เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ให้กับน้องนักเรียนหญิงในพื้นที่ภาคอีสาน500คน
ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในรูปแบบต่างๆ ทั้งการล่วงละเมิดทางเพศ การทำร้ายร่างกาย และความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งมักไม่ได้รับการรายงานหรือแก้ไขอย่างเหมาะสม เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การขาดความตระหนักรู้ในสิทธิของตนเอง ความกลัวที่จะเปิดเผยเรื่องราว และความยากลำบากในการเข้าถึงหน่วยงานช่วยเหลือ
มูลนิธิกลุ่มปรารถนาดีจัดโครงการอบรมในหัวข้อ "ภัยใกล้ตัว" เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภัย การเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน และสิทธิพื้นฐานตามกฎหมาย สอนวิธีติดต่อหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ผ่านการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เช่น เกม การตอบคำถาม และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนหญิงเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกล้าพูดคุยและแบ่งปันมุมมอง
โครงการอบรมนี้สำหรับนักเรียนหญิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 500 คน โดยเน้นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ที่มีความเสี่ยงสูง นักเรียนหญิงจะได้รับความรู้และทักษะการป้องกันภัยในชีวิตประจำวัน มีความตระหนักในสิทธิของตนเองและรู้จักช่องทางการขอความช่วยเหลือเมื่อเผชิญปัญหา ชุมชนจะได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการลดความรุนแรงและสร้างพื้นที่ปลอดภัย
ความรุนแรงต่อเด็กและสตรียังคงเป็นปัญหาสำคัญและมีการรายงานน้อยในประเทศไทย การศึกษาสองชิ้นที่เผยแพร่ในหนึ่งปีที่ผ่านมาเน้นย้ำประเด็นความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศในประเทศไทย ในการสำรวจผู้หญิง 1,608 คนโดยมูลนิธิ Women and Men Progressive Movement Foundation (WMP) เมื่อต้นปี 2560 ผู้ตอบแบบสอบถาม 42.2% กล่าวว่าพวกเขาถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์กับสามีหรือแฟน ในขณะที่อีก 41.1% กล่าวว่าพวกเขาถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ การทำแท้ง ผลสำรวจยังพบว่าหลายคนเคยถูกคู่รักทำร้ายร่างกายและจิตใจ
การศึกษาแยกต่างหากของคณะศึกษาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 พบว่ามีการรายงานกรณีล่วงละเมิดทางเพศทั่วประเทศเพียง 53 กรณีในสื่อในช่วงห้าปีก่อนปี พ.ศ. 2561 ศาสตราจารย์อรรถพล อนันตวรรักษ์สกุล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยนี้เชื่อว่าตัวเลขดังกล่าว จะสูงขึ้นมาก ข้อสรุปที่เราได้จากการวิจัยทั้งสองชิ้นคือความรุนแรงต่อผู้หญิงยังคงเป็นปัญหาสำคัญและมีการรายงานน้อยเกินไปในราชอาณาจักร เนื่องจากสังคมปิตาธิปไตยของประเทศไทยและสตรีขาดความตระหนักรู้ถึงสิทธิของตนภายใต้กฎหมายไทย
ประเทศไทยมีกฎหมายก้าวหน้าและเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบความรุนแรง ในปี พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาได้ก่อให้เกิดความผิดทางอาญาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและการข่มขืนคู่สมรส และมีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือวิกฤตแบบครบวงจร (One-Stop Crisis Centers) เพื่อให้เหยื่อของความรุนแรงได้รับการดูแลทางการแพทย์และจิตใจ อย่างไรก็ตาม เด็กหญิงและสตรีจำนวนมากยังคงไม่ทราบถึงสิทธิหรือช่องทางในการขอความช่วยเหลือของตน
หลังจากที่น้องๆ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับเรา เราได้รับการตอบรับจากน้องว่าการร่วมกิจกรรมทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยและตระหนักถึงภัยที่สามารถเกิดขึ้นกับตนเองได้ การระวังตัวและมีสติจะทำให้ปลอดภัยจากภัยต่างๆ น้องๆ ได้เรียนรู้ถึงหน่วยงานต่างๆ ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ และเรียนรู้ว่าภัยมีหลากหลายรูปแบบ โดยเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นของความรุนแรงของผู้หญิงและเด็กมากยิ่งขึ้น จากระยะเวลาในการทำงานตลอด 13 ปีที่ผ่านมา มีน้องๆ ที่ได้รับความรู้และเข้าร่วมในกิจกรรมของเรามากกว่า 43,668 คน จากกิจกรรมมากกว่า 200 ครั้ง
ทีมงานจะติดต่อโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล/นอกเขตเมืองของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อสอบถามความต้องการ และทำหนังสือเข้าชี้แจงเพื่อขอจัดกิจกรรม จัดเตรียมชุดเอกสารการทำกิจกรรม ข้อมูลความรู้ต่างๆ
ออกพื้นที่ทำกิจกรรมตามวันที่โรงเรียนสะดวกในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 กิจกรรมใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของเป้าหมายในครั้งต่อไป
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมแต่ละโรงเรียน (10 โรงเรียน) | 105000 | 50,000.00 |
ค่าอาหารกลางวัน เครื่องดื่มและอาหารว่าง (นักเรียน 40-50 คน ต่อกิจกรรม จำนวน 10 กิจกรรม) | 150500 | 75,000.00 |
เอกสารประกอบ การจัดกิจกรรม (Training kit) (นักเรียน 40-50 คน ต่อกิจกรรม จำนวน 10 กิจกรรม) | 250500 | 125,000.00 |
ค่าเช่ารถและค่าน้ำมัน | 3,00010 | 30,000.00 |
ค่าเดินทางเจ้าหน้าที่ | 4,0004 | 16,000.00 |
ค่าใช้จ่ายภายในสำนักงานเพื่อติดต่อประสานงาน ตั้งแต่ระยะเวลาเริ่มโครงการจนจบโครงการ (ค่าโทรศัพท์, ค่าอินเตอร์เน็ต เป็นต้น) | 20,0001 | 20,000.00 |
ค่าวิทยากร (2) เจ้าหน้าที่ (2) ระยะเวลาการทำงาน 1 เดือน การจัดเตรียม ลงพื้นที่ทำกิจกรรมและประมวลผล | 150,0001 | 150,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 466,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 46,600.00 |
มูลนิธิกลุ่มปรารถนาดีทำงานร่วมกับผู้หญิงและเยาวชนหญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษาโดยการส่งต่อความรู้และส่งเสริมทักษะเพื่อให้พวกเธอมีความมั่นใจในตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่น มีความมุ่งมั่นที่จะไขว่คว้าโอกาสที่ดียิ่งขึ้น ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา เราได้ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงและเยาวชนหญิงมากกว่า 10,000 คน 45% ของผู้หญิงที่ได้รับการอบรมในกรุงเทพมหานครได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้นกว่า 30% 97% บอกว่ามูลนิธิมีส่วนช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของพวกเธอ 98% มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น 100% บอกว่าได้เรียนรู้ทักษะใหม่จากมูลนิธิ 93% จะแนะนำมูลนิธิให้เพื่อนหรือคนรู้จักทราบ
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้