cover_1

BLOSSOM กองทุนเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว

กันต์รวี กิตยารักษ์กันต์รวี กิตยารักษ์
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและค่าใช้จ่ายจำเป็นสำหรับการหาทีมช่วยเหลือมืออาชีพให้กับผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว13คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

21 ก.พ. 2565 - 30 พ.ย. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGPEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้หญิง
13คน

เมื่อครอบครัว สถานที่ที่ควรจะปลอดภัยที่สุด กลายเป็นบ่อเกิดความรุนแรง การพาร่างกายและหัวใจที่บอบช้ำออกจากสถานการณ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

กองทุนเพื่อผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวให้พ้นจากเหตุรุนแรง ผ่านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และ ค่าใช้จ่ายจำเป็นสำหรับการหาทีมช่วยเหลือมืออาชีพ ให้ผู้ประสบความรุนแรงสามารถตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาในแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเองโดยไม่ถูกจำกัดด้วยภาระด้านค่าใช้จ่าย

ปัญหาสังคม

ความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาระดับสังคมที่เร่งด่วนและรุนแรง 

เมื่อครอบครัว สถานที่ที่ควรจะปลอดภัยที่สุด กลายเป็นบ่อเกิดความรุนแรง การพาร่างกายและหัวใจที่บอบช้ำออกจากสถานการณ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย กองทุนเพื่อผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวให้พ้นจากเหตุรุนแรง ผ่านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และ ค่าใช้จ่ายจำเป็นสำหรับการหาทีมช่วยเหลือมืออาชีพ ให้ผู้ประสบความรุนแรงสามารถตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาในแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเองโดยไม่ถูกจำกัดด้วยภาระด้านค่าใช้จ่าย  

“เคสความรุนแรงในครอบครัว ยังมีข้อท้าทายในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมากมายบางเคสต้องหลบหนี กว่าคดีจะไปถึงศาล เคสไม่มีที่พักที่ปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่ก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินมาจากไหน…

บางกรณี คำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพยังไม่ออก (คำสั่งทางกฎหมายให้อำนาจในการยับยั้งผู้กระทำความรุนแรง) เคสต้องหนีไปอยู่ที่ปลอดภัย ไม่ใช่ทุกเคสสามารถอยูในบ้านพักฉุกเฉินได้ ผู้กระทำเป็นคนกุมเงินทั้งหมด เงินค่ารถ ที่จะเดินทางออกมา เคสหาไม่ได้ คำสั่งจากกระบวนการยุติธรรมใช้เวลานาน ในระหว่างนั้น ผู้กระทำก็จะติดตามตัวผู้ถูกกระทำตลอดเวลา กลับบ้านไปเอาของไม่ได้…

บางทีจะเดินทางข้ามอำเภอไปหย่า ค่าเดินทางก็เป็นภาระมากสำหรับเคส หรือบางทีเป็นคนต่างชาติ ไม่รู้จริง ๆ จะไปหาล่ามมาจากไหน ไม่มีเงินทุนสนับสนุนสิ่งเหล่านี้ให้เบิกได้” 

คำบอกเล่า จากประสบการณ์การทำงานโดยตรงกับเคสของ คุณบุษยาภา ศรีสมพงษ์ ผู้ก่อตั้ง SHero Thailand (https://www.sherothailand.org/ ) ที่ทำงานช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงมาตั้งแต่ปี 2016 ในขั้นตอนตั้งแต่รับฟัง ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย หาที่พักชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ไปจนถึงช่วยดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม ค่าใช้จ่ายในบางส่วนเหล่านี้เช่น ค่าเดินทาง ค่าล่ามสำหรับทนาย SHero ต้องออกเงินตัวเองไปก่อน 

ความรุนแรงในครอบครัวหมายถึงกรณีไหนบ้าง?

เรานับความรุนแรงทั้งทางกาย ทางจิตใจและ ทางเพศที่เกิดจากบุคคลในครอบครัว เช่นระหว่าง สามี-ภรรยา ผู้ปกครอง-บุตร หรือ ระหว่างเครือญาติ รวมไปถึงคู่รัก แฟน แฟนเก่า ผู้ที่อยู่หรือเคยอยู่กินพึ่งพิงกันฉันท์คู่ครองแม้จะไม่ได้มีการจดทะเบียน

จากรายงานของศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พบว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นและเข้าสู่กระบวนการจัดการ ทั้งหมด 36 เหตุการณ์ มีผู้ถูกกระทำ 42 ราย และ เสียชีวิต 8 ราย 

หากมองย้อนไปตั้งแต่ปี 2561 - 2565 จำนวนผู้ถูกทำร้ายจากเหตุความรุนแรงในครอบครัวที่ได้รับการบันทึกมีทั้งหมด 6,960 ราย* อาจดูเหมือนไม่ใช่ตัวเลขที่น่าตกใจ อย่างไรก็ตาม สถิติดังกล่าวเป็นเพียงจำนวนเหตุการณ์ที่มีการแจ้ง 

ในความเป็นจริง เพียง 40% ของผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวจะขอความช่วยเหลือ และส่วนใหญ่จะเป็นการขอไปที่ครอบครัว หรือ เพื่อน น้อยมากที่จะขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ หรือ NGO มีเพียง 10% ของผู้ที่ขอความช่วยเหลือที่จะมาแจ้งตำรวจ** 

ดังนั้น ตัวเลขที่ปรากฎเป็นเพียงแค่ยอดเล็ก ๆ ของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น

และในหลักการที่ว่า ครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญในสังคม ผลกระทบระยะยาวจากเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวต่อศักยภาพของคนหลายคนที่ต้องผ่านประสบการณ์เหล่านี้รุนแรงมีมาก สามารถขยายไปสู่ภาพของสังคมในมุมอาชญากรรม ที่นักโทษล้นคุก ยาเสพติดล้นเมือง เพราะหลายๆ ครั้ง เบื้องหลังของคนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็คือครอบครัวที่แตกหัก…

การช่วยให้ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวสามารถออกจากสถานการณ์นั้น และเริ่มชีวิตใหม่ได้ จึงสำคัญมาก 

ในปัจจุบัน ไม่มีกองทุนสำหรับผู้ประสบเหตุความรุนแรงในครอบครัวโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบเหตุสัญชาติไทย หรือ ต่างชาติ ทำให้ผู้ประสบเหตุไม่สามารถออกจากวงจรความรุนแรงไม่มีค่าเดินทาง ไม่สามารถจ้างล่าม หรือ ทนายที่มีความเข้าใจประเด็นปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ไม่มีทุนค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง แม้ว่าภาระทางการเงินอาจจะไม่ใช่ทางออกทั้งหมดของปัญหานี้ แต่เงินที่พอเพียง ในเวลาที่จำเป็น สามารถช่วยให้ชีวิตหนึ่งรอดพ้นจากความรุนแรงในครอบครัว 

เคสที่เข้ามาหา SHero ส่วนมาก เป็นกรณีที่ค่อนข้างท้าทาย เคสมีอาการทรอม่า และถูกทำให้โดดเดี่ยวจากครอบครัว/เพื่อน และการเข้าสู่ความช่วยเหลือที่เป็นทางการก็ต้องอาศัยทรัพยากร ทั้งความรู้ และเงิน ที่ผู้ประสบความรุนแรงอาจจะไม่สามารถหาได้เลยในเวลานั้น

กองทุนนี้จะเข้ามาปิดช่องว่าง โดยจะเป็นกองทุนที่สนับสนุนการทำงาน ให้ SHero และเครือข่าย สามารถเข้าช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงได้ทันท่วงที และช่วยได้อย่างมีคุณภาพ ในหลักการ เงินในกองทุนจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ฉุกเฉินและจำเป็น ในกรณีที่ผู้ขอความช่วยเหลือสามารถ (และอยู่ในสภาพที่สามารถดำเนินการได้) เบิกเงินจากกองทุนของรัฐอื่น ๆ ที่ให้ความช่วยเหลืออยู่แล้วได้ ทีมงานจะแนะนำให้ผู้ขอความช่วยเหลือดำเนินการขอเงินจากกองทุนอื่น ๆ ก่อน  

*ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 

** https://www.unwomen.org/en/what-we-do/ending-violence-against-women/facts-and-figures 

 

 

 

แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร?

การมีกองทุนเพื่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้ประสบความรุนแรงสามารถเข้าถึงความปลอดภัย มีทางเลือกในการแก้ปัญหา สามารถดำเนินคดี และเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มั่นคงกว่าเดิมได้ แต่ยังช่วยสร้างให้ระบบนิเวศในการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นระบบมากขึ้น การที่เคสความรุนแรงสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยกลุ่มสหวิชาชีพที่มีคุณภาพ จะช่วยสร้างบรรทัดฐานในทางกฎหมายที่สะท้อนภาพความเป็นจริง ในระยะยาว อาจสะท้อนข้อเท็จจริงเหล่านี้ไปสู่การปรับปรุงนโยบายการทำงานในประเด็นในระดับประเทศได้

อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมความไม่เท่าเทียมทางเพศของสังคม ทำให้ผู้ประสบปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวต้องเผชิญกับความยากลำบาก ตั้งแต่ขั้นตอนการรับรู้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่ตนสามารถขอความช่วยเหลือได้ กระบวนการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐทั้งระยะสั้นที่เน้นด้านความปลอดภัย หรือการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อไปถึงขั้นตอนการการชดใช้ และการบำบัดฟื้นฟูนั้นเข้าถึงยาก และไม่มีการทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบเพราะขาดเจ้าภาพ ในระยะยาว การแก้ปัญหาจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสร้างความเข้าใจ และวัฒนธรรมใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการเกิดความรุนแรง ซึ่งการตั้งกองทุนเพื่อผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว เป็นเพียงแค่หนึ่งในกระบวนการแก้ปัญหาเท่านั้น 

ในระยะยาว SHero มีแผนที่จะดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องความรุนแรงอย่างเป็นระบบ ผ่านการทำงานด้านกฎหมายและนโยบาย โดยการวางรากฐานสร้างโมเดลกระบวนการส่งต่อเคสอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ลดการกระทำซ้ำผู้ประสบปัญหาในกระบวนการ มีระบบบันทึกจัดเก็บข้อมูล ที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์และจัดทำเป็นข้อแนะนำแนวทางการแก้ปัญหาในระดับนโยบายทั้งในมุมของการทำงานกับผู้ประสบปัญหา และการป้องกันการเกิดความรุนแรงในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ต่อไป 

กองทุนนี้จะทำงานกับ SHero และองค์กรเครือข่ายอื่น ๆ ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดในปัจจุบัน และถอดบทเรียนเพื่อสร้าง Model ทางการเงินและการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวในระดับนโยบายต่อไป 

 

 

Targets

ประเภท จำนวน รายละเอียด เปลี่ยนแปลง
ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว จนกว่าเงินจะหมด ไม่สามารถออกจากพื้นที่ความรุนแรง และหาที่อยู่ชั่วคราวที่ปลอดภัย ไม่สามารถดำเนินขั้นตอนทางกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิ์ หรือ ฟ้องคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้ประสบความรุนแรงสามารถออกจากความรุนแรงได้ และสามารถเลือกที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้โดยไม่ติดปัญหาทางการเงิน

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ตั้งกองทุนเพื่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เพื่อช่วยให้ผู้ประสบความรุนแรงสามารถเข้าถึงความปลอดภัย มีทางเลือกในการแก้ปัญหา สามารถดำเนินคดี และเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มั่นคงกว่าเดิม ช่วยสร้างให้ระบบนิเวศในการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหามีประสิทธิภาพและเป็นระบบมมากขึ้น

แผนการดำเนินงาน

  1. เงินบริจาคทั้งหมดจะเป็นกองทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประสบปัญหาความรุนแรง โดยค่าใช้จ่ายที่กองทุนจะสนับสนุน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่ฉุกเฉินและจำเป็นในการช่วยผู้ประสบความรุนแรง ให้ปลอดภัย และสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ ทั้งนี้จะเน้นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเบิกได้จากกองทุนต่าง ๆ ของรัฐ

  2. การบริหาร และการตัดสินใจใช้เงินของกองทุนจะทำโดย SHero ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานให้การช่วยเหลือเคสต่าง ๆ มาเป็นตั้งแต่ปี 2016 ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานในประเทศไทยและต่างประเทศ

  3. การใช้จ่ายทั้งหมดจะได้รับการจดบันทึกและจัดทำสรุปรายงานทุกไตรมาส รวมถึงจะมีการรายงานผลการทำงานและผลกระทบทางสังคมเมื่อครบ 1 ปี

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
กองทุนนำเงินมาสนับสนุนการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว

เช่น - ค่าอาหารสำหรับผู้เสียหายและบุตร ชั่วคราว 600 บาท/วัน - ค่าที่พักชั่วคราว กรณีที่ไม่สามารถเข้าบ้านพักฉุกเฉิน 500บาท/คืน - ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลนอกเหนือจากที่เบิกในจากรัฐ(ในภาวะจำเป็น) 3,000 บาท/คน - ค่าเดินทางของผู้เสียหายหรือทนายความ 500-1000 บาท/เที่ยว - ค่าทนายความอาสา 3,000 บาท/วัน - ค่าล่ามอาสา 1000-1500 บาท/วัน - ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้จัดการรายกรณี 1,500บาท/วัน เป็นต้น

13คน300,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด300,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)30,000.00
ยอดระดมทุน
330,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กันต์รวี กิตยารักษ์

กันต์รวี กิตยารักษ์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon