เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนชุมชนประมงพื้นบ้านให้เป็นผู้เฝ้าระวัง ดูแล และฟื้นฟูธรรมชาติให้กับเขตอนุรักษณ์ทะเลรอบ ๆ ชุมชน จำนวน5ชุมชน
แม้ทะเลไทยจะถูกทำลายมาต่อเนื่องหลายสิบปี แต่ก็มีชุมชนประมงพื้นบ้านมากมายที่พร้อมลุกขึ้นมาดูแลปกป้องพื้นที่ทะเล คนเมืองเองก็ได้ประโยชน์ทั้งจากความสวยงามสมบูรณ์ของทะเลที่ฟื้นกลับมา ทำให้เข้าถึงอาหารทะเลที่ปลอดภัยจากเครือข่ายประมงพื้นบ้านที่รวมตัวกันเป็นสมาคมที่เน้นกระบวนการจับ แปรรูป และจัดส่งอาหารทะเลที่ยั่งยืนและได้มาตรฐานเรื่องสุขภาพ
ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพจำพวกสารฟอร์มอลีนเพื่อรักษาความสดดังที่มักเป็นข่าว และยังเป็นการสร้างหลักประกันว่าคนไทยจะเข้าถึงอาหารทะเลได้ในราคาที่เป็นธรรมท่ามกลางกระแสภาวะโลกร้อนที่นำมาซึ่งวิกฤตอาหารทั่วโลกขณะนี้ จึงเป็นจังหวะสำคัญที่สมาคมรักษ์ทะเลไทยชวนทุนคนมาร่วมต่อยอดความสำเร็จโดยสนับสนุนกองทุนเพื่อเพิ่มเขตอนุรักษ์ทะเล
โดยชุมชนอีกอย่างน้อย 5 ชุมชนคือ บ้านหลอมปืน จ. สตูล, ชุมชนบ้านสะทัง จ. พัทลุง, บ้านเกาะลอย จ. นครศรีธรรมราช, บ้านนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา, บ้านทุ่งน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจะต่อยอดออกดอกผล เพิ่มขึ้นในอนาคต
กัมพลเป็นชาวประมงพื้นบ้าน ที่บ้านปากน้ำ สตูล ราวสิบปีที่แล้วทะเลหน้าบ้านเขาแทบจับปลาไม่ได้เลย เพราะการประมงทำลายล้างที่ใช้อวนลาก อวนรุน หรือเรือคราดหอย ที่เหมือนเอาคราดลากไปบนผิวทะเลทำให้สัตว์ พืช หรือประการังแทบตายหมด กัมพลต้องออกเรือเล็กๆไปไกลขึ้นทุกที
เขาและสมาชิกชุมชนจึงลุกขึ้นมาเรียนรู้วิธีการทำเขตพื้นที่อนุรักษ์ทะเลหน้าหาดบ้านตน ทำซั้ง-ประการังเทียม บ้านปลา ธนาคารปู ดูแลหญ้าทะเล/ป่าชายเลน เฝ้าระวังไม่ให้ประมงทำลายล้างเข้าพื้นที่ จนตอนนี้ทะเลถูกฟื้นฟูจนกลับมาอุดมสมบูรณ์และสวยงาม ชาวบ้านก็จับปลาได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ใกล้บ้านตัวเอง แล้วนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อีก
นอกจากกัมพลก็ยังมีเครือข่ายประมงพื้นบ้านที่ทำเรื่องอนุรักษ์ทะเลเหมือนกันอีกหลายพื้นที่ที่ทำได้สำเร็จ เช่น บ้านคั่นกะได จ.ประจวบฯ บ้านในถุ้ง จ. นครศรีธรรมราช ที่เปลี่ยนชาวบ้านมาเป็นผู้เฝ้าระวัง ดูแล และอนุรักษ์ทะเลในพื้นที่ตนเอง
ทะเลไทยถูกทำลายอย่างต่อเนื่องจนความหลากหลายของสัตว์-พืชทะเลแทบล่มสลาย ทั้งจากประมงผิดกฏหมาย เช่น อวนลาก อวนรุน หรือเรือคราดหอยลาย ที่เหมือนเอาคราดลากไปบนผิวทะเลทำให้สัตว์ พืช หรือประการังแทบตายหมด ประมงพาณิชย์จับสัตว์น้ำไม่เลือกขนาด ไม่ปล่อยให้ปลามีโอกาสเติบโต ส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวที่ไม่ยั่งยืนก็ทั้งทิ้งสมอทำลายบ้านปลา/ประการัง สัตว์ทะเลต้องหนีไม่มีที่อยู่
หากปล่อยไปเช่นนี้ชาวบ้านริมฝั่งทะเลนับล้านย่อมจะมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงอาหาร (ประมงพื้นบ้านจับปลาได้ลดลงถึงสามเท่าในรอบไม่ถึงสิบปี) การท่องเที่ยวทะเลยั่งยืนก็เกิดไม่ได้ ความสมบูรณ์ของทะเลไทยจะกลายเป็นเพียงอดีต
จากปัญหาการลดลงของปลาในทะเลไทย (ข้อมูลกรมประมงพบว่าในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาจับสัตว์น้ำเค็มได้ลดลงกว่า 50%) ผู้บริโภคจึงเข้าถึงอาหารทะเลสดได้ยากมากขึ้น เพราะมีราคาสูงจนผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง เข้าถึงได้ในโอกาสสำคัญๆเท่านั้น เด็กๆหรือครอบครัวในพื้นที่ห่างไกลจากทะเล ยิ่งแทบไม่มีโอกาสทานอาหารทะเลสดมีคุณภาพ หากเทียบกับการเข้าถึงอาหารโปรตีนอย่าง “นมโรงเรียน” ที่สังคมไทยสามารถสนับสนุนให้เด็กไทยได้ทานต่อเนื่อง โปรตีนจากสัตว์น้ำธรรมชาติจากต้นทุนทะเลไทยกลับเข้าถึงไม่ได้
โดยประชากรส่วนใหญ่จะมีโอกาสเข้าถึงอาหารทะเลราคาปานกลาง จากตลาดสัตว์น้ำแช่แข็งนำเข้า หรือผ่านการบดแปรรูปเป็นชิ้นก้อน ไม่มีหลักประกันความปลอดภัยมากขึ้น มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพจำพวกสารฟอร์มอลีนเพื่อรักษาความสดมากขึ้น จนมีปรากฏเป็นอาการแพ้อาหารทะเลในผู้บริโภคในที่สุด
แต่ยังมีตัวอย่างความสำเร็จจากการอนุรักษ์โดยชุมชนริมชายฝั่งมากมายที่เป็นความหวังได้ ชุมชนชายฝั่งทะเลหลายสิบแห่งได้เริ่มการทำเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนหน้าหาดบ้านของตัวเอง ทิ้งซั้งหรือสร้างพื้นที่ประการังเทียมให้ปลามีพื้นที่ปลอดภัย ทำธนาคารปู-บ้านปลาดูแลสัตว์น้ำวัยอ่อน กำหนดกติกาการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ร่วมมือกับภาครัฐในการประกาศเขตอนุรักษ์ทะเลในพื้นที่ซึ่งชุมชนร่วมกันดูแลฟื้นฟูได้ เชื่อมโยงพื้นที่หญ้าทะเลหรือป่าชายเลน จนหลายแห่งกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ธรรมชาติในทะเลฟื้นคืน เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ดังกล่าว และยังต่อยอดไปสู่การพัฒนาการแปรรูปและการขายอาหารทะเลแบบยั่งยืนปลอดภัยโดยชุมชนที่เรียกว่าเครือข่าย "ร้านคนจับปลา" อีกด้วย
เครือข่ายประมงพื้นบ้านได้ดำเนินการพัฒนาเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนสำเร็จแล้วในหลายพื้นที่ เช่น
จัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดย อบต.ท่าศาลา มีสาระสำคัญคือ ห้ามทำการประมงด้วยเครื่องมือผิดกฎหมาย ห้ามการใช้ตาอวนต่ำกว่า 2.5 ซม. และห้ามใช้เครื่องมือคราดหน้าดินทุกชนิดในพื้นที่ที่กำหนด เป็นต้น และได้ทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรหน้าบ้านเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายโดยเรือประมงขนาดใหญ่ โดยการทำ “ซั้ง” ด้วยไม้ไผ่เพื่อเป็นบ้านปลาให้หลบภัย และเป็นแนวเขตในการอนุรักษ์ทรัพยากรไปด้วยในตัว
นอกจากนี้ กลุ่มประมงพื้นบ้านในถุ้งยังได้ดำเนินกิจกรรม “ธนาคารปูม้า” อย่างจริงจัง จนเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ธนาคารปูไข่นอกกระดองที่มีความโดดเด่นมาก จนในปี 2564 ได้รับรางวัลชนะเลิศศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าเพื่อความยั่งยืน จากสถาบันการวิจัยแห่งชาติ
รวมตัวเป็นกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านใน 7 ชุมชน รณรงค์ไม่ใช้เครื่องมือประมงทำลายล้าง การทำงานอนุรักษ์ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล เริ่มจากการวางซั้งกอสร้างบ้านปลาในอ่าวปากบารา ทำกติกาชุมชนและลงนามระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวประมงพาณิชย์ และชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดสตูล มีการจัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจ MOU โดยมีข้อตกลงของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากบริเวณซั้งกอบ้านปลา เช่น ไม่ใช้ล้อมอวนทุกชนิดในลักษณะล้อมซั้ง เพื่อป้องกันการจับสัตว์น้ำบริเวณซั้งกอบ้านปลาจำนวนมากเกินไป เป็นต้น จนได้รับการยอมรับว่าทำให้สัตว์น้ำในทะเลสตูลเพิ่มมากขึ้นจริง ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและท้องถิ่นในพื้นที่ให้ความสนใจ และได้นำกิจกรรมดังกล่าวเข้าไปบรรจุในแผนการพัฒนาพื้นที่ เช่น สำนักงานประมงจังหวัด สนับสนุนการจัดทำซั้งกอบ้านปลา จำนวน 600 ต้น ให้กับ 4 ชุมชน ในจังหวัดสตูล ฯลฯ
ตัวอย่างเหล่านี้ และอีกหลายพื้นที่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของกระแสที่ชุมชนกลายมามีบทบาทเป็นผู้อนุรักษ์ดูแลทะเล เฝ้าระวังการเข้ามาทำลายพื้นที่ของกลุ่มประมงผิดกฏหมาย และเป็นการตอบสนองกระแสอนุรักษ์ทะเลทั่วโลกที่มุ่งรักษาอย่างน้อย 30% ของทะเลทั่วโลกอีกด้วย จึงจำเป็นต้องมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นกลไกที่ยั่งยืนในการขยายการสร้างเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนไปสู่ชุมชนที่มีความพร้อมอีกหลายสิบหลายร้อยแห่งตลอดชายฝั่งของไทย
(ขอบคุณภาพสุดท้ายจาก The Cloud ที่นำเสนอเรื่องร้านคนจับปลา ในงานสมาคมรักษ์ทะเลไทย)
สมาคมรักษ์ทะเลไทยชวนทุกท่านจัดตั้งกองทุนเพื่อการขยายความสำเร็จของเขตอนุรักษ์ทะเล เพื่อให้กลุ่มชาวบ้านที่มีความพร้อมอีกหลายสิบหลายร้อยแห่งตลอดชายฝั่งของไทยได้ร่วมโครงการไปด้วยกัน
ChangeFusion ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ ร่วมสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือกับภาคีภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อยกระดับการทำเขตพื้นที่อนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนของชุมชนประมงพื้นบ้านไทย ให้ได้แลกเปลี่ยนบทเรียนและพัฒนามาตรฐานจากต้นแบบความสำเร็จระดับนานาชาติ รวมถึงการวัดผลทางนิเวศน์วิทยาอีกด้วย
UNDP ประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาเพื่อการวัดผลความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ของ SDG ข้อ 14 และมิติของความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity)
สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน ร่วมขับเคลื่อนในเครือข่ายสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านทั่วประเทศไทยให้มาทำเขตอนุรักษ์ทะเลโดยชุมชนตามความพร้อมของแต่ละพื้นที่
จัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดย มีสาระสำคัญคือ ห้ามทำการประมงด้วยเครื่องมือผิดกฎหมาย ห้ามการใช้ตาอวนต่ำกว่า 2.5 ซม. และห้ามใช้เครื่องมือคราดหน้าดินทุกชนิดในพื้นที่ที่กำหนด
ทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรหน้าบ้านเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายโดยเรือประมงขนาดใหญ่ โดยการทำ “ซั้ง” ด้วยไม้ไผ่เพื่อเป็นบ้านปลาให้หลบภัย และเป็นแนวเขตในการอนุรักษ์ทรัพยากร
ดำเนินกิจกรรม “ธนาคารปูม้า” อย่างจริงจัง จนเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ธนาคารปูไข่นอกกระดองที่มีความโดดเด่นมาก จนในปี 2564 ได้รับรางวัลชนะเลิศศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าเพื่อความยั่งยืน จากสถาบันการวิจัยแห่งชาติ
รณรงค์ไม่ใช้เครื่องมือประมงทำลายล้าง เริ่มจากการวางซั้งกอสร้างบ้านปลาในอ่าวปากบารา
ทำกติกาชุมชนและลงนามระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวประมงพาณิชย์ และชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดสตูล มีการจัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจ MOU โดยมีข้อตกลงของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากบริเวณซั้งกอบ้านปลา
สร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การบริหารจัดการเขตพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
ออกแบบแนวทาง/กติกาและขอบเขตการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล ที่สอดคล้องกับพื้นที่และภูมิปัญญาชุมชน
ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ภูมินิเวศน์ที่เหมาะสมและมีความพร้อม
ออกแบบงานสื่อสารของชุมชนเรื่องเขตอนุรักษ์เพื่อสื่อสารกับสาธารณะ
สนับสนุนผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ ชุมชน ที่มีผลผลิตหรือใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรทะเล
ร่วมกับที่ปรึกษาทางวิชาการ ทำการศึกษาตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรจากการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ร่วมกับชุมชนพื้นที่
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
การจัดกระบวนการบ่มเพาะและออกแบบแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลในแต่ละพื้นที่ 1.1) การประชุมปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชน พื้นที่ละ 4 ครั้งเพื่อสร้างความเข้าใจเป้าหมายโครงการ และการประเมินสมาชิกเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเขตพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพื่อความยั่งยืนในอนาคตเพื่อออกแบบแนวทาง/กติกาและขอบเขตการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล ที่สอดคล้องกับพื้นที่และภูมิปัญญาชุมชน 1.2) เข้าพบหารือย่อยกับหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ละ 4 ครั้ง 1.3) การประชุมหารือกับภาคีภาคส่วนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ละ 2 ครั้ง | 1ปี | 264,000.00 |
สนับสนุนวัสดุ/อุปกรณ์การดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล (เช่น แนวเขตอนุรักษ์,ป้าย,ทุ่น,ปะการังเทียมพื้นบ้าน-ซั้งกอ,ธนาคารปู ฯลฯ ) 5 ชุมชน ๆ เฉลี่ย 100,000 บาท | 1ปี | 500,000.00 |
ค่าตอบแทนพี่เลี้ยงรับผิดชอบพื้นที่ จำนวน 2 คน คนละ 18,000 บาท | 1ปี | 432,000.00 |
การรณรงค์ผลักดันเพื่อสื่อสารกับสาธารณะในเรื่องการสร้างมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่ | 1ปี | 127,000.00 |
ค่าเดินทาง ติดต่อสื่อสาร ประสานงานของพี่เลี้ยงจำนวน 2 คน เดือนละ 10,000 บาท | 1ปี | 120,000.00 |
ค่าตอบแทนผู้จัดการโครงการจำนวน 1 คน (10% ของเงินเดือน) หรือเดือนละ 4,000 บาท | 1ปี | 48,000.00 |
จัดกระบวนการติดตามการวัดผลทางนิเวศน์และผลทางสังคม เพื่อให้รายงานผลทางสังคมสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน | 1ปี | 72,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 1,563,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 156,300.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้