cover_1
รายเดือน
+1

กองทุนฉุกเฉินช่วยเหลือผู้สูงวัยประสบภัยพิบัติ (The Elderly Disaster Relief Fund)

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ
ผู้ประสบภัยพิบัติ

เงินบริจาคของคุณจะเป็นกองทุนค่าถุงยังชีพตามสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามฤดูกาลของภัยให้กับผู้สูงอายุให้กับผู้สูงอายุ5,000คน

ระยะเวลาระดมทุน

27 ธ.ค. 2567 - 31 ธ.ค. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอนลำปาง จ.ลำปางเชียงราย จ.เชียงรายลำพูน จ.ลำพูนน่าน จ.น่าน

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLIMATE ACTION

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้สูงอายุ
5,000คน

กองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัยเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าถึงในการช่วยเหลือเมื่อประสบภัยพิบัติ

ทั้งนี้พร้อมกับการดูแล และฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ ที่เกิดจากผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ และมีความรุนแรง ทำให้กลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ต้องเผชิญความเสี่ยงตามฤดูกาล เช่น น้ำท่วม น้ำป่าหลายหลาก ที่จะเกิดในช่วงฤดูฝน

อากาศเปลียนแปลงฉับพลันในฤดูหนาว ขณะที่ฤดูร้อนผู้สูงอายุจะต้องเจอกับปัญหาฝุ่นควัน มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนนี้เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที

ปัญหาสังคม

ปัญหาพบจากภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน มีความรุนแรง และส่งผลกระทบในวงกว้าง ส่งผลให้ และกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และเฉพาะด้าน ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยได้ประสบกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้ง และเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง ที่ต้องเผชิญมีความเสี่ยงตามฤดูกาล ได้แก่ การเกิดฝุ่นควัน น้ำท่วมฉับผัน น้ำป่าไหลหลาก สึนามิ แผ่นดินไหว รวมถึงภัยหนาว เป็นต้น

 

ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักจะสร้างความเสียหายให้กับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย หรือบางรายจะต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น และทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพ มีอาการของภาวะซึมเศร้า เครียด ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุที่ได้รับประสบภัยมีสุขภาพจิตที่แย่ลง กลายเป็นวงจรแห่งความเลวร้ายของผู้สูงอายุ มีความต้องการการช่วยเหลือ และความต้องการการเยียวยาทางด้านจิตใจ

 

จากประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ และการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ รวมถึงด้านสิทธิของผู้สูงอายุ ได้มีกลไกในชุมชน ได้แก่ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.)  และได้ดำเนินโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากการให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม และในที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ตั้งรับช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากภัยฉุกเฉินในฤดูกาลของภัยในพื้นที่ จำนวน 5,000 คน เช่นกรณีน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ฝุ่นควัน PM 2.5 จากปัญหาดังกล่าว จึงทำให้มีแนวคิดในการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ

และการช่วยเหลือฉุกเฉินให้ทันทุกฤดูกาลให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่เสี่ยง ประกอบด้วยผู้สูงอายุยากไร้ ไม่มีสถานะ และไม่สามารถเข้าถึงของการช่วยเหลือได้ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 20 พื้นที่เสี่ยงภัย และเป็นพื้นที่ดำเนินงานของมูลนิธิฯ ให้สามารถได้รับการช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินได้ทันที โดยมีกระบวนการทำงานร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ อสม. หน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ

 

โดยแบ่งระยะการช่วยเหลือเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน

ระยะที่ 2 ระยะฟื้นฟู

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. 1. ระยะที่ 1 คือระยะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน โดยการการมอบถุงยังชีพสำหรับตามฤดูกาล เช่น อาหาร ยารักษาโรค ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว หน้ากากกรองฝุ่น PM 2.5 ผ้าอ้อมผู้ใหญ่

  2. ระยะที่ 2 คือระยะฟื้นฟู โดยการซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า การรวมของอาสาสมัครในทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุหลังจากเกิดภัยพิบัติ และรวมถึงการเยี่ยวยาสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ โดยการให้กำลังใจ และการประเมินสภาพจิตใจโดยสหวิชาชีพ

แผนการดำเนินงาน

  1. ระยะฉุกเฉิน/เร่งด่วน 1.1 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ประชุม วางแผนและสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 1.2 ระดมจัดซื้อของ สิ่งของใช้จำเป็นอย่างเร่งด่วน พร้อมจัดถุงยังชีพตามฤดูกาลให้กับผู้สูงอายุที่ประสบภัย 1.3 ลงพื้นที่มอบของช่วยเหลือผู้สูงอายุ ของเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ (หรือบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถลงได้ให้อาสาสมัครดดำเนินงานในพื้นที่)

  2. ระยะฟื้นฟู 2.1 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ประชุมร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ วางแผนและสำรวจพื้นที่บ้านผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบหลังเกิดภัยพิบัติ 2.2 ระดมจัดซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3 ลงพื้นที่ฟื้นฟู ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุหลังจากเกิดภัยพิบัติ โดยการรวมกลุ่มของอาสาสมัคร 2.4 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ พร้อมกับนักจิตวิทยา สหวิชาชีพ ประเมินสภาพจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ และให้กำลังใจผู้สูงอายุ 2.5 ติดตาม ประเมินหลังจากการได้รับการฟืนฟู และประชุมสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัคร รายงานจำนวนที่ช่วยเหลือ สะท้อนผลการทำงาน เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการลงพื้นที่ช่วยเหลือฉุกเฉิน และวางแผนต่อไปในระยะฟื้นฟู

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าถุงยังชีพตามสถานการณ์ฉุกเฉิน คนละ 300 บาท

ประกอบด้วย อาหาร ยารักษาโรค เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่

5,000ชุด1,500,000.00
ค่าอุปกรณ์ทำความสะอาดหลังเกิดภัยพิบัติ ครั้งละ 300 บาท

อุปกรณ์ทำความสะอาดหลังเกิดภัยพิบัติ เช่น ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้รีดน้ำ น้ำยาสำหรับทำความสะอาด ถุงมือ หน้ากาก เป็นต้น

30พื้นที่3,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด1,503,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)150,300.00
ยอดระดมทุน
1,653,300.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

เชียงใหม่

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon