cover_1

โครงการปรับปรุงห้องตรวจโรคความดันลบARI รับมือโรคอุบัติใหม่ในเด็ก

เด็กและเยาวชน
ผู้ป่วย ผู้พิการ

เงินบริจาคของคุณจะปรับปรุงห้องตรวจโรคความดันลบ, ห้องเอ๊กซเรย์, ห้อง Lab, ห้องยาและอื่นๆให้กับเด็กและดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อรุนแรงและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ จำนวน9ห้อง

ระยะเวลาระดมทุน

21 ธ.ค. 2565 - 31 ธ.ค. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี จ.กรุงเทพมหานคร 10400

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEING

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

โรงพยาบาล/รพสต.
1แห่ง

ปรับปรุงห้องตรวจโรคความดันลบ เพื่อรับมือโรคอุบัติใหม่ในเด็กและดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อรุนแรงและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่ได้มาตรฐาน

ห้องตรวจนี้จำเป็นมากต่อการรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างเร็ว และระบาดรุนแรงอย่างโควิด-19 ที่พวกเรารวมถึงเด็กๆ กำลังเผชิญวิกฤตนี้ร่วมกันทั่วโลก

ปัญหาสังคม

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ลุกลามไปทั่วโลก จนส่งผลกระทบรุนแรงกว่าหลายๆการระบาดของโรคอุบัติใหม่ในอดีต

นอกเหนือไปจากความรวดเร็วในการแพร่กระจายของเชื้อ ความรุนแรงของโรค ได้ส่งผลกระทบในด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะผู้ใหญ่หรือเด็ก ต่างได้รับบทเรียนในปรากฏการณ์ครั้งนี้ 

โรคติดเชื้อ โควิด-19 ถือเป็น โรคอุบัติใหม่ที่ส่งผลรุนแรงต่อพวกเราทุกคน เพราะมีการแพร่กระจายของโรคอย่างรวดเร็ว  ไม่นับรวมโรคซาร์ ไข้หวัดนก ฝีดาษลิงที่พบก่อนหน้า "ความหวาดกลัว ความตื่นตระหนก และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หรือระบบการจัดการกับภาวะวิกฤตที่โถมเข้ามารวดเร็ว แทบไม่ทันตั้งตัว ทำให้การดูแลรับมือ ทำได้เพียงประคองให้ผ่านพันไป”

ที่ผ่านมาสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ไม่เคยมีพื้นที่จำเพาะ สำหรับตรวจโรคอุบัติใหม่ ทำให้มีโอกาสเกิดการปะปนของผู้ป่วยกันเอง และ/หรือ ปะปนกับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลได้มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการปรับปรุงพื้นที่บางส่วนเพื่อการดูแลคนไข้อย่างเร่งด่วน

แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเด็กที่มีรายละเอียดและความยุ่งยากซับซ้อนที่แตกต่างจากการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ โดยเด็กเล็กไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จึงจำเป็นต้องมีการจัดสร้าง “ห้องตรวจโรคความดันลบ รับมือโรคอุบัติใหม่ในเด็ก

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ทำไมต้องเป็นห้องความดันลบ ตามปกติอากาศจะไหลจากที่ที่มีความดันอากาศสูงกว่าไปที่ต่ำกว่า อากาศภายในห้องผู้ป่วยจึงถูกทำให้มีความดันต่ำกว่าปกติ เพื่อไม่ไหลออกจากห้องเมื่อมีการเปิด-ปิดประตู เพิ่มป้องกันแน่นหนาขึ้นด้วยประตู 2 ชั้น มีระบบกรองอากาศฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยอากาศไปสู่ภายนอกผ่านระบบท่อการควบคุมทิศทางการไหลจากอากาศ ทำให้เชื้อโรคไม่กระจายสู่ผู้ป่วย สู่บุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำการดูแลและรักษาผู้ป่วย ห้องนี้จึงมีความสำคัญและจำเป็นมากต่อการรักษาโรคทางเดินหายใจที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างเร็ว ทั้งโรคที่พบได้ทั่วไป  อาทิ หัด วัณโรค สุกใสและโรคอุบัติใหม่ที่แพร่ระบาดรุนแรงในอดีตอย่างซาร์ส รวมถึงโควิด-19 ที่ พวกเรากำลังเผชิญวิกฤตนี้ร่วมกันทั่วโลก

แผนการดำเนินงาน

  1. ห้องความดับลบ (Negative pressure room) สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ใช้ได้กับผู้ป่วยเด็กตั้งแต่อายุแรกเกิด – 18 ปี จำนวน 5 ห้อง

  2. ห้องหัตถการความดันลบ Swab 1 ห้อง

  3. ห้องเอ๊กซเรย์ จำนวน 1 ห้อง

  4. ห้องLab จำนวน 1 ห้อง

  5. ห้องยา 1 ห้อง

  6. บริการสำนักงาน/ทำบัตร/การเงิน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ปรับปรุงห้องตรวจ

1.ห้องไอซียูความดันลบ ห้องที่ช่วยรักษาผู้ป่วย และปกป้องบุคลากรการแพทย์ 2.ห้องไอซียูความดันลบ (ICU Negative Pressure Room) เป็นห้องสำหรับผู้ป่วยแบบแยกเดี่ยว ป้องกันเชื้อโรคกระจายออกนอกห้อง 3.ห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ ห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ใช้ได้กับผู้ป่วยเด็กตั้งแต่อายุแรกเกิด – 18 ปี ที่รับเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อรุนแรงอื่นๆ 4.ห้องตรวจ จำนวน 5 ห้อง 5.ห้องเอ๊กซเรย์ จำนวน 1 ห้อง 6.ห้องLab จำนวน 1 ห้อง 7.ห้องหัตถการ Swab

9ห้อง5,000,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด5,000,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)500,000.00
ยอดระดมทุน
5,500,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ โรงพยาบาลเด็ก มีความต้องการอาคารบริการใหม่ เพื่อรองรับการให้บริการที่เจริญเติบโตขึ้น พร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางโรคเด็ก โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างอาคารใหม่จากทางราชการร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นเงิน 1,000 ล้านบาท และต้องระดมทุนจากภาคประชาชน เอกชน อีกจำนวน 600 ล้านบาท เพื่อสมทบทุนการก่อสร้างอาคาร การตกแต่งภายในอาคาร และการจัดหาครุภัณฑ์การแพทย์ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon