cover_1

ดนตรีคลาสสิคสู่แดนอีสาน Classical Music Tour E-SAN

เงินบริจาคของคุณจะทำให้เยาวชนขาดโอกาสได้มีโอกาสสัมผัส และเรียนรู้ดนตรีคลาสสิคให้กับเด็กและเยาวชนภาคอีสาน3โรงเรียน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
27 มิ.ย. 2567

อัปเดตโครงการกิจกรรมดนตรีคลาสสิคสู่แดนอีสาน

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

27 มิ.ย. 2567 - 27 มิ.ย. 2567

โครงการดนตรีคลาสสิคสู่แดนอีสาน Classical Music Tour E-SAN ดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 5 – 11 เมษายน 2567 ที่โรงเรียนพีช มิวสิค อคาเดมี่ (Peace Music Academy) จังหวัดขอนแก่น และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการ

  • สมาชิกวงออร์เคสตร้าของมูลนิธิได้มีโอกาสเผยแพร่ดนตรีคลาสสิคไปยังเด็กและเยาวชนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดบุรีรัมย์ ให้ได้รู้จักกับดนตรีคลาสสิคมากขึ้น
  • นักเรียนดนตรีของวงออร์เคสตร้าได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางดนตรีและแสดงคอนเสิร์ตร่วมกันกับเยาวชนในจังหวัดขอนแก่นและบุรีรัมย์
  • ได้รับเครือข่ายด้านดนตรีที่กว้างขวางขึ้น ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียนในต่างจังหวัดภาคอีสาน ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัย
  • นักเรียนดนตรีเครื่องสายของโรงเรียนในจังหวัดภาคอีสานและวงออร์เคสตร้าของมูลนิธิ ได้มีประสบการณ์ถ่ายทอดทักษะและความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางดนตรีร่วมกัน
  • นักเรียนดนตรีในต่างจังหวัดภาคอีสานได้รับความรู้ด้านดนตรีคลาสสิคและเทคนิคการเล่นต่างๆ ที่นักเรียนจากวงออร์เคสตร้าได้ถ่ายทอดเพิ่มขึ้น
  • เด็กและเยาวชนในกรุงเทพและต่างจังหวัดได้มีโอกาสแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ได้พัฒนาความกล้าแสดงออกต่อสาธารณะ
  • มูลนิธิได้ประชาสัมพันธ์งานโครงการมูลนิธิและวงออร์เคสตร้าให้กับคนในแถบภาคอีสานได้รู้จักมากขึ้น
  • มูลนิธิได้ทำข้อตกลงร่วมมือกันในการพัฒนาส่งเสริมดนตรีคลาสสิคให้กับเยาวชนกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นภาคอีสาน

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนและหลังทำกิจกรรม

  • ก่อนไปเด็กและเยาวชนไม่ค่อยรู้จักวิถีวัฒนธรรมอีสานและคนในพื้นถิ่นภาคอีสานมากนัก แต่เมื่อได้ไปร่วมกิจกรรมดนตรี ก็ได้เรียนรู้จักซึ่งกันและกัน เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมภาคอีสาน เป็นต้น
  • นักเรียนดนตรีได้มีภาระใจที่อยากจะช่วยเหลือพัฒนาส่งเสริมดนตรีคลาสสิคในท้องถิ่นภาคอีสานมากขึ้น
  • นักเรียนดนตรีในต่างจังหวัดได้รับแรงบันดาลใจที่จะฝึกฝนตนเองเป็นนักดนตรีที่เก่ง และนำดนตรีคลาสสิคไปสู่คนอีสานมากขึ้น
  • ก่อนหน้านี้ มูลนิธิยังไม่เป็นที่รู้จักในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด แต่หลังจากได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้มีเครือข่ายดนตรีคลาสสิคเพิ่มขึ้นในท้องถิ่นต่างจังหวัด และได้ติดต่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และสนับสนุนเครื่องดนตรีและอุปกรณ์เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในท้องถิ่นภาคอีสาน
  • ก่อนหน้านี้ นักเรียนดนตรีไม่กล้าที่จะถ่ายทอดความรู้ความสามารถที่ตนเองมีไปสู่เพื่อนๆหรือคนอื่น มีประสบการณ์เพียงการเล่นดนตรีอย่างเดียว แต่เมื่อพวกเขาได้มีโอกาสสอน แนะนำ และให้ความรู้ดนตรีกับเพื่อนๆ และเยาวชนในพื้นถิ่นต่างจังหวัด ก็ทำให้มีความมั่นใจ กล้าถ่ายทอดทักษะในการนำความรู้และเทคนิคการเล่นดนตรีไปสู่คนอื่นๆ ทั้งในวัยเดียวกันและรุ่นพี่ๆ กล้าแสดงออก และมีความกระตือรือร้นเอาใจใส่ในหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้มอบหมายได้ดี
  • มูลนิธิและวงออร์เคสตร้าได้เป็นที่รู้จักกับคนในภาคอีสานเพิ่มขึ้น และเป็นต้นแบบที่ดีในการใช้ดนตรีคลาสสิคในการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีโรงเรียนและสถาบันดนตรีอื่นๆ ได้มาเรียนรู้ศึกษางานการดำเนินกิจการของมูลนิธิเพิ่มเติม ได้รับความชื่นชม และต้องการคำแนะนำมากขึ้น
  • ครูผู้เข้าร่วมในโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนคติ แนวการเรียนการสอน มีการเยี่ยมเยียนติดต่อสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง

ข้อสรุป ข้อเสนอแนะในการให้ความช่วยเหลือครั้งถัดไป

  • โครงการนี้มีประโยชน์สำหรับนักเรียนและนักศึกษาต่างจังหวัดที่จะได้เรียนรู้เทคนิคการเล่นดนตรีคลาสสิคมากขึ้น และควรมีการทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ดนตรีคลาสสิคให้คนพื้นที่ภาคอีสานได้รู้จัก เป็นการพัฒนาคุณภาพคนผ่านดนตรีและควรขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย
  • นักเรียนดนตรีจะได้เรียนรู้เรื่องการเป็นผู้ให้มากกว่าการเป็นผู้รับ ฝึกการสอน และพัฒนาทักษะดนตรี ส่งเสริมศักยภาพเด็กให้มีความกล้าแสดงออก รู้จักแบ่งปันความรู้เทคนิคไปสู่ผู้อื่น
  • เด็กและเยาวชนจะได้ต่อยอดการเรียนรู้ทางดนตรีไปสู่การเรียนในระดับที่สูงขึ้น

 

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

“หนูอายุ 9 ขวบ เรียนดนตรีที่โรงเรียนพีชมิวสิคอคาเดมี ความรู้สึกตอนแรกก่อนพี่ๆ จะมาหนูเล่นไม่ได้เลย แต่หลังจากพี่ๆ เขามาช่วยสอนแนะนำก็เล่นเพลงได้ ก่อนเวลาไปเล่นคอนเสิร์ตรู้สึกเวลามันเร็วมาก เพราะอยากฝึกซ้อมนานๆ พอเวลาแสดงเสร็จรู้สึกเสียดาย เพราะพี่ๆ เขาจะกลับแล้ว รู้สึกภูมิใจที่ได้ไปเล่นและเป็นสิ่งที่ดีและถ้ามีโอกาสก็อยากไปเล่นคอนเสิร์ตกับพี่เขาอีก”
เด็กหญิงศรสวรรค์ แซ่ม้า (น้องกะทิ) นักเรียนโรงเรียนพีชมิวสิคอคาเดมี จ.ขอนแก่น 

 

“หนูอายุ 9 ขวบ ก่อนหน้าเคยได้ยินแต่ชื่อเสียงของพี่ๆ วงอิมมานูเอลออร์เคสตร้า ประทับใจพี่ๆ และตื่นเต้นมาก ก่อนที่พี่เขาจะมา และเมื่อได้ซ้อมด้วยก็ตื่นเต้นที่ได้ไปเล่นคอนเสิร์ตและดีใจ สนุกและได้ความรู้ที่ได้เล่นและซ้อมกับพี่ๆ และได้เทคนิคดีๆ ในการเล่น ถ้ามีโครงการแบบนี้อีกก็อยากจะร่วมอีก ขอบคุณค่ะ”
เด็กหญิงวิสุทธิดา ปรัชญาวงศ์ (น้องโซโซ) – นักเรียนโรงเรียนพีชมิวสิคอคาเดมี จ.ขอนแก่น

 

“ก่อนหน้าที่จะเจอพี่ๆ วงออร์เคสตร้าจะมา รู้สึกเครียดเพราะกลัวพี่เขา กลัวจะเล่นไม่ได้ แต่เมื่อได้ซ้อมกับพี่เขาก็รู้สึกดีขึ้น ได้ความรู้และเทคนิคการเล่นเพิ่มขึ้น พี่เขาสอนหนูการจับไวโอลินและจับโบที่ถูกต้อง เวลาไปแสดงที่โรงแรมรู้สึกตื่นเต้นและภูมิใจ ถ้ามีกิจกรรมแบบนี้อีกก็อยากร่วมอีก ขอบคุณค่ะ”
เด็กหญิงวีนัสยา ปรัชญาวงศ์ (น้องวีนัส) – นักเรียนโรงเรียนพีชมิวสิคอคาเดมี จ.ขอนแก่น

