เงินบริจาคของคุณจะร่วมส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำให้กับนักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาส45คน
ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามที่ฝันได้ เพื่อเขาจะเติบโตบนเส้นทางการประกอบสัมมาอาชีพ พร้อมตอบแทนสังคมด้วยการเป็นต้นแบบที่ดีให้คนรุ่นต่อไป
"ครูแบงค์" อภิชัย ไชยวินิจ เริ่มเข้าไปทำงานในพื้นที่โดยเป็นครูอาสาสอนเด็กชาวเขาเมื่อปี 2010 ณ โรงเรียนในกลุ่มศึกษาสงเคราะห์ พบความท้าทาย 2 ประการที่สำคัญ
หนึ่ง : นักเรียนไม่กล้าฝัน ว่าอยากเป็นอะไรในอนาคต ไม่กล้าฝันว่าถึงการเรียนสูง เพราะเป็นคนต้นทุนต่ำ ได้มีโอกาสเรียนถึง ม. 6 ที่โรงเรียนกินนอนก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว เพราะยังมีเด็กชาวเขาอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสมาเรียนเหมือนพวกเขาเลยด้วยซ้ำ
สอง : นักเรียนขาดทุนการศึกษา แม้ว่าบางคนจะมีความฝันที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ ทำให้ความฝันนี้ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ปกครองของนักเรียนชาวเขา ซึ่งมีอาชีพรับจ้างหรือเป็นเกษตรกรบนดอย รายได้ที่จำกัดทำให้การส่งเสียลูกหลานให้ได้ศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนั้นเป็นเรื่องยากเกินจะเอื้อมถึง
ตั้งแต่ปี 2557 มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนนักเรียนทุนกว่า 75 คนให้มีโอกาสเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ (อาทิ ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ฯลฯ) ในจำนวนนี้มีนักเรียนทุน 40 คนที่จบการศึกษาและออกไปทำงานตามที่ตนฝัน (อาทิ ครู พยาบาล นักวิชาการการเกษตร) ในชุมชนของตน
ทุนนี้สำหรับนักเรียน 2 กลุ่ม ดังนี้
รูปแบบทุนการศึกษาตลอด 4 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 2 ประเภท ดังนี้
คุณสมบัติของผู้สมัคร
จากผลการสำรวจในปี 2553 นักเรียนไม่มีความมั่นใจในตนเองไม่เชื่อในศักยภาพของตนไม่มีฝันและไม่เคยคิดว่าจะต้องมีฝัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเชื่อพื้นฐานว่าตนเองเป็นชาวเขาเป็นคนหมู่น้อยในสังคมไม่สามารถแข่งขันกับนักเรียนคนอื่น ๆ ในเมืองได้ จึงมีวิธีแก้ปัญหานี้ให้ได้ผลลัพธ์อย่างยั่งยืน โดย 1. สนับสนุนทุนการศึกษาและทุนค่าครองชีพกับนักเรียนชาวเขา ปี 1 - 4 ให้สามารถเรียนจบระดับอุดมศึกษาตามที่ตนฝันไว้ โดยแบ่งออกเป็นทุน 2 ประเภท ดังนี้ • ทุนนักเรียนเรียนดี ไม่จำกัดจำนวนทุนต่อโรงเรียน • ทุนนักเรียนประพฤติดี จำนวน 1 ทุนต่อโรงเรียน 2. พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำเพื่อให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ เติบโต และประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างเต็มภาคภูมิ ให้นักเรียนในมูลนิธิฯ หลังจากนั้นนักเรียนทุนจักมีโอกาสกลับไปเป็นบุคคลต้นแบบ (Role Model) ได้มีโอกาสไปไปส่งต่อโอกาสทางการศึกษา ส่งต่อแรงบันดาลใจในการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา แนะแนวการศึกษา แนะนำทุนที่เหมาะสมและแนวทางการสมัครขอรับทุนให้นักเรียนชาวเขารุ่นน้อง ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ในเขตภาคเหนือตอนบน
สัมมนาทุนการศึกษาประจำปี 2568 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูแนะแนว เป็นพื้นที่ที่ให้คุณครูแนะแนวและรองผู้อำนวยการ ทั้งหมด 3 คนต่อโรงเรียน ทั้งสิ้น 5 โรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) ร่วมกันระดมความคิดในเรื่องของความท้าทายด้านการศึกษาต่อที่นักเรียนของตนพบเจอ และหาวิธีการที่ได้ลงมือทำเพื่อลดความท้าทายลง (2) ให้รับรู้เงื่อนไขของทุนการศึกษาที่ถูกปรับเปลี่ยนไปในทุก ๆ ปี จะได้นำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ร่วมกันไปสร้างความฝันให้กับเด็ก ๆ และอธิบายวิธีการรับทุนของมูลนิธิฯ เพื่อทำให้นักเรียนเห็นเส้นทางความฝันของตนเองได้ชัดเจนมากขึ้น
