cover_1
โครงการใหม่

จัดหาอุปกรณ์ดับไฟป่า ปกป้องผืนป่า ช่วยอาสาดับไฟ

สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
ผู้ประสบภัยพิบัติ

เงินบริจาคของคุณจะจัดซื้ออุปกรณ์ดับไฟป่า อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ และค่าเบี้ยเลี้ยงทีมอาสาดับไฟป่าให้กับต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่6หมู่บ้าน

ระยะเวลาระดมทุน

23 ม.ค. 2568 - 31 มี.ค. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLIMATE ACTIONPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ชุมชน/หมู่บ้าน
6แห่ง
ผู้ประสบภัยพิบัติ
3,500คน

ปัญหาไฟป่าในพื้นที่ ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นอุบัติภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การป้องกัน และดับไฟป่ามักมีปัญหาอุปสรรค โดยเฉพาะอุปกรณ์ในการใช้ดับไฟป่าที่ขาดแคลน มีจำนวนไม่เพียงพอ หรือชำรุดเสียหาย การระดมทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ดับไฟป่าจึงเป็นความจำเป็นในลำดับแรก รวมทั้งการจัดหน่วยอาสาทำแนวกันไฟในแต่ละพื้นที่ที่เกิดไฟป่าซ้ำๆ เพื่อในการนำไปสู่การป้องกันความเสียหายอย่างเป็นรูปธรรม 

ปัญหาสังคม

ไฟป่าที่เกิดขึ้นทุกปี มีทั้งความรุนแรงและยังขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ สุขภาพของประชาชน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย รวมถึงสัตว์ป่านานาชนิด และปัญหาฝุ่นควัน ทั้งนี้ กำลังคนและอุปกรณ์ของภาครัฐมีไม่เพียงพอกับพื้นที่ที่เกิดไฟป่าที่มีจำนวนมาก และเกิดขึ้นแทบจะพร้อม ๆ กันหรือในเวลาเดียวกัน ประชาชนในพื้นที่ ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้ร่วมเป็นอาสาสมัครในการทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันและลดความรุนแรง รวมทั้งช่วยกันดับไฟป่าเมื่อเกิดเหตุ นับเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันปกป้องชุมชนที่เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างยิ่ง ดังนั้น การมอบอุปกรณ์จำเป็นที่ยังขาดแคลนเพื่อป้องกันและดับไฟป่า จะนำไปสู่การลดปัญหาฝุ่นควันได้อย่างยั่งยืน

ในการระดมทุนปี 2567 ที่ผ่านมา ได้นำเงินที่ได้รับจัดซื้อเครื่องเป่าใบไม้ จำนวน 7 เครื่อง มอบให้กับ 6 หมู่บ้าน ในต.ป่าเมี่ยง และศูนย์กู้ภัยอินทร์ทรา-ป่าเมี่ยง แห่งละ 1 เครื่อง รวมทั้งอุปกรณ์จำเป็นอื่น ๆ เช่น เครื่องพ่นน้ำ เครื่องตัดหญ้า

พื้นที่ ต.ป่าเมี่ยง มีจำนวน 159.36 ตารางกิโลเมตร หรือ 99,600 ไร่ สถานการณ์ไฟป่าเกิดขึ้นทุกปี เป็นปัญหาที่เกิดซ้ำ ๆ และการดำเนินการแก้ปัญหาก็ปรับตามสถานการณ์ในแต่ละปี สำหรับการขอเปิดรับบริจาคครั้งนี้ เพื่อจัดหาอุปกรณ์จำเป็นมีไม่เพียงพอ เพราะอุปกรณ์เดิมใช้งานหนักและเกิดการชำรุด ซึ่งได้ซ่อมแซมแล้วแต่ใช้งานได้ไม่ดีเท่าเดิม หากได้เพิ่มและทดแทนของเดิมที่ไม่สามารถใช้งานแล้วก็จะทำให้แก้ปัญหาได้ลุล่วงทันท่วงที

สำหรับแผนงานการดำเนินการในปี 2568 จะได้จัดซื้อเครื่องเป่าใบไม้ จำนวน 12
เครื่อง มอบให้กับ 6 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เครื่อง สำหรับไว้ใช้หมุนเวียน และในกรณีเกิดเหตุไฟป่าซ้ำซ้อนในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ อุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมใช้งานหนักมาก เกิดการชำรุดและเมื่อซ่อมแซมแล้วไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่าเดิม รวมทั้งการจัดทำแนวกันไฟ ซึ่งนับเป็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป เพราะจะสามารถป้องกันการเกิดไฟป่า หรือลดระดับความรุนแรงของไฟป่าได้ 

จากการประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ คือ สถานีควบคุมไฟป่าห้วยฮ่องไคร้-ขุนแม่กวง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ และ ชรบ.ประจำหมู่บ้าน พบว่าพื้นที่ใน ต.ป่าเมี่ยง ที่มีไฟป่า จำนวน 1,591 ไร่ สามารถดับไฟป่าได้ 79 ครั้ง 

 

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระยะป้องกันและเฝ้าระวัง เป็นการเตรียมความพร้อมและกำหนดวิธีการทำงานหากเกิดไฟป่า โดยมุ่งเน้นให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างชาวบ้านกับทีมอาสา 1. สำรวจแนวไฟป่าที่อยู่บนเขาห่างไกลจากบ้านเรือน 2. พูดคุยกับเจ้าของสวนที่อยู่ติดแนวป่าให้ช่วยสอดส่องและแจ้งเหตุ 3. จัดทีมอาสาลาดตระเวนพื้นที่จุดเสี่ยง จำนวน 2 ครั้ง/วัน หรือตามสถานการณ์ 4. ช่วงไฟป่า จัดทีมอาสาตรวจจุดเสี่ยงแบบเข้มข้น พื้นที่สวนติดแนวป่า และบริเวณรอบ ๆ พร้อมอุปกรณ์ดับไฟ ที่นำไปใช้ได้ทันที

  2. ระยะทำแนวกันไฟ ป้องกันและลดจุดเสี่ยงไฟป่า เป็นการทำแนวกันไฟในลักษณะปูพรม วางแผนการทำงานและลงพื้นที่ตามแผนที่กำหนดไว้ 1. ทีมอาสาลงพื้นที่ จัดทำแนวกันไฟ ตามจุดที่ได้สำรวจไว้แล้ว 2. ตัดหญ้า ปรับพื้นที่ ป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดไฟป่า

  3. ระยะเกิดไฟป่า เป็นช่วงที่ทีมอาสาต้องต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา และวางแผนจัดสรรทีมเพื่อให้สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที เพราะอาจเกิดไฟป่าขึ้นพร้อมกันหลายจุด 1. เมื่อได้รับแจ้งเหตุไฟป่า ทีมอาสาระดมคนและเข้าช่วยดับไฟทันที 2. ทีมอาสาพร้อมอุปกรณ์ เข้าสนับสนุนการทำงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้

แผนการดำเนินงาน

  1. ธ.ค. 2567

    ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถึงอุปกรณ์ที่จำเป็น การสำรวจพื้นที่ การจัดทีมอาสา

  2. ธ.ค. 2567

    ประมาณการค่าใช้จ่าย

  3. ม.ค. - เม.ย. 2568

    เปิดระดมทุนการจัดซื้อเครื่องมือ พร้อมประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สนใจร่วมบริจาค

  4. เม.ย. 2568

    มอบอุปกรณ์ให้กับหมู่บ้านและทีมอาสา

  5. พ.ค. 2568

    สรุปผลการดำเนินงาน รายงานค่าใช้จ่าย

  6. เม.ย. - พ.ค. 2568

    เผยแพร่การดำเนินงานผ่านเฟซบุ๊ก www.facebook.com/

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
เครื่องเป่าใบไม้แบบใช้น้ำมันสะพายหลัง

เครื่องละ 4,700 บาท

6เครื่อง28,200.00
เครื่องเป่าใบไม้แบบใช้น้ำมันแบบหิ้ว

เครื่องละ 3,150 บาท

6เครื่อง18,900.00
เครื่องตัดหญ้า 2 จังหวะ

เครื่องละ 2,990 บาท

2เครื่อง5,980.00
วิทยุสื่อสารภาคประชาชน

เครื่องละ 1,200 บาท

6เครื่อง7,200.00
ครอบ (ลาโค่)

อันละ 400 บาท

10อัน4,000.00
แว่นตากันฝุ่น

อันละ 250 บาท

12อัน3,000.00
ถุงมือกันไฟ

คู่ละ 120 บาท

12คู่1,440.00
รองเท้าผ้าใบพื้นหนา

คู่ละ 200 บาท

12คู่2,400.00
หน้ากากกันฝุ่น

อันละ 250 บาท

24อัน6,000.00
ไฟฉายคาดหัว

อันละ 300 บาท

12อัน3,600.00
ถังน้ำมันสำรอง ขนาด 200 ลิตร

ถังละ 600 บาท

2ถัง1,200.00
น้ำมันเบนซิน 95

ลิตรละ 35 บาท

400ลิตร15,000.00
มือหมุนน้ำมัน

ชุดละ 1,500 บาท

1ชุด1,500.00
เครื่องสูบน้ำแรงดันสูง + สายสูบน้ำ

เครื่องละ 4,000 บาท

1เครื่อง4,000.00
ถังน้ำพลาสติก 200 ลิตร

ถังละ 600 บาท

3ถัง1,800.00
ค่าข้าวกล่อง

ราคากล่องละ 50 บาท จำนวน 50 ครั้ง 10 คน/ครั้ง

500กล่อง25,000.00
ค่าน้ำ

ราคาขวดละ 10 บาท จำนวน 50 ครั้ง 10 คน/ครั้ง

500ขวด5,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด134,220.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)13,422.00
ยอดระดมทุน
147,642.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

พระสมุห์คำแสน สุธีโร รองเจ้าอาวาส วัดพระบาทปางแฟน ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะตำบลป่าเมี่ยง-เทพเสด็จ ผู้ช่วยเลขานุการ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ และทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการฝ่ายสนับสนุน ศูนย์กู้ภัยอินทร์ทรา-ป่าเมี่ยง ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มีความสนใจในการช่วยเหลือชุมชนให้มีความพร้อม สมบูรณ์ เป็นชุมชนแห่งความสุข

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon