เงินบริจาคของคุณจะนำไปซื้ออุปกรณ์ และเชิญดีไซน์เนอร์จากญี่ปุ่นมาออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้กับกลุ่มแม่บ้านตัดเย็บ1กลุ่ม
ช่วยกลุ่มแม่บ้านตัดเย็บในสลัมสร้างแบรนด์ของตัวเอง สร้างความยั่งยืนให้กับกลุ่มและสนับสนุนการศึกษาของเด็กในชุมชน
ความยากจนและความด้อยโอกาสของคนจนในสลัม หัวหน้าครอบครัวที่ขายแรงงานได้รับค่าแรงเป็นรายวันตามที่ร่างกายสามารถทำงานไหว แม่บ้านไม่มีโอกาสการเรียน ไม่รู้หนังสือ ไม่มีใครอยากรับเข้าทำงาน เด็กๆ ถูกแบ่งชนชั้นเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านตามยถากรรม สิ่งเหล่านี้เป็นวิถีชีวิตปกติสำหรับคนในชุมชนคลองเตย ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสลัมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
หนทางเดียวที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตพวกเขาได้ คือ การให้โอกาส ให้เด็ก ๆ ได้เรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาตัวเองครอบครัวและสังคมต่อไป นี่คือแนวคิดของกลุ่มแม่บ้านในชุมชน
กลุ่มแม่บ้านตัดเย็บ เริ่มก่อตั้งในปี 2533 โดยเริ่มจากแม่บ้านที่ไม่มีงานทำ แต่อยากมีรายได้เพื่อเลี้ยงดูบุตรหลานแบ่งเบาภาระหัวหน้าครอบครัว มูลนิธิสิกขาเอเชียจึงดำเนินโครงการฝึกอาชีพ โดยสิ่งที่พวกเขาสนใจ คือ งานเย็บผ้า เราเริ่มฝึกตั้งแต่ไม่เป็นอะไรเลย จนสามารถรับงานคุณภาพระดับส่งออกต่างประเทศ โดยมีอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นช่วยดูแลคุณภาพและการตลาดในต่างประเทศ โดยการรับงานตามแบบที่ลูกค้าต้องการและผลิตส่งให้จนถึงปัจจุบัน
ด้วยความรู้ที่จำกัดของพวกเขาสามารถที่จะตัดเย็บงานฝีมือได้ตามการออกแบบมาแล้วเท่านั้น แต่ยังไม่มีทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงามเองได้ ถ้าหากได้เงินสนับสนุนงบประมาณ เขาอยากเชิญดีไซน์เนอร์จากญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบสินค้าหัตถกรรม เพื่อที่จะมาออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้กับพวกเขา คิดต่อยอดในส่วนโลโก้ โปรดักส์ และการออกแบบเว็ปไซต์ สำหรับสินค้าใหม่ๆ ครบกระบวนการ
รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ นอกจากเป็นค่าจ้างของกลุ่มแม่บ้านแล้ว ผลกำไรยังมาสนับสนุนกิจกรรมห้องสมุดเพื่อเด็ก ๆ ในชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้กิจกรรมสร้างสรรค์ และเข้าถึงหนังสือคู่มือการเรียนต่าง ๆ ที่พวกเขาไม่มีโอกาสได้ซื้อหาด้วยตนเอง อย่างน้อย ก็มีเด็ก ๆ อีกหลายคนในชุมชนที่อยากอ่านหนังสือ แต่ผู้ปกครองไม่มีเงินซื้อ ยังมีเด็กๆ อีกหลายคนที่เข้ามาทำการบ้านในห้องสมุด เพราะที่บ้านไม่มีสถานที่ และเด็กอีกหลายคนที่เข้ามาเล่นในสถานที่ที่ปลอดภัย
การสนับสนุนกลุ่มแม่บ้านให้ยั่งยืน เท่ากับเพิ่มโอกาสทางการเรียนให้กับเด็ก ๆ ในชุมชน
นักออกแบบสินค้าทำการวิจัยสภาพภายในชุมชน และออกแบบผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งยี่ห้อที่สื่อความหมายของกลุ่ม กลุ่มแม่บ้านในสลัมเป็นผู้ดำเนินการผลิต โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในคลองเตยผสมกับลายผ้าของกลุ่ม แม่บ้านชาวเขา จังหวัดพะเยา และจังหวัดตาก จากนั้นจะทำการทำสื่อประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อขายสินค้า โดย ช่างภาพและนักประชาสัมพันธ์ ที่เป็นอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น
1. นางสาวนริศรา พิลึก ชาวจังหวัดนครสวรรค์ หนีความลำบากเข้าเมืองเพื่อหางานทำ สุดท้ายอาศัยอยู่ในสลัมคลองเตย เข้าร่วมกลุ่มฝึกอาชีพตัดเย็บ เมื่อ 10 ปีก่อน ปัจจุบันเป็นผู้ประสานงานกลุ่ม โทร: 098832439 E-mail: pimaynaris@gmail.com