ประกาศรับสมัครนักเรียนทุนมูลนิธิการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา ประจำปี 2568 โดยปีนี้ทางมูลนิธิฯ วางแผนการรับสมัครนักเรียนทุน ทั้งสิ้น 15 คน โดยรูปแบบทุนจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ (1) ทุนการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา (2) Youth Leadership Award โดยมูลนิธิฯ เปิดรับใบสมัครนักเรียนทุนมูลนิธิการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา ประจำปี 2568 ในรูปแบบของ Google Form
สัมภาษณ์คัดเลือกนักเรียนทุนมูลนิธิการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา ประจำปี 2568 โดยเป็นการสัมภาษณ์ที่โรงเรียนในภาคเหนือ เพื่อได้ทำความเข้าใจเงื่อนไขการรับทุนเบื้องต้น และได้สัมผัสกับนักเรียนตัวจริง ๆ โดยคุณสมบัติของนักเรียนทุนที่มูลนิธิฯ มองหา มีดังนี้ (1) นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา (2) นักเรียนที่มีภาวะความเป็นผู้นำ (2) นักเรียนที่สามารถเป็นบุคคลต้นแบบที่มีจิตอาสา
ปฐมนิเทศผู้ปกครองและนักเรียนทุนมูลนิธิการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา ประจำปี 2568 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) สร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองว่าบุตรหลานจะสามารถทำตามความฝัน และสำเร็จการศึกษาตามที่ตนตั้งเป้าหมาย (2) นักเรียนทุนฯ จะได้ทำความเข้าใจเงื่อนไขการรับทุนและกิจกรรมต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ อย่างชัดเจนให้ครบทุกประการ
สัมมนาพัฒนาความเป็นผู้นำประจำปี 2568 (Youth Leadership Development) จัดขึ้นที่ต่างจังหวัด ยกตัวอย่างปีที่แล้วจัดกิจกรรมที่สัตหีบ ชลบุรี เนื่องจากนักเรียนทุนบางคนยังไม่เคยสัมผัสทะเล อีกทั้งยังสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่สนุกสนานและมีความสุขสำหรับพวกเขาอีกด้วย เป็นระยะเวลา 4 วัน 3 คืน โดยกิจกรรมนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำให้นักเรียนทุนสามารถเป็นผู้นำให้กับชีวิตของตนเอง และเติบโตเป็น “คนต้นแบบ” สามารถกลับไปสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนชาวเขารุ่นต่อไป โดยหัวใจหลักของกิจกรรมนี้ ประกอบด้วย (1) สร้างทักษะความเป็นผู้นำ (2) ส่งเสริมทัศนคติการเป็นผู้ให้ (3) พัฒนาศักยภาพที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น กิจกรรมทำความรู้จักเพื่อนและตนเอง เล่นสด (Improv Theatre Workshop) ออกแบบเส้นทางชีวิต (Life Mapping) เป็นต้น
กิจกรรมลงพื้นที่แนะแนวการศึกษาและส่งต่อความฝัน (Roadshow: Dare to Dream) จัดขึ้นเพื่อ (1) ส่งเสริมให้นักเรียนทุนได้สั่งสมภาวะความเป็นผู้นำ กลับไปเป็นบุคคลต้นแบบที่จะทำให้นักเรียนรุ่นน้องกล้าที่จะทำตามความฝันของตัวเองเช่นเดียวกับตนเช่นกัน (2) เป็นกิจกรรมประจำปี ที่จะไปบ่มความฝันของนักเรียนระดับชั้น ม.3 - 6 ให้มีความมั่นใจที่จะไล่ตามความฝันของตนเองมากขึ้น
ติดตามผลการเรียน เมื่อนักเรียนผ่านการคัดเลือกและได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนในระดับอุดมศึกษาแล้ว ในทุก ๆ ภาคเรียน นักเรียนจะต้องรายงานผลการเรียนต่อมูลนิธิฯ โดยส่งเอกสาร ดังนี้ (1) ผลการเรียน โดยจะต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 ในทุกภาคการศึกษา (2) ใบรับรองการเรียนและความประพฤติจากอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อเจ้าหน้าที่ประสานงานมูลนิธิฯ ตรวจสอบแล้ว จะดำเนินการชำระค่าเทอมในภาคการศึกษาถัดไป
ทางมูลนิธิฯ เริ่มสนับสนุนทุนค่าครองชีพครั้งแรกในปีการศึกษา 2567 สำหรับนักเรียนชั้น ปี 1 - 4 เนื่องจากทางมูลนิธิฯ พบว่า (1) หนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้นักเรียนยังไม่กล้าตัดสินใจทำตามความฝันของตัวเอง เพราะแม้จะมีค่าเทอมแต่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็ยังเป็นอุปสรรคอยู่เช่นกัน (2) ให้นักเรียนได้โฟกัสเรื่องการเรียนได้อย่างเต็มที่ ให้ได้มีเวลามากพอในการพัฒนาตนเอง เพื่อในอนาคตจะได้ประกอบสัมมาอาชีพที่ตนเองฝันไว้ได้ โดยทุนนี้จะดำเนินการให้อย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อ ๆ ไป โดยนักเรียนทุนที่มีสิทธิ์จะได้รับทุนนี้ นักเรียนจะต้องเข้าเกณฑ์และมีส่วนร่วมกิจกรรมของมูลนิธิฯ ดังนี้ 1) มีผลการเรียน โดยจะต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือผู้ที่มีผลการเรียนที่พัฒนาขึ้น 2) เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาพัฒนาความเป็นผู้นำประจำปี (Youth Leadership Development 3) เข้าร่วมกิจกรรมลงพื้นที่แนะแนวการศึกษาและส่งต่อความฝัน (Roadshow: Dare to Dream)
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
สัมมนาทุนการศึกษาประจำปี 2568 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูแนะแนว เป็นกิจกรรมที่จัดให้กับโรงเรียน 5 โรงเรียนอันได้แก่ ร.ป.ค.59, ร.ป.ค.60, ร.ป.ค.61, ร.ป.ค.62 และ ศส.จอ. โดยทำกิจกรรมร่วมกับคุณครูแนะแนว 2 ท่านและรองผู้อำนวยการวิชาการ/กิจการนักเรียน 1 ท่าน รวมเป็น 3 ท่านต่อโรงเรียน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ (1) ค่าเดินทาง จำนวน 6,000 บาท สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เดินทางไปกลับกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ (2) ค่าที่พัก 5 ห้อง จำนวน 5,000 บาท แบ่งเป็น (2.1) คณะครูที่มาจากแม่ฮ่องสอนและเชียงราย (2.2) เจ้าหน้าที่ (3) ค่าห้องประชุม จำนวน 5,000 บาท (4) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม และของว่าง จำนวน 8,000 บาท (5) ค่าอุปกรณ์และของใช้สำหรับการจัดกิจกรรม จำนวน 1,000 บาท | 5แห่ง | 25,000.00 |
สัมภาษณ์คัดเลือกนักเรียนทุนมูลนิธิการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา ประจำปี 2568 โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ (1) ค่าเดินทาง จำนวน 6,000 บาท สำหรับผู้สัมภาษณ์ที่เดินทางไปกลับกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ (2) ค่าที่พัก 3 ห้อง จำนวน 3,000 บาท สำหรับผู้สัมภาษณ์ (3) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม และของว่าง จำนวน 10,000 บาท สำหรับผู้สมัครทุน และผู้สัมภาษณ์ | 25คน | 15,000.00 |
ปฐมนิเทศผู้ปกครองและนักเรียนทุนมูลนิธิการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา ประจำปี 2568 โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ (1) ค่าเดินทาง จำนวน 6,000 บาทสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เดินทางไปกลับกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ (2) ค่าที่พัก 3 ห้อง จำนวน 3,000 บาท สำหรับเจ้าหน้าที่ (3) ค่าอุปกรณ์และของใช้สำหรับการจัดกิจกรรม จำนวน 1,000 บาท | 15ครอบครัว | 10,000.00 |
สัมมนาพัฒนาความเป็นผู้นำประจำปี 2568 (Youth Leadership Development) ซึ่งจัดให้นักเรียนทุนทุกคนรวมถึงศิษย์เก่าที่สนใจเข้าร่วม โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ (1) ค่าเดินทาง จำนวน 60,000 บาท สำหรับนักเรียนทุนที่เดินทางไปกลับเชียงใหม่-ชลบุรี (2) ค่าที่พักสำหรับพักค้างคืน 3 คืน จำนวน 50,000 บาท สำหรับนักเรียนทุน ศิษย์เก่า และครูอาสา (3) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม และของว่าง จำนวน 60,000 บาท (4) ค่าอุปกรณ์และของใช้สำหรับการจัดกิจกรรม จำนวน 8,000 บาท (5) ค่าอุปกรณ์ทำของที่ระลึกตอบแทนผู้บริจาค จำนวน 22,000 บาท | 1กิจกรรม | 200,000.00 |
กิจกรรม Roadshow ส่งต่อความฝันให้กับรุ่นน้องในโรงเรียน เป็นกิจกรรมที่นักเรียนทุนและศิษย์เก่าจัดให้กับนักเรียนระดับชั้น ม.3 - 6 ของ 5 โรงเรียน อันได้แก่ ร.ป.ค.59, ร.ป.ค.60, ร.ป.ค.61, ร.ป.ค.62 และ ศส.จอ. ซึ่งมีจำนวนกว่า 1,000 คน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ (1) ค่าเดินทาง จำนวน 45,000 บาท สำหรับการเดินทางไปทั้ง 5 โรงเรียน ใน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และแม่ฮ่องสอน (2) ค่าที่พัก จำนวน 10,000 บาท (3) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม และของว่าง จำนวน 15,000 บาท | 5แห่ง | 70,000.00 |
สนับสนุนค่าครองชีพทางการศึกษานักเรียนชั้นปีที่ 1 - 4 ปีการศึกษา 2568 โดยทุนค่าครองชีพถูกจ่ายให้นักเรียนทุนครั้งแรกในปี 2567 และดำเนินการต่อไป โดยมอบให้นักเรียนทุน 25 คน ได้แก่ (1) นักเรียนทุนชั้นปีที่ 1 จำนวน 15 คน (2) นักเรียนทุนชั้นปีที่ 2 จำนวน 10 คน ทุนค่าครองชีพจะให้เป็นรายเดือน จำนวน 2,500 บาท (8 เดือน/1 ปีการศึกษา) ดังนั้นนักเรียนทุน 1 คน จะได้รับค่าครองชีพ ทั้งสิ้น 20,000 บาทต่อ 1 ปีการศึกษา | 25คน | 500,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 820,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 82,000.00 |
ครูแบงค์เริ่มเข้าไปทำงานในพื้นที่โดยเป็นครูอาสาสอนเด็กชาวเขาเมื่อปี 2553 ณ โรงเรียนในกลุ่ม ศส. กลุ่มปัญหา 3 ประการที่ครูแบงค์พบระหว่างที่ตนเป็นครูอาสากว่าหนึ่งทศวรรษมีดังนี้ (1) นักเรียนไม่กล้าฝัน ส่วนใหญ่ไม่เคยคิดวาดฝันว่าตนอยากเป็นอะไรในอนาคต ไม่คิดว่าตนเองจะเรียนอะไรได้สูงนัก คิดว่าตนเองนั้นต้นทุนต่ำคงสู้นักเรียนในเมืองไม่ได้ การได้มีโอกาสเรียนถึง ม. 6 ที่โรงเรียนกินนอนแห่งนี้ก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว เพราะยังมีเด็กชาวเขาอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสมาเรียนเหมือนพวกเขาเลยด้วยซ้ำ (2) นักเรียนขาดทุนการศึกษา หลายคนมีข้อกังขาว่า แม้นเขากล้าฝัน ขยันเรียนไป และเอนท์ติด พวกเขาก็อาจจะไม่มีโอกาสเรียนได้อยู่ดีเพราะขาดทุนทรัพย์ ปัจจุบันรัฐไม่ได้ส่งเสริมให้ทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ปกครองของนักเรียนชาวเขาซึ่งทำงานรับจ้างหรือเป็นเกษตรกรอยู่บนดอยจะส่งเสียให้พวกเขาได้เรียนจนจบ (3) ผู้นำโรงเรียนและครูขาดการส่งเสริมและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ งานวิจัยบ่งชี้ว่า งบประมาณในการพัฒนาผู้นำและบุคลากรจาก ศธ. มีไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นหลักสูตรพัฒนาบุคลากรของ ศธ. ที่มีนั้นมีคุณภาพไม่พอต่อความต้องการของนักเรียนชาวเขาและบริบทางสังคมในพื้นที่ภาคเหนือ พันธกิจของมูลนิธิฯ: ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนา (1) นักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาสให้เป็นบุคคลต้นแบบแก่เด็กนักเรียนด้อยโอกาส (2) ครู ผู้นำโรงเรียน และบุคลากรการศึกษาที่ทำงานให้นักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาสในเขตภาคเหนือ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ: (1) ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้แก่นักเรียนด้อยโอกาสที่อาศัยในเขตพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและเด็กด้อยโอกาสทั่วไป ผ่านการให้ทุนการศึกษาและออกค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต (2) สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการศึกต่อแก่นักเรียนด้อยโอกาส (3) พัฒนาการเรียนการสอนในและนอกโรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาสให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (4) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กด้อยโอกาสให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งจัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหาร ครู และนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชาวเขาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน ที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 59, 60, 61, 62 และโรงเรียน ศส. จิตอารีฯ
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้