cover_1
โครงการใหม่

ซ่อมอาคารเรียนอนุบาลให้น้อง

โรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์โรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์
เด็กและเยาวชน
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
ผู้ประสบภัยพิบัติ

เงินบริจาคของคุณจะช่วยซ่อมอาคารเรียนให้กับนักเรียนโรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์1โรงเรียน

ระยะเวลาระดมทุน

4 เม.ย. 2568 - 28 ก.พ. 2569

พื้นที่ดำเนินโครงการ

โรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์ ต.สะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา 90130

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYGOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONGENDER EQUALITYCLEAN WATER AND SANITATIONDECENT WORK AND ECONOMIC GROWTHINDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTUREREDUCED INEQUALITIESSUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIESLIFE ON LANDPEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONSPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
145คน
ชุมชน/หมู่บ้าน
1แห่ง
องค์กรการกุศล
1แห่ง
สถานศึกษา
1แห่ง

โรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 145 คน ครูจำนวน 13 คน เป็นโรงเรียนเอกชนเล็กๆ ที่ไม่ได้แสวงหากำไร ที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาเด็กๆ ในชุมชนตำบลสะพานไม้แก่น ซึ่งทางโรงเรียนให้นักเรียนทุกคนเรียน

ทำให้มีงบประมาณที่จำกัด ไม่สามารถจัดสรรงบมาปรับปรุงในด้านอื่น ๆ รวมถึงอาคารสำหรับเด็กอนุบาลได้ เนื่องจากทางโรงเรียนยังขาดงบประมาณในการปรับปรุงอาคาร ส่วนของอาคารเดิมที่มีอยู่ก็ชำรุดและทรุดโทรมมาก  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการปรับปรุงพัฒนา

ปัญหาสังคม

โรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 145 คน ครูจำนวน 13 คน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาเด็กๆในชุมชนตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นักเรียนทั้งหมดมาจากชุมชน  โรงเรียนเป็นโรงเรียนเอกชนเล็กๆที่ไม่ได้แสวงหากำไร โดยเก็บค่าบำรุงการศึกษา เทอมละ 500 บาททุกระดับชั้น (เดือนละ 100 บาท) ที่ผ่านมาโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนฯรายหัวจากรัฐ 129,968.82 บาทต่อเดือน โดยส่วนใหญ่เป็นใช้เป็นเงินเดือนครูและอาหารกลางวัน จึงทำให้ไม่สามารถจัดสรรงบมาปรับปรุงในด้านอื่น  

อาคารเรียนระดับปฐมวัยสร้าง ตั้งแต่ปีพ.ศ 2547  โครงสร้างหลังคาเป็นไม้  ใช้งานมาเป็นระยะเวลานานทำให้โครงสร้างไม้เสื่อมสภาพ และมีปลวดกัดกินไปแล้วบางส่วนจึงอันตรายต่อเด็กๆ และครู ทำให้ทางโรงเรียนต้องการปรับปรุงอาคารเรียนอนุบาลให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน พัฒนาทักษะชีวิต

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. จำนวนห้องเรียนตามความต้องการและมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน
2. โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. จัดหาหางบประมาณเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนให้อยู่ในสภาพดี มีโครงสร้างอาคารที่แข็งแรง ใช้วัสดุที่ดีและปลอดภัย แข็งแรงพอที่จะรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อความปลอดภัยต่อการจัดการเรียนการสอนของครู

แผนการดำเนินงาน

  1. มี.ค. - มิ.ย. 2569

    ทำการรื้อโครงสร้างอาคารและซ่อมแซ่มอาคารเรียน จำนวน 2 ห้องเรียน 48 ตารางเมตร

  2. มี.ค. - มิ.ย. 2569

    ทำการรื้อโครงสร้างห้องน้ำสำหรับนักเรียนอนุบาล ห้องน้ำ ขนาด 6*7 เมตร 42 ตารางเมตร จำนวน 6 ห้อง

  3. มี.ค. - มิ.ย. 2569

    ประสานงานผู้นำท้องถิ่น ผู้ปกครอง และครู ประเมินและติดตามผล

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
งานรื้อถอน

1.1 งานรื้อถอนโครงหลังคาไม้ และกระเบื้องมุงหลังคา 233.00 ตร.ม. 1.2 งานรื้อถอนฝ้าเพดารฉาบเรียบ 96.00 ตร.ม.

1หลัง22,205.00
งานโครงสร้างอาคาร(ฐานราก , คานคอดิน , เสา และพื้น

เนื่องจากพื้นที่เดิม ทางเดินหน้าอาคารเป็นพื้นปูน ที่มีขนาดกว้างเพียง 1 เมตร ยาว 22.50 เมตร จึงมีความต้องการที่จะขยายทางเดินหน้าอาคารให้กว้างเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตร ก็จะทำให้ส่วนของด้านหน้ากว้างเป็น 2 เมตร ยาว 22.50 เมตร เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียนอนุบาล จึงจำต้องเป็นต้องเพิ่มฐานราก , คานคอดิน , เสา และพื้น ให้รองรับและมีความแข็งแรงและมั่นคงตามแบบแปลนที่ทางผู้เขียนแบบกำหนดเพิ่มเติมมา

1หลัง111,000.00
งานโครงหลังคา + วัสดุมุงหลังคา

255.50 ตร.ม.

1หลัง225,446.00
งานฝ้าเพดาน

96.00 ตร.ม.

1หลัง32,352.00
งานปรับปรุงระบบไฟฟ้า

1หลัง125,000.00
งานทาสี(อาคาร)

งานสีน้ำพลาสติก 351.00 ตร.ม. งานสีน้ำมัน 30.00 ตร.ม.

1หลัง34,842.00
งานพื้นปูกระเบื้องเคลีอบ ขนาด 12 x 12 นิ้ว

25.00 ตร.ม.

1งาน12,825.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด563,670.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)56,367.00
ยอดระดมทุน
620,037.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

โรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์

โรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์

สงขลา

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon