู้สูงอายุ ด้วยการลดภาระเรื่องของผู้สูงอายุ ลดภาระคนเลี้ยงดู ทำการพัฒนาคุณภาพการอยู่ร่วมกันทั้งในระหว่างสังคมผู้สูงอายุและสังคมต่างวัย ทำให้มีชีวิตชีวา มีความสุขร่วมกัน สามารถสร้างเป็น “ต้นแบบ” หรือตัวอย่างชุมชนของผู้สูงอายุต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศไทยต่อไป เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัวของประเทศเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหามีประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น ต้องเผชิญหน้าเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านจำนวนที่มีมากและการจัดการเรื่องความเป็นอยู่ การดูแลรักษา การเลี้ยงดู เผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ซึ่งกลายเป็นภาระของครอบครัว ภาระของสังคม และกลายเป็นวาระของชาติ เพราะผู้สูงอายุจะละทิ้งก็ไม่ได้ สร้างรายได้ก็ทำได้ยาก แต่จะดูแลอย่างมีคุณภาพชีวิต มีคุณค่าต่อสังคมและจะควบคุมค่าใช้จ่ายให้สมดุลได้อย่างไร คนแก่กลายเป็นภาระของครอบครัว คนแก่ถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ความรู้ของคนแก่กลายเป็นสิ่งที่คนสมัยใหม่ไม่ต้องการ คนแก่กลับกลายเป็นคนที่อยู่อย่างไร้ค่าและว้าเหว่ เป็นคนที่เหงาไม่มีลูกหลานอยู่ใกล้ ไม่มีรายได้ไม่มีทรัพย์สินอีกต่อไป ผู้สูงอายุเป็นภาระในการเลี้ยงดู ไม่มีใครดูแล ไม่มีใครเอาใจใส่ ปล่อยให้คนแก่อยู่ตามยถากรรม รอวันที่จะจากโลกนี้ไปเท่านั้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมผู้สูงวัยที่กำลังจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ มูลนิธิฯ เชื่อเสมอว่า “ผู้สูงวัยเป็นทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ” และ “การร้องเพลงและการเล่นดนตรีของผู้สูงอายุ เป็นอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของสังคมผู้สูงอายุได้” มูลนิธิฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแลสังคมผู้สูงวัย และเตรียมความพร้อมให้กับสังคมไทยเผื่อเผชิญหน้ากับสังคมผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ดนตรีที่เป็นความเชี่ยวชาญของมูลนิธิมาใช้เป็นเครื่องมือดังที่กล่าวมา และถึงแม้จะเป็นเพียงกลุ่มต้นแบบเล็กๆที่มูลนิธิฯจะทำได้ แต่มูลนิธิฯเชื่อมั่นว่า “การสร้างต้นแบบที่ดี”

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon