cover_1

ใส่รองเท้าไปโรงเรียน

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะนำไปซื้อรองเท้าและจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ ชั้นประถมที่ขาดแคลนทุนทรัพย์150คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

16 ส.ค. 2558 - 21 ก.ย. 2558

พื้นที่ดำเนินโครงการ

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 ต.หนองหงส์ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYGOOD HEALTH AND WELL-BEINGREDUCED INEQUALITIESPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
150คน

มอบรองเท้าให้แก่น้องๆ นักเรียนระดับชั้นประถมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จ.นครศรีธรรมราชที่ด้อยโอกาสได้มีรองเท้าเพื่อใส่ไปโรงเรียน

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

การศึกษาถือเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต การที่ประเทศชาติจะพัฒนาเยาวชนจะต้องได้รับการศึกษาที่ดีเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองต่อไปในอนาคต

แต่ปัจจุบันยังมีเด็กและเยาวชนอีกมากที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการจัดซื้อสิ่งจำเป็น เช่น เครื่องแต่งกาย รองเท้า เป็นต้น

โครงการไอดี พี่ปันน้อง ครั้งที่ 1 หลักสูตร การออกแบบอุตสาหกรรม สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้จัดตั้งโครงการไอดี พี่ปันน้อง ครั้งที่ ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 (ต.หนองหงส์ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110) เพื่อเป็นตัวแทนในการมอบ รองเท้า ให้แก่น้องๆ นักเรียนระดับชั้นประถม

พวกเรากลุ่มนักศึกษาได้ลงพื้นที่ไปยังโรงเรียนดังกล่าวเพื่อไปจัดกิจกรรมมาแล้ว พบว่านักเรียนที่นั่นเป็นนักเรียนที่บ้านลำบาก เด็กกำพร้าพ่อแม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนเด็กบางคนที่ได้เข้าไปสอบถามได้เจอพ่อแม่ครั้งล่าสุดคือตอนที่มาส่งแล้วหลังจากนั้นก็ไม่เจออีกเลย 

และเรายังพบว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่มีรองเท้าใส่ พวกเราจึงเข้าไปสอบว่า ''น้องทำไมไม่ใส่รองเท้า'' น้องตอบว่า "ผมไม่มีรองเท้าใส่ครับพี่" บางคนก็ได้เดินมาบอกกับพี่ๆ ว่า พี่ครับผมอยากเล่นฟุตบอล ผมอยากมีรองเท้าใส่และก็มีอีกประเภทจากการสอบถามสาเหตุที่ไม่ใส่รองเท้าคือ ได้นำรองเท้าใส่ไว้ในกระเป๋า ยอมเดินเท้าเปล่าเพราะกลัวหายทางเรานักศึกษาสถาปัตย์ จึงได้คิดโครงการที่จะแบ่งปันรองเท้าให้กันน้องที่ด้อยโอกาสเหล่านี้ด้วย ซึ่งทางเด็กประถมที่ทางเราจะแบ่งปันรองเท้า มีเด็กจำนวน 150 คน ทั้งชาย-หญิง

ร่วมสร้างความสุข สนุกสนาน รวมทั้งนำอุปกรณ์ของใช้ในชีวิตประจำวันที่จำเป็นมาบริจาคให้กับน้องๆนักเรียน เนื่องจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 เป็นโรงเรียนประจำที่น้องๆ พักอยู่หอในโรงเรียนและเป็นโรงเรียนสำหรับน้องๆที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาเช่น กำพร้าพ่อแม่ ฐานะทางบ้านยากจน เป็นต้น นอกจากนั้นยังจะสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีแก่คุณครูและน้องๆนักเรียนในโรงเรียนอีกด้วย

ประโยชน์ของโครงการ :

  1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนน้องๆที่ขาดแคลนได้มีรองเท้าสวมใส่เพื่อไปเรียนหนังสือและเล่นกีฬา
  2. เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้ปกครองของน้องๆในเรื่องค่าใช้จ่ายบางส่วน
  3. เพื่อสร้างกำลังใจให้กับน้องๆทุกคนที่มีโอกาสได้รับสิ่งของที่พี่ๆแบ่งปันมาอย่างทั่วถึง

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

  1. ลงพื้นที่เพื่อวัดขนาดรองเท้าของเด็กนักเรียน
  2. เปิดระดมทุน และประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. จัดซื้อรองเท้าและอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม
  4. ส่งมอบรองเท้าให้แก่เด็กนักเรียนที่โรงเรียนพร้อม ผู้เข้าร่วมโครงการค่าย สํานักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จำนวน 60 คน