2. นางสาวนารีรัตน์ ตั้งเจริญบำรุงสุข สาวจังหวัดเพชรบุรี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชื่นชมความเสียสละของคุณครูประทีป อึ้งทรงธรรม แม่พระของชาวสลัม เริ่มงานกับมูลนิธิฯในโครงการฝึกอาชีพ เมื่อ 15 ปีก่อน ปัจจุบันผู้จัดการโครงการ โทร: 086-9871829 E-mail: nareerat.saf@hotmail.com
3. Mr.Keisuke Yoshida หนุ่มหล่ออารมณ์ดีจากฮอกไกโด มาเมืองไทยเพื่อทำวิจัยปัญหาสังคมไทย เพื่อทำด๊อกเตอร์ เมื่อ 6ปีก่อน งานวิจัยไม่เสร็จเพราะมาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือเด็ก ๆ ในสลัมและชาวเขา โทร:0818172044 E-mail: keisukeash@hotmail.com
4. Mr.Fuji TATE P URL:WWW.fujitatep.jp Product ดีไซเนอร์ และนักปักผ้า ที่มากไปด้วยน้ำใจ ปกติทำงานที่โตเกียว เขาใช้ผ้าปักและเทคนิคเฉพาะตัวเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลงานของเขา ชื่อ ERIKA และ SMOCK และ PENTA (www.penta-toho.com) ปัจจุบันเขาเป็นดีไซด์เนอร์อาสาสมัครให้กับสมาคมอาสาสมัครสันติ โครงการแฟร์เทรด ชื่อ CRAFT AID
มูลนิธิสิกขาเอเซีย
ระดมเงินบริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์ และเชิญดีไซน์เนอร์จากญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบสินค้าหัตถกรรม เพื่อที่จะมาออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้กับกลุ่มแม่บ้านตัดเย็บ คิดต่อยอดในส่วนโลโก้ โปรดักส์ และการออกแบบเว็ปไซต์ สำหรับสินค้าใหม่ๆ ครบกระบวนการ
ผลกำไรที่ได้ส่วนหนึ่งนำมาสนับสนุนกิจกรรมห้องสมุดเพื่อเด็ก ๆ ในชุมชนให้ได้มีโอกาสเรียนรู้กิจกรรมสร้างสรรค์ และเข้าถึงหนังสือคู่มือการเรียนต่าง ๆ
เชิญดีไซน์เนอร์จากญี่ปุ่น ออกแบบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ 10 ชิ้น รวมทั้งออกแบบโลโก้ โบรชัวร์ ประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์
จัดทำแพคเกจ ผลิตสินค้าตามตัวอย่าง
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าออกแบบผลิตภัณฑ์ กระเป๋า กระเป๋าเล็ก ทีเชิ้ต เครื่องประดับ ชิ้นละ 1,000 บาท | 10ชิ้น | 16,000.00 |
ค่าเดินทางไป-กลับ ญี่ปุ่น คนละ 20,000 บาท | 3คน | 60,000.00 |
ค่าที่พัก มูลนิธิสิกขาเอเซีย วันละ 300 บาท | 30วัน | 9,000.00 |
ค่าที่พัก ช่างภาพ และเจ้าหน้าที่กราฟิก 2 ห้อง ห้องละ 1,000 บาท | 7วัน | 14,000.00 |
ค่าออกแบบโลโก้ ค่าทำโบรชัวร์ ค่าออกแบบแพคเกจ คนละ 70,000 บาท | 3คน | 350,000.00 |
ค่าพิมพ์สื่อประชาสัมพันธ์ โบรชัวร์ แพคเกจ โลโก้ ครั้งละ 30,000 บาท | 1ครั้ง | 30,000.00 |
ค่าออกแบบเว็ปไซต์ ครั้งละ 30,000 บาท | 1ครั้ง | 30,000.00 |
ค่าวัตถุดิบ ผ้า, ลายผ้าชาวเขา, ชิ้นส่วนเครื่องประดับ, ซิป, ด้าย, เข็ม ชุดละ 50,000 บาท | 1ชุด | 50,000.00 |
ค่าอุปกรณ์ (ขึ้นอยู่กับการออกแบบสินค้าใหม่) ชุดละ 50,000 บาท | 1ชุด | 50,000.00 |
ค่าประสานงาน | 1ครั้ง | 10,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 619,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 61,900.00 |
เทใจดอทคอม เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆ เพื่อสังคม เทใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีมูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ สถาบัน ChangeFusion ร่วมกันสร้างพื้นที่กลางนี้ขึ้นมา เราอยากให้เทใจเป็นพื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม และให้สมาชิกของเทใจสามารถมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการที่ตนบริจาคได้
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้