เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนการปลูกกล้วยเป็นแนวหยุดไฟ และหยอดเมล็ดพันธ์ุในผืนป่าให้กับขอบไร่กับขอบป่าในพื้นที่ในผืนป่าเชียงดาว20หมู่บ้าน
เพื่อให้รากแก้วชอนไชรักษาป่าไปนานถึง 3 ชั่วคน พร้อมทำแผนที่การดูแลป่าร่วมกันยั่งยืน
ไฟที่โหมลุกกระหน่ำในช่วงกลางคืน ท้องฟ้าเชียงดาวที่หลายคนมีโอกาสไปนอนนับดาว กลับมองเห็นแต่ทะเลเพลิง หลายคนตั้งคำถามว่าไฟป่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ธรรมชาติ... หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์... นิคม พุทธา ประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่ปิงบอกว่า ต้องยอมรับว่า คนก็เป็นสาเหตุหลัก เพราะวันนี้เรายังอยู่ในโลกอุตสาหกรรมที่เติบโต อาหารการกินและของใช้มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติ ชาวบ้านที่ยากจนต้องผลิตข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสัตว์ และคนก็บริโภค เมื่อความต้องการมากขึ้น ก็ต้องยิ่งขยายพื้นที่ การถางวัชพืชไม่ทัน ต้องเผา ปัญหานี้ใหญ่มาก แก้ปัญหาได้ยาก ตรงกับกรมอุทยานแห่งชาติระบุว่า ไฟป่าที่เกิดมากที่สุดมาจากการเผาไร่ติดป่าเพื่อกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมเพาะปลูก การเผาพื้นที่เพื่อส่องสว่างในการเดินป่า การล่าสัตว์ การทำปศุสัตว์เพื่อทำให้พื้นที่เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และความประมาท แต่ไม่ใช่เราหยุดไฟป่าไม่ได้
สิ่งที่พวกเราสามารถเริ่มและทำได้เลย คือ สิ่งแรก : การปลูกกล้วยเป็นแนวหยุดไฟ (Forest Fire Break) ระหว่างขอบไร่กับขอบป่า ซึ่งกล้วยการปลูกกล้วย 4 ชั้นจะทำให้เกิดการป้องกันที่ดี และยังเป็นอาหารของสัตว์ป่า และคนอีกด้วย โดยใช้ทั้งกล้วยป่า และกล้วยผลตามความเหมาะสมของพื้นที่ จึงสามารถให้ความชื้นกับพื้นที่รอบๆ กลายเป็นป่าเปียก และเมื่อไฟมาก็จะสามารถช่วยกันไฟได้ดีกว่าต้นไม้อื่นเพราะมีน้ำเยอะ สิ่งที่สอง : ฟื้นฟูป่า ด้วยการการปลูกต้นไม้แซมในพื้นที่ซึ่งโดนไหม้ไปหรือพื้นที่ว่างในป่า โดยใช้เมล็ดพันธ์ุไม้ยืนต้น อาทิ ต้นสมอพิเภก ต้นพยุง ต้นสัก ต้นมะค่า เป็น เราเลือกใช้การปลูกโดยเมล็ดพันธ์ุไม้ยืนต้น สิ่งที่สาม : รักษาป่าดั้งเดิม ไม่ให้สูญเสียไปมากกว่านี้ด้วยการเรียกความเชื่อมั่นของชาวบ้าน เข้าพูดคุย และกำหนดกติกาการใช้พื้นที่และการดูแลรักษาป่าร่วมกัน ทำแผนที่กำหนดเขตอนุรักษ์ป่าที่จะดูแลไม่ให้เกิดการบุกรุกเพิ่มเติมในหมู่บ้านหรือพื้นที่ป่าใกล้เคียง
จัดหาคนในชุมชนช่วยกันเก็บเมล็ดพันธ์ุไม้จากป่าจำนวน 200 กระสอบเพื่อเตรียมการเพาะปลูกในพื้นที่ 20 หมู่บ้านอาณาเขตหมู่บ้านละ 10-20 ไร่
จัดหาคนในชุมชนช่วยกันช่วยขุดหน่อกล้วย 32,000 หน่อ เพื่อปลูกเป็นแนวกันไฟครอบคลุม 20 หมู่บ้าน ราว 40 กิโลเมตร โดยแต่ละต้นปลูกห่างกัน 5-6 เมตร ปลูกทั้งหมด 4 ชั้น หรือคิดเป็นระยะทางเมื่อต่อกันราว 160,000 เมตร
รับอาสาสมัครทุกสุดสัปดาห์ (เสาร์-อาทิตย์) ตั้งแต่มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2562 เป็นเวลา 14 สัปดาห์ เพื่อชวนกันปลูกเมล็ดพันธุ์และหน่อกล้วย สัปดาห์ละ 20-30 คน โดยสมัครได้ที่ เข้าพูดคุยหารือกับชาวบ้าน
จัดกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมในการทำแผนการดูแลพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่าร่วมกันระหว่างชาวบ้าน ทางการ และกลุ่มอนุรักษ์ ให้เกิดกติกาและแผนที่การดูแลพื้นที่ร่วมกัน
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
สนับสนุนค่าเก็บเม็ดพันธุ์ 200 กระสอบ ระยะเวลา 30 วัน | 10คน | 90,000.00 |
สนับสนุนขุดหน่อกล้วยเพื่อทำแนวกันไฟ ระยะเวลา 30 วัน | 10คน | 90,000.00 |
สนับสนุนค่าอาหารและน้ำสำหรับอาสาสมัครทุกสุดสัปดาห์ (เสาร์อาทิตย์) ตั้งแต่มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2562 เป็นเวลา 14 สัปดาห์ | 30คน | 126,000.00 |
สนับสนุนค่าเดินทางเพื่อจัดกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมในการทำแผนการดูแลพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่าร่วมกันระหว่างชาวบ้าน ทางการ และกลุ่มอนุรักษ์ ให้เกิดกติกาและแผนที่การดูแลพื้นที่ร่วมกัน | 20หมู่บ้าน | 81,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 387,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 38,700.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้