 

“รู้สึกดีใจมากๆ ที่ได้เข้าร่วมโครงการดนตรีอีสานกับทางวงอิมมานูเอล หลังจากได้เข้าร่วมก็ได้ความรู้และเทคนิคที่ดี ได้มีประสบการณ์การทำงานร่วมกัน เป็นประสบการณ์หนึ่งที่ดีมากๆ ขอบคุณค่ะ” 
นางสาวรัชฏาภรณ์ จากรัมย์ (เอิร์น) นักเรียนโรงเรียนอิสาณธีรวิทยาคาร จ.บุรีรัมย์ 

 

“ความประทับใจแรกก่อนที่ได้รู้ว่าวงอิมมานูเอลออร์เคสตร้าจะมา รู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้เล่นกับวง และหลังจากที่อบรมเสร็จก็ได้เทคนิคการเล่นเพลงคลาสสิคมากขึ้นและตัวเองได้พัฒนามากขึ้น และดีใจที่ได้เล่นร่วมกับพี่ๆ น้องๆ อิมมานูเอลออร์เคสตร้าด้วยครับ”
นายกันตชัย ประเมินชัย (กัน) นักเรียนโรงเรียนอิสาณธีรวิทยาคาร จ.บุรีรัมย์

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อธิบาย จำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชน

เด็กและเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่นและบุรีรัมย์ อายุระหว่าง 7-20 ปี ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีคลาสสิค ได้แก่

  • นักเรียนดนตรีโรงเรียนพีช มิวสิคอคาเดมี (Peace Music Academy) จ.ขอนแก่น
  • นักเรียนดนตรีระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อายุระหว่าง 10-17 ปี โรงเรียนในจังหวัดบุรีรัมย์
  • นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อายุระหว่าง 18-25 ปี
200 คน
  • ได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ ในการเล่นดนตรีคลาสสิคมากขึ้น
  • ได้ใช้เวลาที่เป็นประโยชน์
  • มีโอกาสแบ่งปันความรู้ทางดนตรีร่วมกัน
  • ได้พัฒนาทักษะและฝีมือการเล่นดนตรีคลาสสิคในระดับที่สูงขึ้น
  • ได้มีประสบการณ์ดนตรีกับเพื่อนในพื้นที่ต่างถิ่น
  • ได้ฝึกทักษะการเป็นผู้สอน ผู้ถ่ายทอดดนตรีไปสู่ผู้อื่น
  • มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่มอบหมาย
  • มีความพยายามที่จะฝึกซ้อมที่จะเล่นดนตรีให้ดียิ่งขึ้น
  • เปิดโอกาสให้เยาวชนคนอื่นๆ ได้รู้จักและสนใจการเรียนดนตรีคลาสสิคมากขึ้น
ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่เป็นนักดนตรีเครื่องสาย ได้แก่ ไวโอลิน วิโอล่า และเชลโล่ ที่คริสตจักรเซเว่นเดย์แอดเวนติสต์  3 คน
  • มีความกล้าแสดงออกทางดนตรี
  • ได้รับประสบการณ์การเล่นกับวงออร์เคสตร้าอย่างเต็มรูปแบบ รู้สึกตื่นเต้น และได้พยายามฝึกซ้อมอย่างเต็มที่
  • เห็นคุณค่าและความสามารถของตัวเอง
  • ได้พัฒนาทักษะและฝีมือการเล่น
  • ได้รู้จักสังคมดนตรีคลาสสิคและร่วมมือกับวงอื่นๆ ในอนาคต
ประชาชนทั่วไป
  • สมาชิกคริสตจักรเซเว่นเดย์แอดเวนติสต์ จ.ขอนแก่น
  • ผู้เข้าชมคอนเสิร์ตที่โรงแรม Pullman Khon Kaen Raja Orchid Hotel จ.ขอนแก่น
  • ผู้เข้าชมคอนเสิร์ตที่ห้าง Robinson Life Style จ.บุรีรัมย์
300 คน
  • ประทับใจและชื่นชมที่ได้ฟังดนตรีคลาสสิคที่เป็นมาตรฐานเป็นครั้งแรก
  • สนใจจะส่งเสริมและสนับสนุนดนตรีคลาสสิคในพื้นที่ชุมชนและจังหวัดของตนเองให้เป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้น
  • ได้ส่งเสริมสมาชิกในกลุ่มให้ได้เล่นดนตรีร่วมกัน สร้างความสามัคคี
  • สนใจส่งบุตรหลานมาเรียนดนตรีคลาสสิคในท้องถิ่น
  • เห็นคุณค่าของดนตรีคลาสสิคในการพัฒนาบุตรหลาน