กำหนดการ

วันแรก

09.00น. – 10.30น. ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
10.30น. – 12.00น. จัดเตรียมของ/พิธีเปิด/มอบรองเท้า
12.00น. – 13.00น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.00น. – 13.30น. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม/คิดชื่อกลุ่ม/ท่าประจำกลุ่ม (แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่มแต่ละกลุ่มจะมี ป.1-ป.6 และพี่ประจำกลุ่ม)
13.30น. – 14.00น. แนะนำชื่อของแต่ละกลุ่มพร้อมท่าประจำกลุ่ม/แนะนำชื่อพี่ๆ
14.00น. – 15.30น. สันทานาการเชื่อมพี่กับน้อง/รับประทานอาหารว่าง
15.30น. – 17.00น. คิดการแสดงของแต่ละกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมกลางคืน
17.00น. – 19.00น. เล่นกีฬา/พักรับประทานอาหาร
19.00น. – 22.00น. กิจกรรมกลางคืน/เล่านิทานก่อนนอน
22.00น. เป็นต้นไปพาน้องๆเข้านอนตามหอ

วันที่สอง

05.00น. – 06.00น. พาน้องออกกำลังกายตอนเช้า
06.00น. – 07.30น. ทำภารกิจส่วนตัว
07.30น. – 08.00น. รับประทานอาหารเช้าร่วมกัน
08.00น. – 09.30น. สันทานาการเชิงวิชาการ
09.30น. – 11.30น. สอนน้องวาดรูป
11.30น. – 12.00น. เล่นเกม
12.00น. – 13.00น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00น. – 15.00น. เล่นเกม
15.00น. – 17.00น. บำเพ็ญประโยชน์/สรุปกิจกรรม
17.00น. เป็นต้นไปเดินทางกลับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

* การกำหนดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม*

สมาชิกภายในทีม :

  1. ชโลทร ปะทะโม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รหัสนักศึกษา 54140538 เบอร์โทรศัพท์ 0900651448
  2. นายจักรพันธุ์  เบญจวิญญู คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รหัสนักศึกษา 57140766 เบอร์โทรศัพท์  0950388416
  3. นางสาวกชพร รูปปัจจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รหัสนักศึกษา 57110058 เบอร์โทรศัพท์ 0887605145
  4. นางสาวศศิมาพร ยศกิจ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รหัสนักศึกษา 57162446  เบอร์โทรศัพท์  0915244275
  5. อาจารย์ ภริตพร แก้วแกมเสือ (Miss Pharitporn Kawkamsue) อาจารย์ที่ปรึกษาในการทำโครงการ
    E - mail pharitporn.ka@wu.ac.th
  6. นายชูศิลป ชูลิกร ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 เบอร์โทร 081-5377989

ภาคี :

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนจัดซื้อรองเท้าให้กับเด็กๆ ชั้นประถมที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อให้น้องๆ ได้มีรองเท้าสวมใส่ไปเรียนหนังสือและเล่นกีฬา

แผนการดำเนินงาน

  1. จัดซื้อรองเท้า (ตามที่ได้ลงพื้นที่วัดขนาดรองเท้าของเด็กมาแล้ว) และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม

  2. ส่งมอบรองเท้าให้แก่เด็กนักเรียนที่โรงเรียนพร้อมผู้เข้าร่วมโครงการค่าย

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
รองเท้านักเรียน

คู่ละ 250 บาท

150คู่37,500.00
ลูกโป่งกลม

ถุงละ 150 บาท

2ถุง300.00
ที่สูบลม

ชิ้นละ 90 บาท

2ชิ้น180.00
ปากกาเคมี

โหลละ 120 บาท

2โหล240.00
กระดาษ A4

รีมละ 109 บาท

2รีม218.00
ดินสอดำพร้อมยางลบ (HB)

แพ็คละ 145 บาท

4แพ็ค580.00
กล่องดินสอ

โหลละ 240 บาท

3โหล720.00
รองเท้าแตะ

โหลละ 200 บาท

3โหล600.00
แก้วพลาสติก

แพ็คละ 20 บาท

10แพ็ค200.00
จานโฟม

แพ็คละ 60 บาท

3แพ็ค180.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด40,718.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)4,071.80
ยอดระดมทุน
44,789.80

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เทใจ - TaejaiDotCom

เทใจ - TaejaiDotCom

กรุงเทพมหานคร

เทใจดอทคอม เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆ เพื่อสังคม เทใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีมูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ สถาบัน ChangeFusion ร่วมกันสร้างพื้นที่กลางนี้ขึ้นมา เราอยากให้เทใจเป็นพื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม และให้สมาชิกของเทใจสามารถมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการที่ตนบริจาคได้

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon