cover_1

เปลี่ยนซังข้าวโพดเป็นถ่านชีวภาพ ลดควันภาคเหนือ

มูลนิธิอุ่นใจมูลนิธิอุ่นใจ
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะเปลี่ยนซังข้าวโพดเป็นถ่านชีวภาพที่ใช้ปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้กับกลุ่มชาวบ้านในอำเภอแม่แจ่ม20คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

17 ม.ค. 2561 - 31 พ.ค. 2561

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLIMATE ACTION

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้ประสบภัยพิบัติ
20คน

ปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือเป็นเรื่องที่เรารับรู้และได้ผลกระทบทุกปี

หยุดการปล่อยฝุ่นละอองจากการเผากองซังข้าวโพด ด้วยการเปลี่ยนซังข้าวโพดเป็นถ่านชีวภาพที่ใช้ปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

ปัญหาสังคม

ปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือเป็นเรื่องที่เรารับรู้และได้ผลกระทบทุกปี ฝุ่นละอองทางอากาศมีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่หลายครั้งทางภาคเหนือเราวัดค่าฝุ่นละอองทางอากาศเกิน 300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใครที่แพ้หมอกควันจะมีอาการแสบตา น้ำตาไหล เจ็บคอ หายใจลำบาก รวมถึงผิวหนังเกิดผื่นคัน ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หมอกควันจะมีส่วนกระตุ้นให้มีอาการหนักขึ้น วันนี้เราทราบแล้วว่า มีกองซังข้าวโพดในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 30,000 ตัน ที่ชาวบ้านต้องเผาทำลายในทุกปี ทำให้เกิดฝุ่นละอองสู่อากาศ ซึ่งสาเหตุหนึ่งของการเกิดหมอกควันในภาคเหนือ กลุ่มชาวบ้านในอำเภอแม่แจ่มได้ลุกขึ้นมาลงชื่อแสดงเจตจำนงค์เพื่อช่วยกำจัดกองซังข้าวโพด โดยการนำซังข้าวโพดไปเผาในเตา 200 ลิตร แบบลดควันลดฝุ่นละออง และนำไบโอชาร์ที่ได้จากการเผาซังข้าวโพด ไปผสมทำวัสดุปรับปรุงดินทำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป

วิธีการแก้ปัญหา

  1. เราจึงอยากเชิญชวนท่านช่วยให้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินโครงการนี้ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดการปล่อยฝุ่นละอองจากการเผาซังข้าวโพดสู่อากาศกันนะคะ ทุกๆ การสนับสนุน 50,000 บาท ทำให้ซังข้าวโพดอย่างน้อย 50,000 กิโลกรัม ถูกจัดการในเตาเผา 200 ลิตร (ลดการปล่อยฝุ่นละอองสู่อากาศ) ทำให้ได้ไบโอชาร์ 10,000 กิโลกรัม สำหรับการปรับปรุงดินในพื้นที่ 10 ไร่

แผนการดำเนินงาน

  1. รวบรวมชาวบ้านแสดงเจตจำนงค์ในการจัดการกองซังข้าวโพด

  2. โครงการจะสนับสนุนถังเผา 200 ลิตร จำนวน 10 ชุด และให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ถังเผา

  3. ชาวบ้านดำเนินการเผาซังข้าวโพดในถังเผา 200 ลิตร โดยจะได้รับค่าตอบแทนแรงงานและได้รับการสนับสนุนถุง/กระสอบ, ค่าน้ำมัน, อาหารมื้อกลางวัน ในระหว่างการทำงาน

  4. เจ้าของโครงการทำการอัพเดตความเคลื่อนไหวของโครงการในเพจของมูลนิธิอุ่นใจและเพจไบโอชาร์ Biochar

  5. ภายหลังจากการสิ้นสุดโครงการ แบ่งสรรไบโอชาร์ให้แก่ชาวบ้านเพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพดินสำหรับการเพาะปลูกในฤดูถัดไป

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
สมทบค่าผลิตไบโอชาร์ 2,000 กิโลกรัม สำหรับเกษตรกร 20 คน

20คน11,112.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด11,112.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)1,111.20
ยอดระดมทุน
12,223.20

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิอุ่นใจ

มูลนิธิอุ่นใจ

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon